3เดือนดันยาง-ข้าวขยับ ‘กฤษฎา’ ขีดเส้นลุยแก้ปัญหาราคาตก

06 ธ.ค. 2560 | 08:28 น.
“กฤษฎา” ขีดเส้น 3 เดือนเห็นผลดันราคา “ยาง-ข้าว” ขยับ ด้าน “ศิริ” สานต่อ 4 ภารกิจด้านพลังงาน ลุยเปิดประมูลสัมปทานปิโตรเลียมเอราวัณ-บงกช

รัฐมนตรีใหม่ป้ายแดงได้เข้ารับหน้าที่เป็นวันแรก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ที่ผ่านมา ซึ่งหลายคนได้พูดถึงภารกิจและนโยบายที่จะดำเนินการ

++3 เดือนราคายาง-ข้าวขยับ
นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์คนใหม่ กล่าวว่า ได้มอบหมายงานให้ 2 รัฐมนตรีช่วย คือ นายลักษณ์ วจนานวัช ดูแลกลุ่มภารกิจด้านผลผลิตและการตลาด ส่วนนายวิวัฒน์  ศัลยกำธร ดูแลกลุ่มภารกิจด้านขั้นตอนการผลิตสินค้าเกษตร และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น

สำหรับภารกิจใน 3 เดือนแรก จะเน้นการแก้ปัญหาปากท้องของเกษตรกรเป็นหลัก เช่น หากส่งเสริมให้ปลูกพืชชนิดใด จะต้องขายได้ราคาไม่ตํ่ากว่าทุน โดยในการดำเนินงานจะเข้าไปดูมาตรการและนโยบายที่ประสบผลสำเร็จ จะนำมาขยายผลและดำเนินการต่อ ส่วนมาตรการใดที่ติดขัดปัญหาก็จะเข้าไปปรับปรุงให้ดีขึ้น นอกจากนี้จะเร่งดำเนินมาตรการผลักดันการใช้ยางภายในประเทศ ยืนยันจะไม่นำยางในสต๊อกรัฐกว่า 1 แสนตันออกมาขายแข่งกับตลาด, การสร้างความเข้มแข็งในระบบสหกรณ์, การทำการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และการแก้ปัญหาไอยูยู เป็นต้น ยินดีรับฟังข้อเรียกร้องของชาวประมงและเกษตรกร มั่นใจว่า 3 เดือนแรกจะเห็นผลว่ามีอะไรดีขึ้นหรือแย่ลง จากนั้นจะรายงานให้ประชาชนทราบเป็นระยะ

TP14-3318-1A นายลักษณ์กล่าวว่า นายกฯ จะเรียกประชุมหารือเรื่องยางพาราในวันที่ 4 ธันวาคมนี้ เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรชาว สวนยางโดยจะมีการทบทวนมาตรการต่างๆ ว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ หากมาตรการใดสามารถดำเนินการได้ต่อก็จะเร่งรัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนมาตรการใดที่ยังมีปัญหาก็จะปรับปรุงแก้ไขให้กลับมาใช้ได้อีกครั้ง หรืออาจจะมีมาตรการใหม่อะไรออกมาเพื่อผลักดันรายได้ให้สูงกว่าต้นทุนการผลิต ส่วนเรื่องราคาสินค้าเกษตร ในเร็วๆนี้จะมีแผนที่จะนำเสนอรัฐมนตรีเพื่อให้จัดตั้งไซโลเก็บสินค้าเกษตรโดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจ จะพิจารณาพื้นที่เหมาะสม

ด้านนายวิวัฒน์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีปัญหาวิกฤติทั้งภัยแล้ง หมอกควัน นํ้าท่วม ดังนั้นสิ่งที่จะทำก็คือเตรียมแผนรับมือภัยแล้งจะเรียกหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องมาหารือ แต่สิ่งที่น่ากลัวก็คือพื้นที่ที่อยู่นอกเขตชลประทานที่มีกว่า 100 ล้านไร่จะทำอย่างไร ดังนั้นต้องเตรียมรับมือ จะขับเคลื่อนนำศาสตร์ของพระราชาในหลวง ร.9 ไปช่วยเพื่อลดความเหลื่อมลํ้า เรียกว่า แผนปฏิบัติการ 3 5 7

“เลข 3 หมายถึง ระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับพื้นที่ เลข 5 กลไกในการทำงานร่วมกัน ส่วนเลข 7 ภาคข้าราชการ ภาคประชาชน และรัฐบาล ร่วมบูรณาการ”

++ลุยประมูลสัมปทานปิโตรฯ
ขณะที่ นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน ระบุว่า งานเร่งด่วน แบ่งเป็น 4 เรื่อง ได้แก่ 1.การเปิดประมูลสัมปทานปิโตรเลียมเอราวัณและบงกช ที่จะหมดอายุสัญญาในปี 2565-2566 2.การแก้ไขปัญหาไฟฟ้า ในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ 800 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา 2 พันเมกะวัตต์ ซึ่งขณะนี้ยังมีผู้คัดค้านการก่อสร้าง 3.การผลักดันนโยบาย Energy 4.0 เนื่องจากเห็นว่านวัตกรรมช่วยทำให้เกิดการก้าวกระโดดด้านพลังงาน ดังนั้นจะมีการวางแผนให้ชัดเจนว่าจะเดินไปอย่างไร

วิทยุพลังงาน และ 4.การสร้างเสถียรภาพไบโอดีเซล เบื้องต้นได้นัดหารือกับกระทรวงพาณิชย์ในสัปดาห์หน้า เกี่ยวกับสัดส่วนการผสมปาล์มนํ้ามันบริสุทธิ์ (บี100) ในนํ้ามันดีเซล เนื่องจากจะมีผลเกี่ยวเนื่องกับปริมาณสำรอง (สต๊อก) ราคาปาล์มในประเทศ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานไม่สร้างภาระให้ผู้ใช้นํ้ามันดีเซลมากเกินไป

นายสมชาย หาญหิรัญ รมช.อุตสาหกรรม กล่าวว่า เมื่อเข้ารับตำแหน่งจะทำงานในเชิงรุกมากขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะการพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และยกระดับการให้บริการเอสเอ็มอี การเชื่อมโยงนโยบายรัฐกับชุมชนเพื่อสร้างรายได้ ด้วยการพัฒนาเอสเอ็มอีควบคู่กันไป และทำงานร่วมกับเครือข่ายมากขึ้น

ส่วนนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า อยากใช้ประสบการณ์ความรู้ความเชี่ยวชาญมาช่วยขับเคลื่อนงานต่างๆ ของกระทรวงคมนาคม เช่นเดียวกับความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบสมาร์ทซิตีที่เป็นคำกว้างๆ อีกทั้งปัจจุบันประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างมาเลเซียก็ได้พัฒนาเข้าสู่ระบบสมาร์ทซิตีเพื่อยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชนด้วยการสร้างเมืองตัวอย่าง ดังนั้นคำว่าสมาร์ทซิตี จึงครอบคลุมในวงกว้างทั้งการพัฒนาเมือง การคมนาคมขนส่ง จึงมีหลายมิติที่จะเลือกไปดำเนินการ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,319 วันที่ 3 - 6 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว