‘คิง’ร่วมปั้นโครงการต้นแบบตามศาสตร์พระราชา

08 ธ.ค. 2560 | 23:59 น.
[caption id="attachment_238683" align="aligncenter" width="317"] เอกพันธ์ เกียรติภูทอง เอกพันธ์ เกียรติภูทอง[/caption]

กลุ่มนํ้ามันรำข้าวคิง ร่วมกับสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง และมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ จัดทำโครงการ “ทุนพอเพียง” สนับสนุนให้ประชาชนได้ศึกษา เรียนรู้ และพัฒนาวิถีชีวิตตามศาสตร์พระราชา ล่าสุด มอบทุนพอเพียงให้กับ 3 โครงการ ประกอบด้วย

MP28-3320-3b 1. โครงการ “ปั้นแท็งก์ กู้ดอย @แม่ลาน้อย” จังหวัดแม่ฮ่องสอน สานฝันของเด็กหนุ่ม “เอกพันธ์ เกียรติภูทอง” วัย23 ปี จากดอยสูงแม่ฮ่องสอน ได้สร้างแท็งก์นํ้าขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 เมตร สูง 3 เมตร ขนาดจุ 7,000 ลิตร ไว้บนดอยสูง และขุดคลองไส้ไก่ที่เชื่อมต่อลงสู่พื้นที่เกษตรกรรมด้านล่าง เพื่อไว้ใช้ในการเกษตรช่วงหน้าแล้ง สร้างประโยชน์ให้คนในหมู่บ้านแม่กวางเหนือ ต.ท่าผาปุ้ม อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวเขาปกากะญอ 30 ครัวเรือน มีผู้อยู่อาศัยกว่า100 ชีวิต

MP28-3320-2b 2. โครงการ “ปลูกป่า กู้ดิน@ท่าคันโท” จากแนวคิดที่จะทำโครงการในรูปแบบ “สวนทำธรรม กสิกรรมวิถี ปลดหนี้สร้างสุข โคก หนอง นา และที่พักสงฆ์” ของ สังทองและทองพูล ตะคุ 2 สามีภรรยาจากกาฬสินธุ์ ได้ปรับเปลี่ยนวิถีเกษตรแบบเดิม มาเป็นวิถีเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียง กับพื้นที่ 16 ไร่ ของตัวเองและครอบครัวในหมู่บ้านดงสมบูรณ์ อ.ท่าคันโท และเตรียมทำศูนย์เรียนรู้ เพื่อแบ่งปันความรู้ หรือ ภูมิปัญญาแก่ผู้อื่นต่อไป และมีแผนจะขยายพื้นที่ออกไปอีก 30 ไร่ ส่งเสริมและให้ความรู้ด้านการบริการจัดการเงินทุน เพื่อให้โครงการนี้สามารถอยู่ด้วยตนเองต่อไป

MP28-3320-1b 3. โครงการ “ก่อคันนา กู้ข้าว@คลองลาน” จ.กำแพงเพชร ของ อรพันธ์ พูลสังข์ อดีตข้าราชการ ที่ร่วมอนุรักษ์พันธุ์ข้าวท้องถิ่น โดยเกษตรกรเครือข่ายจะร่วมกัน “เอามื้อ” หรือการแสดงพลังสามัคคีลงแรงร่วมใจ เพื่อปั้นคันนา ด้วยแนวคิดที่ต้องการปรับเปลี่ยนพัฒนาพื้นที่นา 9 ไร่ ปรับเปลี่ยนคันนาเดิมที่มีขนาดเล็ก มาปั้นคันนาใหม่ที่มีความกว้าง 1.2 เมตร สูง 1.5 เมตร ประกอบด้วยคันนา ร่องนํ้า และที่นา การขุดร่องนํ้าขนาดเล็กเสริมหัวคันนาให้สูงขึ้น ทำให้หัวคันนาสามารถปลูกพืชผักสวนครัวเสริมได้ และร่องนํ้า ยังสามารถเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงหอย และกักเก็บนํ้าได้ เป็นหัวคันนาทองคำที่สามารถสร้างรายได้อย่างยั่งยืน

MP28-3320-4b ทั้ง 3 โครงการจะเป็นโครงการต้นแบบพอเพียงในการบริหารจัดการพื้นที่ตามศาสตร์พระราชา และเป็นศูนย์การเรียนรู้ นำไปสู่การแบ่งปันความรู้ หรือ ภูมิปัญญาแก่ผู้อื่น เพื่อพัฒนาวิถีชีวิตของคนในชุมชน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดี พอมี พอกิน พอใช้ สังคม ชุมชน เติบโตอย่างยั่งยืน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,320 วันที่ 7 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว