รัฐทุ่ม1.1หมื่นล.เพิ่มใช้ยางปี61 คมนาคม-กลาโหม-เกษตรใช้มากสุด-จี้แจ้งเกิด2นิคมฯยาง

06 ธ.ค. 2560 | 05:45 น.
สภาเกษตรกรฯ เสนอเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยข้อพิพาทกยท.-ชาวสวน ปมต้นทุนยางไม่เท่ากัน ชงบอร์ดกยท.ดันแจ้งเกิดนิคมฯยางพารา “นครศรีฯ-สงขลา” เพิ่มใช้ยาง 1.5 ล้านตัน/ปี ขณะหน่วยงานรัฐเสนอชงแผนใช้ยางปีหน้า 1.1 หมื่นตัน งบ 1.15 หมื่นล้านบาท

[caption id="attachment_114711" align="aligncenter" width="503"] นายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ นายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์[/caption]

นายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ ประธานคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ทางสภาเกษตรกรแห่งชาติ จะเสนอขอเป็นตัวกลางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวสวนยางกับ กยท. ในเรื่องต้นทุนยางพารา ที่แต่ละฝ่ายต่างอ้างต้นทุนการผลิตไม่ตรงกัน ทั้งนี้เพื่อให้ได้
ข้อยุติ ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องหาจุดร่วมเพื่อเป็นแนวทางให้ได้รับความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย

นอกจากนี้ทางสภาเกษตรฯ ได้มีแนวทางขับเคลื่อนเพื่อดึงราคายางทั้งประเทศ โดยเมื่อเร็วๆ นี้ได้นำเสนอเรื่องผ่านบอร์ด 
กยท.เรื่องขอให้มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมยางพาราใน 2 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช และสงขลา โดยอาจทำได้ใน 2 ลักษณะคือ 1. ใช้พื้นที่ของ กยท.ในการจัดตั้งในลักษณะการให้เช่าพื้นที่ หรือ 2. การร่วมลงทุนกับเอกชน ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีในภาพรวม สามารถเพิ่มการใช้ยางพาราในประเทศได้อีกไม่ตํ่ากว่า 1.5 ล้านตันต่อปี (จากปัจจุบันมีการใช้เพียง 6-8 แสนตัน/ปี จากผลผลิตกว่า 4 ล้านตัน/ปี)

tp8-3319-a “นายกรัฐมนตรีได้เร่งรัดให้มีการใช้ยางในประเทศมากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานภาครัฐ ตั้งเป้าไว้ 1 แสนตันต่อปีแต่ที่ผ่านมายังเพิ่มการใช้ยางได้น้อย เพราะยังติดขัดเรื่องมาตรฐานสินค้าที่จะมีการจัดซื้อจัดจ้าง 
ซึ่งบางตัวเพิ่งมีมาตรฐานออก
มารับรอง หน่วยงานราชการต่างๆ เกรงสำนักงบประ มาณจะไม่อนุมัติ และอาจถูกสำนัก งานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบเรื่องความ
ไม่โปร่งใสอีก ทำให้เรื่องล่าช้า จากที่ครม.มีมติเห็นชอบในเรื่องนี้มาตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 แต่เริ่มจะมาขับเคลื่อนได้ในปีงบประมาณ 2560 ที่ผ่านมานี่เอง”

แหล่งข่าวจากการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผยว่า การใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ ปี 2560 มีหน่วยงานราชการจาก 
9 หน่วยงานเสนอแผน โดยที่ต้องการใช้ยางสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข ปริมาณยาง 2,226 ตัน มหาดไทย 1,439 ตัน และเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 1,242 ตัน ตามลำดับ รวมทุกหน่วยงาน 1.16 หมื่นตัน งบประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท (ดูกราฟิกประกอบ) ขณะที่ปีงบประมาณ 2561 มี 6 หน่วยงาน เสนอแผนและได้รับอนุมัติแล้ว โดยมีความต้องการใช้ยางรวม 1.1 หมื่นตัน งบประมาณ 1.15 หมื่นล้านบาท 3 อันดับแรก ได้แก่ กระทรวงคมนาคม ปริมาณยาง 8,351 ตัน กลาโหม 1,472 ตัน และเกษตรและสหกรณ์ 709 ตัน ตามลำดับ

บาร์ไลน์ฐาน “ส่วนแนวทางการแจกเงินโครงการสร้างความเข้มแข็งให้ชาวสวนยางทั้งเจ้าของสวนและคนกรีด ไร่ละ 3,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ ทางบอร์ด กยท.เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2560 ได้มติไม่เห็นชอบ โครงการดังกล่าวนี้ เนื่องจากต้องใช้เงิน
จำนวนมาก และไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณได้
หรือไม่”

ดร.ธีระชัย แสนแก้ว ประธานคณะกรรมการเครือ
ข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ระดับประเทศ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยตั้งแต่ต้น เพราะ
การแจกเงินไม่ใช่คำตอบ สิ่งที่ชาวสวน ทุกคนต้องการคือ ยางราคาดี

นายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์มนํ้ามัน 16 จังหวัดภาคใต้ (คยป.) กล่าวว่า รู้สึกโล่งอกที่บอร์ด กยท.ไม่เห็นชอบเรื่องแจกเงิน 3,000 บาท/ไร่ เพราะหากเห็นชอบจะสร้างความแตกแยกให้กับชาวสวน
ยาง 2 กลุ่มคือกลุ่มที่ขึ้นทะเบียนกับกยท.กับกลุ่มที่ไม่มีเอกสารสิทธิ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,319 วันที่ 3 - 6 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว