ตรวจแนวรบดิจิตอล | ‘IoT’ เทรนด์โลก! ที่ต้องวิ่งตาม ‘กสทช.’

07 ธ.ค. 2560 | 08:24 น.
1448

คอลัมน์ : ตรวจแนวรบดิจิตอล - ‘IoT’ เทรนด์โลก! ที่ต้องวิ่งตาม ‘กสทช.’ โดย อนุสรณ์ ฉิมบ้านไร่ |
ในที่สุด ร่างประกาศหลักเกณฑ์การให้ใบอนุญาต IoT ที่ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ใช้คลื่นความถี่ย่าน 920-925 MHz เพื่อรองรับเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว ... โดยร่างประกาศดังกล่าวได้กำหนดทั้งวิธีการใช้คลื่น ซึ่งมีหลักการเบื้องต้น คือ หากเป็นการใช้เพื่อเชื่อมต่อในครัวเรือน หรือ Private IoT เช่น สมาร์ทโฮม สมาร์ทฟาร์มของประชาชน จะไม่จำเป็นต้องขอรับใบอนุญาต แต่ถ้าเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม IoT ในรูปแบบของ Public IoT ที่มีการสร้างเครือข่ายเพื่อนำไปเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการ ต้องยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการจาก กสทช. โดยวัตถุประสงค์สำคัญ คือ เพื่อควบคุมมาตรฐานทางเทคนิค และจัดระเบียบการใช้คลื่นไม่ให้มีการส่งสัญญาณกวนกัน

แน่นอนว่า ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เหล่าบรรดาค่ายมือถือเตรียมยกทัพยึดหัวหาด IoT แล้วแน่นอน

จากข้อมูลของ บริษัท IBM ระบุว่า ปัจจุบัน ทั่วโลกมีอุปกรณ์ IoT กว่า 13,000 ล้านชิ้น และคาดว่า ในปี 2562 IoT จะสร้างมูลค่าให้เศรษฐกิจโลกถึง 1.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 10% ของ GDP สหรัฐฯ แล้วประเทศไทยล่ะ? คาดการณ์ว่า IoT จะสร้างเม็ดเงินประมาณ 34,000 ล้านบาท ในปี 2563 จากการเร่มนำมาปรับใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตและภาคการเกษตร


P05-3296-b

ในที่สุด ‘กสทช.’ ก็ได้เผยตัวตนด้วยการออกมาประกาศว่า ได้เตรียมพร้อมรับเทรนด์นี้ ด้วยการวางรากฐานอินเตอร์เน็ตด้วยการจัดสรรคลื่น IoT เพื่อให้เพียงพอใช้งานของประเทศ (ITU) ภายในปี 2563 แล้วแฝงด้วยการคุมไลเซนส์ IoT ด้วยเหตุผลที่ว่า ทุกคนใช้มานานแล้ว แต่ไม่รู้ตัว และมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคตคาดว่า น่าจะมี IoT มากถึง 3-5 หมื่นล้านชิ้นทั่วโลก มากกว่าประชากรทั้งโลก ดังนั้น การจัดสรรคลื่นเพื่อให้บริการจึงมีความสำคัญ เนื่องจากผู้ให้บริการต่างพัฒนา IoT เพื่อให้บริการเชิงพาณิชย์แล้ว

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,319 วันที่ 3-6 ธ.ค. 2560 หน้า 05

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว