BPP ลุยพลังงานทดแทน ตั้งเป้าผลิต 1,000 เมกะวัตต์ในญี่ปุ่น

09 ธ.ค. 2560 | 04:42 น.
บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ที่แยกออกมาดำเนินงานด้าน ธุรกิจไฟฟ้า และพัฒนาพลังงานทดแทน ปัจจุบันมีโครงการโรงไฟฟ้าทั้งหมด 27 โครงการ แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว 14 โครงการ และอยู่ระหว่างการพัฒนา 13 โครงการ ในประเทศไทย, สปป.ลาว, จีน และญี่ปุ่น

สำหรับกำลังการผลิตตามสัดส่วนการลงทุนจากโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วรวมอยู่ที่ 2,068 เมกะวัตต์เทียบเท่า โดยมาจากโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป 1,903 เมกะวัตต์เทียบเท่า และโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 165 เมกะวัตต์ ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์ที่ BPP ให้ความสำคัญก็คือการขยายโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในประเทศญี่ปุ่น

[caption id="attachment_201091" align="aligncenter" width="449"] นายวรวุฒิ ลีนานนท์ นายวรวุฒิ ลีนานนท์[/caption]

**เดินเครื่องลงทุนญี่ปุ่น
โดยระหว่างวันที่ 17-21 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา BPP ได้นำคณะสื่อมวลชม ติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงานในญี่ปุ่น

นายวรวุฒิ ลีลานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BPP กล่าวว่า บริษัทได้เข้ามาลงทุนในประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว โดยการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์ฟาร์ม ปัจจุบันบริษัทมีโครงการที่ได้ตกลงทำสัญญา ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนารวมทั้งหมด 233เมกะวัตต์ รวม 13 โครงการ โดย 3 โครงการแรก ได้แก่ โครงการโอลิมเปีย, โครงการฮิโนะ และโครงการอวาจิ จิ รวมกำลังผลิต 12.7 เมกะวัตต์ ได้เริ่มจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์หรือซีโอดีแล้ว

ส่วนอีก 10 โครงการอยู่ระหว่างทำการก่อสร้างและพัฒนา ซึ่งจะทยอยซีโอดีในช่วงปี 2561-2563 กำลังการผลิตรวม 118.65 เมกะวัตต์ รวมทั้งโครงการยามางาตะ ไออีเดะ กำลังการผลิตตามสัดส่วนถือหุ้น 51% คิดเป็น 102 เมกะวัตต์ จากกำลังการผลิตทั้งหมด 200 เมกะวัตต์ที่จะซีโอดีในปี 2566 และยังมี อีกหลายโครงการที่กำลังพัฒนา แต่ยังไม่ได้บรรลุข้อตกลงเซ็นสัญญา

โดยบริษัทตั้งเป้าภายในปี 2568 จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าของโครงการในประเทศญี่ปุ่นรวมทั้งสิ้น 1,000 เมกะวัตต์ จากเป้าหมายกำลังการผลิตรวมที่ 4,300 เมกะวัตต์

tp9-3320-a **ต่อยอดพลังงานรูปแบบอื่น
นอกจากนี้ บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนรูปแบบอื่น นอกเหนือจากโซลาร์ฟาร์ม โดยศึกษาการลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวลในญี่ปุ่น หลังจากมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ และภาครัฐญี่ปุ่นได้ส่งเสริมการพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนอย่างจริงจัง แต่ยังต้องรอการไฟฟ้าญี่ปุ่นเปิดให้เข้ายื่นเสนอโครงการ

อีกทั้ง บริษัทยังสนใจต่อ ยอดธุรกิจพลังงานทดแทนในญี่ปุ่นในลักษณะการขายไฟฟ้าให้กับประชาชนโดยตรง (Energy Trading) จากปัจจุบันที่บริษัทผลิตไฟฟ้าและขายไฟผ่านการไฟฟ้าญี่ปุ่น ซึ่งการต่อยอดในธุรกิจ Energy Trading ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษากฎเกณฑ์ต่างๆ ของทางการญี่ปุ่น

“ปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทสร้างการเติบโตในญี่ปุ่น เพราะกลุ่มบ้านปูมีกลยุทธ์กระจายการลงทุนทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในระยะยาว และมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ดีกับประเทศญี่ปุ่นมากกว่า 20 ปี ในขณะเดียวกันรัฐบาลญี่ปุ่นเอง มีนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนอื่นๆ เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศ และลดสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ โดยมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนอื่นๆ เป็น 24% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าในปี 2573 โดยบริษัทมองว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการลงทุนด้านพลังงานทดแทน และมั่นใจว่าโครงการต่างๆของ BPP ในญี่ปุ่นจะสามารถเปิดดำเนินการได้ตามกรอบเวลาที่วางไว้”

**รายได้ปี60เกิน9.81พันล.
นายวรวุฒิ กล่าวอีกว่า สำหรับแนวโน้มผลการดำเนินงานในปี 2561 นั้น คาดว่ารายได้จะสูงขึ้นจากปี 2560 ตามกำลังการผลิตไฟฟ้าในจีนและญี่ปุ่นที่เตรียมซีโอดีเพิ่ม กำลังการผลิตรวม 96 เมกะวัตต์ ทำให้ในปีหน้าบริษัทจะมีโรงไฟฟ้าที่ซีโอดี แล้วเพิ่มเป็น 2,160 เมกะวัตต์ จากปีนี้อยู่ที่ 2,079 เมกะวัตต์ โดยมีโรงไฟฟ้าที่ญี่ปุ่น 3 โครงการ กำลังผลิตรวม 44.5 เมกะวัตต์ และโครงการล่วนหนาน เฟส 2 ในจีนที่จะซีโอดีรวม 52 เมกะวัตต์ ขณะที่โรงไฟฟ้าหงสาสามารถรักษาอัตราการจ่ายไฟฟ้า (EAF) ดีขึ้นมาที่สูงกว่า 82% ตั้งแต่ไตรมาส 3/2560

“บริษัทมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ในมือรวม 2,790 เมกะวัตต์ ซึ่งซีโอดีแล้ว 2,070 เมกะวัตต์ และอยู่ระหว่างก่อสร้าง 721 เมกะวัตต์ โดยจะทยอย COD ครบทั้งหมดในปี 2566 อีกทั้งปัจจุบันบริษัทยังอยู่ระหว่างพิจารณาลงทุนเพิ่มในสปป.ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น โดยเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน โรงไฟฟ้าถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และชีวมวล เพื่อบรรลุเป้าหมายกำลังการผลิตที่ตั้งไว้ 4,300 เมกะวัตต์ ภายในปี 2568” ส่วนรายได้ในปี 2560 คาดว่าจะสูงกว่าปีก่อนที่มีรายได้ 9.81 พันล้านบาท”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,320 วันที่ 7 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว