กนอ.ดันยอดขายที่ดินพุ่ง ปี 61ตั้งเป้า 3.5 พันไร่เร่งเปิดตัว Smart Park รับลงทุน

09 ธ.ค. 2560 | 11:25 น.
กนอ.ตั้งเป้าขายที่ดินนิคมอุตสาหกรรมปีหน้าเพิ่มเป็น 3.5 พันไร่ รองรับการลงทุนในอีอีซี หลังกฎหมายมีความชัดเจนดึงดูดนักลงทุนได้ พร้อมอัดงบกว่า 2 พันล้านบาท เร่งพัฒนาเขตส่งเสริม Smart Park รับ 6 กลุ่มอุตสาหกรรม เปิดตัวไตรมาสแรกปีหน้า

นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยกับ“ฐานเศรษฐกิจ” ถึงทิศทางการดำเนินงานว่า ในปี 2561 ทางกนอ.ได้ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่มีอยู่ 54 แห่ง ใน 15 จังหวัด โดยคาดว่าจะมียอดขายและให้เช่าที่ดินของนิคม 3,500 ไร่ เพิ่มจากปี 2560 ที่ตั้งเป้าหมายไว้ 3,000 ไร่ แต่เมื่อสิ้นเดือนกันยายน 2560 ทำได้เกินกว่าเป้าหมายที่ 3,058 ไร่ โดยส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซีราว 2,550 ไร่

[caption id="attachment_239358" align="aligncenter" width="503"] วีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) วีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)[/caption]

ทั้งนี้ การตั้งเป้าหมายการขายที่ดินและเช่าที่ดินเพิ่มขึ้นนี้ ประเมินว่าส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซีราว 80% หรือราว 2,800 ไร่ เนื่องจากความชัดเจนของ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ...ที่คาดว่าจะมีผลใช้บังคับในช่วงต้นปี 2561 จะทำให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจที่จะเข้ามาลงทุนมากขึ้น หลังจากที่ได้พบปะนักลงทุน ส่วนใหญ่ยังรอความชัดเจนของพ.ร.บ. ดังกล่าวอยู่

โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกปี 2561 ทางกนอ.จะดำเนินการเปิดตัวนิคมอุตสาหกรรมSmartParkพื้นที่ 1,446 ไร่ ซึ่งอยู่บริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด หลังจากที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(กนศ.)ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เห็นชอบให้เป็นเขตส่งเสริมพิเศษไปแล้วโดยจะใช้เงินลงทุนในการพัฒนาพื้นที่กว่า 2,000ล้านบาทและจะทยอยเปิดรับผู้ประกอบการเข้ามาลงทุนได้ตั้งแต่กลางปี 2561เป็นต้นไป โดยขณะนี้ กนอ.อยู่ระหว่างเร่งทำรายงานศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ การออกแบบรายละเอียดของตัวโครงการที่จะแบ่งเป็นโซนๆของแต่ละประเภทอุตสาหกรรม

พร้อมทั้ง การเจรจากับพันธมิตร ที่จะเข้ามาลงทุนพัฒนาระบบสาธารณูปโภคต่างๆเช่น การทำโซลาร์ฟาร์มแบบลอยนํ้า เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในโครงการ ที่จะดำเนินการโดยบริษัทบีซีพีจีจำกัด (มหาชน)การจำหน่ายก๊าซเพื่ออุตสาหกรรม ที่จะดำเนินการโดยบริษัท บางกอก อินดัสเตรียลแก๊สจำกัดและการสร้างคลังสินค้าที่จะดำเนินการโดยบริษัท พีทีที โกลบอล เคมีคอลจำกัด (มหาชน) หรือพีทีทีจีซีเป็นต้นซึ่งจะดำเนินการลงนามบันทึกความเข้าใจ(เอ็มโอยู)กันได้ในช่วงต้นปีหน้าเช่นกัน

วิทยุพลังงาน นายวีรพงศ์ กล่าวอีกว่า สำหรับพื้นที่นิคมSmartParkจะรองรับอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ ที่คาดว่าจะก่อให้เกิดการลงทุนได้ 45,217 ล้านบาทอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรก่อให้เกิดการลงทุนได้ 20,364 ล้านบาทอุตสาหกรรมดิจิตอลก่อให้เกิดการลงทุนได้8,280ล้านบาทอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ก่อให้เกิดการลงทุนได้7,954ล้านบาทอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพก่อให้เกิดการลงทุนได้3,078ล้านบาทและอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพก่อให้เกิดการลงทุนได้1,080 ล้านบาท

ส่วนแผนในการชักจูงนักลงทุนนั้นจะมีการเร่งประชาสัมพันธ์ทั้งในและต่างประเทศโดยนักลงทุนในประเทศนั้นจะเป็นกลุ่มที่เน้นการใช้ระบบโลจิสติกส์ ขนส่งที่ต้องการเชื่อมโยงสนามบินอู่ตะเภา เป็นหลักขณะที่นักลงทุนต่างประเทศจะครอบคลุม6กลุ่มอุตสาหกรรมข้างต้น โดยจะมีการออกไปโรดโชว์ร่วมกับสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(สกรศ.)ในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,320 วันที่ 7 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว