เชฟรอนเดินตามรอยพ่อฯ ปี 5 สร้างพื้นที่ต้นแบบด้วยศาสตร์พระราชา

03 ธ.ค. 2560 | 09:00 น.
บริษัท เชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด ยัง คงเดินหน้าจับมือกับสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และสถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กับโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” ปี 5 จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ศาสตร์พระราชาทั้งในเรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สู่การลงมือปฏิบัติ
ปีนี้ได้จัดกิจกรรม “เอามื้อสามัคคี” ครั้งที่ 4 ที่ศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ (บวร.) วัดพระบรมธาตุ ดอยผาส้ม บ.อมลอง ต.แม่สาบ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ด้วยการสร้างต้นแบบหลุมขนมครกบนพื้นที่สูง เพื่อให้ความรู้แก่ชาวเขา ในการปรับเปลี่ยนวิถีการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน สู่การทำการเกษตรผสมผสานแปลงเดียว เพื่อให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน และแก้ปัญหาการรุกลํ้าพื้นที่ป่า

MP28-3318-5A “อาทิตย์ กริชพิพรรธ”ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า โครงการฯ ปีที่ 5 ดำเนินงานภายใต้แนวคิด ‘แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี’ มีเป้าหมายจัดกิจกรรมตามแนวคิด ‘โคก หนอง นา’ โมเดล ใน 4 พื้นที่ เพื่อสร้างตัวอย่างความสำเร็จกระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ โดยเริ่มจากที่แปลงเกษตรสาธิต สจล. ด้วยการสร้างแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรในเมือง จากนั้นก็ขยายไปที่ไร่สุขกลางใจของ อ.สุขะชัย ศุภศิริ จ.ราชบุรี เพื่อเป็นตัวอย่างการขับเคลื่อนโครงการฯ สู่ลุ่มนํ้าแม่กลอง และถัดมาที่นาข้าวดินปนหินของลุงแสวง ศรีธรรมบุตร จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นตัวอย่างการสร้างต้นแบบจากชาวบ้านสู่ความร่วมมือ 7 ภาคี คือ ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาคศาสนา และสื่อมวลชน และเป็นการขับเคลื่อนโครงการฯสู่ลุ่มนํ้าชี จนมาถึงกิจกรรมล่าสุดที่ จ.เชียงใหม่ ในครั้งนี้ เพื่อทำต้นแบบหลุมขนมครกบนพื้นที่สูงในพื้นที่จำกัด

MP28-3318-4A “เชฟรอนสนับสนุนในการสร้างการรับรู้ สร้างเครือข่ายที่แข็งแรง ทำงานกับอาจารย์โก้ เรื่องงานวิจัย ว่าวิธีการนี้ได้ผลจริงหรือเปล่า จะได้มีหลักฐานทางวิชาการ ที่สามารถเชื่อถือได้ว่าสามารถทำได้จริงและมันเวิร์ก พร้อมกับนำพนักงานจิตอาสามามีส่วนร่วม ทำให้เข้าใจว่า หลักการเศรษฐกิจพอเพียงจริงๆ เป็นอย่างไร”

โครงการนี้มีกรอบการดำเนินงาน 9 ปี แบ่งเป็น 3 ระยะ โดย 3 ปีแรก คือ ระยะตอกเสาเข็ม เป็นการวางรากฐานการรับรู้ ส่วน 3 ปีถัดมา คือ ระยะแตกตัว ขยายผลด้วยการสร้างคนต้นแบบ และ 3 ปีสุดท้าย คือ เชื่อมโยงทั้งระบบโดยความร่วมมือกับทุกภาคีเครือข่าย

MP28-3318-1A “ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร” หรือ อ.ยักษ์ ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ภาคีเครือข่ายภาควิชาการ กล่าวว่า บน วัดพระบรมธาตุดอยผาส้มไฟไหม้ เหลือแต่พระบรมธาตุ ชาวบ้านไม่มีนํ้าจะกิน พระก็ช่วยชาวบ้านดับไฟ สร้างต้นนํ้า แนะนำอาชีพให้ชาวบ้าน ท่านเลยมาปรึกษาอ.ยักษ์ ก็เลยถามว่า หลวงพ่อเชื่อเรื่องทานไหม ในหลวงฯ ตรัสว่า ให้ชาวบ้านเอาของไปแจกที่กาด (ตลาด) คนกินก็ตามขึ้นมาถึงนี่ สุดท้ายก็ประกาศว่า ปลูกอะไร เขาจะช่วยเอาไปขายให้ ให้ชาวบ้านตั้งราคาเองพระก็เลยชวน ชาวบ้านปลูก แล้วทำเป็นศูนย์ฝึก สร้างความรู้ สร้างอาชีพ

MP28-3318-2A “เราต้องรักษาป่าให้ได้ จะเกิดประโยชน์ ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ที่นี่ก็เลยฟื้นกลับขึ้นมา เอาวัดตั้งเป็น Home School สอนเองที่วัด สุดท้ายก็สำเร็จ เราก็เห็นว่า พลังคนสร้างสรรค์โลก ก็มีโครงการร่วมมือกัน ทำอย่างไร คนจะเดินตามกัน เอามื้อกัน สามัคคีเป็นพลัง เราก็ทำ ช่วยกัน มาช่วยกันขุดคันนา เอาคันนาทำเป็นเขื่อน”

“ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล” คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.กล่าวว่า สจล. เข้าร่วมโครงการฯ ด้วยการร่วมให้คำแนะนำและสอนวิธีการออกแบบพื้นที่ ทำการเกษตรของเครือข่ายและประชาชนที่สนใจตามแนวทางศาสตร์พระราชาในรูปแบบ ‘โคก หนอง นา โมเดล’ โดยคำนึงถึงขนาดของพื้นที่ ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สภาพของดิน รวมถึงความต้องการ และกำลังทุนทรัพย์ของเจ้าของพื้นที่ ทำให้เกิดการยอมรับเป็นวงกว้างในแนวทางการจัดการนํ้าที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยมุ่งหวังให้แต่ละพื้นที่สามารถเก็บนํ้าฝนที่ตกลงมาไว้ให้ได้ 100% โดยพื้นที่นี้ต้องทำให้เป็นต้นแบบหลุมขนมครกบนพื้นที่สูงบนที่ขนาด 5 ไร่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืน

MP28-3318-3A โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” ปี 5 ยังคงเดินหน้าต่อ โดยกิจกรรมครั้งต่อไป จะเป็นงานสรุปผลการดำเนินโครงการฯ ปีที่ 5 โดยจะนำผลผลิตของเครือข่ายคนมีใจที่เข้าร่วมโครงการมาจัดแสดงและจำหน่าย เพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจสู่การลงมือปฏิบัติตามแนวทางศาสตร์พระราชา ในวันที่ 9-11 ธันวาคม 2560 ที่เดอะมอลล์ บางกะปิ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,318
วันที่ 30 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว