ชิงเค้ก AOT 3 พันล้าน! ศึกเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด - CTX ฟัด L3 มันหยด

29 พ.ย. 2560 | 08:57 น.
1521

ฐานเศรษฐกิจ | จับตาประมูลการเปลี่ยน “เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด” และ “สายพานลำเลียง” สนามบินสุวรรณภูมิ มูลค่าโครงการ 3 พันล้าน ส่อล็อกสเปก บริษัท Smiths Detection ยื่นร้อง ทอท. เดินตามที่ปรึกษาสิงคโปร์ สูญเสียเงินก้อนโตแน่

บริษัท ท่าอากาศยานไทยฯ (AOT) หรือ ทอท. กำลังพิจารณาเปิดประมูลจัดซื้อจัดจ้าง ปรับปรุงระบบตรวจสอบวัตถุระเบิดและงานปรับปรุงระบบลำเลียงกระเป๋าสัมภาระของอาคารเทียบผู้โดยสารหลังใหม่ในสนามบินสุวรรณภูมิ ที่ใช้ตรวจกระเป๋าในการต่อเครื่องบิน โดยมีมูลค่าโครงการประมาณ 3,053 ล้านบาท โดยกำหนดความเร็วในการสแกนกระเป๋าสัมภาระ 0.5 เมตรต่อวินาที จากเดิม 0.3 เมตรต่อวินาที

ก่อนหน้านี้ บอร์ด AOT ได้อนุมัติโครงการจัดหาเครื่องเอกซเรย์ลักษณะนี้ เมื่อเดือน มิ.ย. 2559 โดยวิธีพิเศษ กรณีจัดหาจากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายโดยตรง หรือเป็นงานที่ต้องการความเชี่ยวชาญโดยตรง จากบริษัท เอ็ม.ไอ.ที. โซลูชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้ได้รับสิทธิ์ขายเครื่องเอกซเรย์ L3 แต่เพียงรายเดียวในไทย


bengoltiger4

อย่างไรก็ดี การตรวจจับวัตถุระเบิดในช่วงของการเริ่มต้นเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมินั้น มีการติดตั้งใช้เครื่อง CTX9000 จำนวน 26 เครื่อง พร้อมสายพานลำเลียงกระเป๋า ซึ่งเดิมเป็นของบริษัท MOPHO DETECTION ก่อนเปลี่ยนมือเป็นของบริษัท Smiths Detection (Smiths-SD)

| ยื่นหนังสือประท้วง ทอท. |
บริษัท Smiths Detection ได้ทำหนังสือประท้วงและแสดงความกังวลในการตัดสินใจเลือกระบบตรวจวัตถุระเบิดและสายพานของคณะกรรมการ ทอท. โดยส่งหนังสือถึง นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. และสำเนาเสนอประธานกรรมการบอร์ดพิจารณา ข้อกังวลความสิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น และมีแนวโน้มต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น หากเปลี่ยนระบบ

บริษัท Smiths ระบุว่า TSA ซึ่งเป็นองค์กรด้านตรวจสอบความปลอดภัยของสหรัฐฯ ที่เป็นผู้ออกใบรับรองของเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด 0.5 m/s แต่ไม่พิจารณาซื้อเครื่องยี่ห้อใดเลย ที่ความเร็ว 0.5 m/s


วิทยุพลังงาน

อย่างไรก็ดี Smiths ขายเครื่อง 0.5 m/s ได้มากที่สุด ประมาณ 174 เครื่อง ส่วนคู่แข่ง คือ เครื่องยี่ห้อ (L3-MV3D) ขายได้ไม่เกิน 50 เครื่อง

“TSA ดูแลสนามบินทั่วอเมริกา ยังไม่เคยเปลี่ยน CTX9400 แม้สัก 1 เครื่อง ที่เป็นเครื่องความเร็ว 0.5 m/s ยี่ห้อใด ๆ ที่ TSA รับรองแล้ว แม้กระทั่ง ยี่ห้อ Smiths ที่ขายมากที่สุด ในความเร็ว 0.5 m/s ซึ่งขายไปแล้ว 174 เครื่อง”

| เสี่ยงปรับสเปกความเร็ว |
บริษัทเป็นกังวลว่า เจ้าหน้าที่ของไทยจะตัดสินใจผิดอย่างมาก ตามคำแนะนำของที่ปรึกษาจากสิงคโปร์ ใช้เครื่องที่ความเร็ว 0.5 m/s จะใช้ส่วนใหญ่ในการสแกนกระเป๋าระบบ Stand Alone หรือใช้เดี่ยว ๆ ไม่ได้ใช้ในระบบ Inline หลายเครื่องเหมือนแบบสุวรรณภูมิ แต่เหมาะสมกับ Oversized Bag


products-eds-MV3D-machine-scan-combo-en

“แม้ TSA รับรอง แต่ไม่ได้หมายถึงว่า ซื้อไปแล้วจะใช้ได้ดีที่สุด หรือมีปัญหาในการ Integrate ไม่เสียบ่อย ไม่ต้องหยุดเครื่องซ่อมบ่อย ๆ เหมือนกับที่มีเครื่อง L3 อยู่ 4 เครื่อง ซึ่งเสียบ่อยมาก”

| เสี่ยงสูญเงินก้อนโต! เปลี่ยนระบบสายพาน |
Smiths ขอให้ ทอท. พิจารณาว่า ทอท. เคยใช้ CTX มาเป็นเวลา 11 ปี แล้วเหตุใดต้องเสี่ยงเปลี่ยนเป็นเครื่องความเร็ว 0.5 m/s ที่ไม่เคยใช้งาน และไม่มีสนามบินที่ไหนทำการเปลี่ยนแบบนี้

“เราไม่ได้ห่วงเรื่องขายของ เพราะเราก็มีเครื่อง 0.5 m/s ที่ดีที่สุด และขายดีที่สุด แต่ไม่เข้าใจและรู้สึกเสียดาย ที่ ทอท. มีระบบที่ดีที่สุดอยู่แล้ว เพียงแต่เปลี่ยนรุ่นใหม่ หรืออัพเกรดเข้าไป ไม่ต้องเสี่ยงปรับเปลี่ยนระบบสายพาน ซึ่งต้องเสียเงินมาก และใช้เวลานาน และเสี่ยงต่อความเสียหายที่จะถูกปรับ และถูกตำหนิจากสายการบินและผู้โดยสารหากล่าช้า”


โปรโมทแทรกอีบุ๊ก

| ชี้! สนามบินใหญ่ล้วนใช้ CTX |
ในหนังสือที่เสนอ ทอท. ยังระบุว่า สนามบินในอเมริกาที่อยู่ภายใต้การกำกับของ TSA Homeland Security ทุกสนามบินได้ทยอยเปลี่ยนเครื่องรุ่นเก่า เป็นเครื่องรุ่นใหม่ CTX9800 และสนามบินขนาดใหญ่ เช่น Heathrow และสนามบินนาริตะ

| หลงตามที่ปรึกษาสิงคโปร์ |
นอกจากนี้ ยังได้ชี้ให้เห็นว่า การที่ ทอท. ทำตามข้อเสนอของบริษัทที่ปรึกษาจากสิงคโปร์ 4 โครกงาร ที่ใช้เงินงบประมาณดำเนินการ เช่น โครงการ TBT (Transfer Bag) มูลค่าประมาณ 1,800 ล้านบาท และจะขอเงินแก้ไขอีก 700 ล้านบาท โครงการระบบสายพานสนามบินภูเก็ตที่เพิ่งเปิดใช้มาประมาณแค่ 2 ปี

โครงการออกแบบระบบสายพานจาก Terminal ไป Satellite มูลค่าเกือบ 4 พันล้านบาท ออกแบบให้ใช้เครื่องเอกซเรย์ธรรมดา ราคากว่า 3 ล้านบาท ที่ไม่สามารถตรวจจับวัตถุระเบิดได้ในการตรวจ Oversized Bag ซึ่งจะทำให้ระบบรักษาความปลอดภัยสู้ไม่ได้กับสนามบินนานาชาติคู่แข่งในอาเซียนด้วยกัน


02-3318

“โครงการออกแบบเปลี่ยนเครื่อง CTX จำนวน 26 เครื่อง ที่ใช้งานมา 11 ปี อย่างมีประสิทธิภาพราบรื่น ไม่เคยมีแม้สักวันเดียวที่ระบบรวนมีปัญหาจนทำให้สนามบินสุวรรณภูมิต้องเสียหาย แต่จะออกแบบเปลี่ยน CTX9400 เป็นระบบความเร็ว 0.5 m/s ที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อน แม้กระทั่งประเทศผู้ผลิต ซึ่งเป็นประเทศที่ออกใบรับรอง TSA คือ อเมริกา ที่เป็นประเทศผู้นำทางด้านความปลอดภัย”


หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,318 วันที่ 30 พ.ย. - 2 ธ.ค. 2560 หน้า 01 และ 02

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว