ชงอุ้มยาง‘สมคิด’ลุยแก้เกษตร

09 ธ.ค. 2560 | 11:09 น.
“สมคิด” นั่งหัวโต๊ะถกแผนแก้สินค้าเกษตรราคาตกตํ่า 8 ธ.ค. ขณะรมว.เกษตรฯเตรียม ชงครม.ออกมาตรการช่วยเหลือสวนยาง พร้อมสั่งกยท.ประเมินผลงานบริษัทร่วมทุน วงการหวั่นลดส่งออกยาง 3 ชาติ เข้าทางเพื่อนบ้าน ไทยฮั้วฟันธง 4 ปัจจัยดันราคา 50 บาท/กก.

[caption id="attachment_236070" align="aligncenter" width="503"] กฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[/caption]

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในวันที่ 8 ธันวาคมนี้ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจจะเป็นประธานการประชุมแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกตํ่าที่กระทรวงเกษตรฯ โดยจะเชิญผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เข้าร่วมเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรโดยรวมไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้าว หรือยางพาราให้ราคามีเสถียรภาพ โดยมีเป้าหมายว่ารัฐบาลส่งเสริมให้ปลูกอะไร เกษตรกรจะต้องขายได้และอยู่ได้ เชื่อว่าจะเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้นภายใน 3 เดือน

“ในสัปดาห์หน้าได้เตรียมเสนอแผนช่วยเหลือเจ้าของสวนและคนกรีดยาง ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ พร้อมกับผลักดันหน่วยงานรัฐใช้ยางในประเทศ เพิ่ม 2 แสนตัน และยืนยันว่ายางพาราที่อยู่ในสต๊อกรัฐกว่า 1 แสนตัน จะเร่งรัดให้ส่วนราชการนำไปใช้ ส่วนเรื่องปุ๋ยยาง ชาวบ้านร้องเรียนว่าไม่ตรงกับความต้องการให้ปรับเปลี่ยนให้ชาวบ้านซื้อปุ๋ยเอง รวมถึงเรื่องที่ บริษัทร่วมทุนยางพารา จำกัด ที่การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ไปลงทุนร่วมกับเอกชนเพื่อไปแข่งประมูลกับพ่อค้านั้นได้ผลจริงหรือไม่ โดยให้ประเมินผลงานมาส่งภายในวันที่ 7 ธันวาคมนี้ ถ้าไม่ได้ผลต้องเสนอมาตรการอื่นเพิ่มเติม”

TP15-3320-4 ส่วนเรื่องการจำกัดปริมาณการส่งออกยาง 3 ประเทศในเวทีประชุมสภาไตรภาคียางพารา (ITRC) และบริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด (IRCO) เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมาได้เห็นชอบควบคุมปริมาณการส่งออกยาง 3 เดือน จำนวน 3.5 แสนตัน โดยไทยลดส่งออก 2.34 แสนตัน อินโดนีเซีย 9.51 หมื่นตัน และมาเลเซีย 2 หมื่นตันนั้น จะเรียกทาง กยท.มาหารือต่อไป ขณะนี้ขอศึกษาข้อมูลก่อน

ด้านนายวรเทพ วงศาสุทธิกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็กซ์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การจำกัดการส่งออกเพื่อดันราคายางหลายครั้งที่ผ่านมา ไม่ได้ผลมากนัก เป็นแค่จิตวิทยาและเป็นการขอความร่วมมือ ที่ผ่านมาต่างฝ่ายต่างไม่ไว้วางใจกัน จึงทำให้ไม่ได้ผล ขณะที่เวลานี้ประเทศผู้ปลูกยางไม่ใช่มีแค่ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซียแล้ว แต่ยังมี เวียดนาม กัมพูชา ลาว เมียนมา ถ้าไทยจำกัดการส่งออกอาจเป็นโอกาสให้เพื่อนบ้านขายแทน

วิทยุพลังงาน สอดคล้องกับนายชัยพจน์ เรืองวรุณวัฒนา นายกสมาคมนํ้ายางข้นไทย กล่าวว่า หากมีการนำมาตรการจำกัดการส่งออกยาง 3 ประเทศออกมาใช้ได้จริง จะส่งผลดีต่อราคายางในประเทศแต่สำหรับผู้ประกอบการยางที่ได้ซื้อขายไว้ล่วงหน้าแล้วจะต้องให้ส่งออกได้ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นผิดสัญญา จะถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในภายหลังได้ อย่างไรก็ตามจะมีการประชุมอีกครั้งในระดับรัฐมนตรีในวันที่ 13 ธันวาคม 2560 นี้ต้องรอดูว่านํ้ายางข้นจะถูกจำกัดโควตาส่งออกหรือไม่

[caption id="attachment_202813" align="aligncenter" width="503"] หลักชัย กิตติพล ประธานกิตติมศักดิ์ บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) หลักชัย กิตติพล ประธานกิตติมศักดิ์ บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน)[/caption]

ด้านนายหลักชัย กิตติพล ประธานกิตติมศักดิ์ บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จาก 4 ปัจจัยบวกในเวลานี้ได้แก่1.นํ้าท่วมหลายจังหวัดในภาคใต้ ทำให้ผลผลิตยางออกสู่ตลาดลดลง 2.ไฟไหม้โกดังเก็บยางที่เมืองชิงเต่าของจีน เสียหายราว 3 หมื่นตัน 3.ที่ประชุมสภาไตรภาคียางเห็นชอบในการควบคุมปริมาณส่งออกยางพาราของ 3 ประเทศรวม 3.5 แสนตันเป็นเวลา 3 เดือน และ 4.นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีเกษตรฯคนใหม่ประกาศจะไม่นำยางพาราในสต๊อกรัฐ 1 แสนตันออกมาขายแข่งในตลาด ส่งผลให้ขณะนี้ราคายางในประเทศปรับตัวสูงขึ้น

โดยจากราคา ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2560 ราคายางแผ่นดิบตลาดท้องถิ่นที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยที่ 41.35 บาท/กก. และราคาประมูล ณ ตลาดกลางยางพารา อ.หาดใหญ่ ในส่วนของยางแผ่นดิบอยู่ที่ 42.90 บาท/กก. และยางแผ่นรมควันชั้น 3 อยู่ที่ 45.77 บาท/กก. แต่ล่าสุด ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2560 ราคาอยู่ที่ 42.30, 43.92 และ 47.10 บาท/กก.ตามลำดับ หรือสูงขึ้น 0.95 สตางค์, 1.02 บาท/กก. และ 1.33 บาท/กก.ตามลำดับ

“จาก 3-4 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องมองว่าภายในเดือนธันวาคมนี้ราคายางน่าจะขยับขึ้นได้ไม่ตํ่ากว่า 50 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ในส่วนของมาตรการจำกัดการส่งออกยาง ทางบริษัทพร้อมให้ความร่วมมือซึ่งคงไม่กระทบกับการส่งออกของเดือนธันวาคมเพราะออร์เดอร์กันไปหมดแล้วเหลือแค่ส่งมอบบางส่วนเท่านั้น ถ้าจะมีผลกระทบคงเป็นของปีหน้ามากกว่า”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,320 วันที่ 7 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว