CIMBTลุยไอบีเต็มสูบ ปีนี้กวาดดีล2แสนล้าน

02 ธ.ค. 2560 | 03:53 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ซีไอเอ็มบีไทย ลุยทำดีลธุรกิจวาณิชธนกิจปี 61 ประเมินดีลไอพีโอในตลาดมีมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท ฟุ้งมีดีลในกำมือ 2-3 หมื่นล้านบาท หลังปีนี้โกยดีล 2 แสนล้านบาท เกินจากเป้าที่ตั้ง 1.5 แสนล้านบาท เก็บค่าธรรมเนียมเข้ากระเป๋า 200-300 ล้านบาท พร้อมลุยช่วยลูกค้าบุกอาเซียน

นายวิรัช มรกตกาล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ วาณิชธนกิจ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวโน้มธุรกิจวาณิชธนกิจในปี 2561 ตลาดยังคงเห็นธุรกรรมที่คึกคักอยู่ แต่ขนาดมูลค่าดีลเฉลี่ยอาจจะลดลงจากปีนี้ที่มีมูลค่าดีลค่อนข้างสูง

วิทยุพลังงาน สอดคล้องกับผลการดำเนินงานของธนาคารที่สามารถทำได้เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้อยู่ที่ 1.5 แสนล้านบาท โดยธนาคารมีธุรกรรมด้านวาณิชธนกิจ ทั้งในส่วนของดีลการเสนอขายหุ้นใหม่ให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) และการควบรวมกิจการ (M&A) ระดมทุนผ่านตลาดทุน และการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) รวมกว่า 2 แสนล้านบาท ส่งผลให้ธนาคารมีรายได้ค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 200-300 ล้านบาท

ทั้งนี้จากผลการดำเนินงานดังกล่าว ทำให้ธนาคารมีส่วนแบ่งตลาด (มาร์เก็ตแชร์) ในตลาดควบรวมกิจการหรือ M&A ประมาณ 31% ถือเป็นอันดับ 2 ของตลาด ด้วยมูลค่ากว่า 1.5 แสนล้านบาท และมีมาร์เก็ตแชร์ในส่วนของการทำ IPO ประมาณ 10% คิดเป็นอันดับ 4 ของตลาด ด้วยมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท

สำหรับแนวโน้มตลาดปี 2561 ในเบื้องต้นประเมินมูลค่าธุรกิจวาณิชธนกิจในส่วนของดีลการเสนอขายหุ้นใหม่ IPO อยู่ที่ประมาณ 1 แสนล้านบาท กรณีที่กองทุนไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ยังไม่ออกมาชัดเจน ส่วนดีล M&A คาดว่าจะมีให้เห็นในตลาดประมาณ 1-2 ดีล

บาร์ไลน์ฐาน ปัจจุบันมีดีลที่อยู่ในมือประมาณ 3-4 ดีล มูลค่ารวมอยู่ที่ 2-3 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นดีลการทำ IPO มีทั้งหลักพันล้านบาทและหลักหมื่นล้านบาท โดยอยู่ในเซ็กเตอร์พลังงาน ดีลเซ็กเตอร์ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ (E-Commerce) มูลค่าประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นธุรกิจสตาร์ตอัพที่มีความสามารถจนเข้าตลาดได้ โดยดำเนินธุรกิจมาแล้ว 5-6 ปี มีทุนจดทะเบียนเกือบ 300 ล้านบาท คาดว่าภายในสิ้นปีจะเพิ่มทุนเป็น 300 ล้านบาทได้ ถือเป็นธุรกิจที่น่าสนใจและจะทำให้ตลาดคึกคักมากขึ้น คาดว่าน่าจะได้เห็นภายในไตรมาสที่ 2 และอีก 1 ดีล จะเป็นดีลธุรกิจเซ็กเตอร์รายย่อย หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า มูลค่าดีลประมาณ 1 หมื่นล้านบาท

อย่างไรก็ดีดีลที่เกิดขึ้นทั้งการซื้อขายกิจการหรือพันธมิตรทางธุรกิจ แบ่งเป็นธุรกิจไทยไปลงทุนต่างประเทศสัดส่วนประมาณ 50% และต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทยอีกประมาณ 50% โดยดีลที่ธุรกิจไทยออกไปลงทุนต่างประเทศ จะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในเซ็กเตอร์รายย่อย-ค้าปลีก และโรงไฟฟ้า เป็นต้น ส่วนดีลที่เป็นต่างประเทศเข้ามาในไทย จะเป็นเซ็กเตอร์สุขภาพ และอสังหาริมทรัพย์ขนาดกลาง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,318
วันที่ 30 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว