‘บุญทักษ์’ส่งไม้ต่อ ‘ปิติ’ CEO คนใหม่นำทัพ TMB ขึ้นแท่นแบงก์ยอดนิยม

26 พ.ย. 2560 | 00:13 น.
ทีเอ็มบี รุกคืบปฏิรูปองค์กรต่อเนื่อง-ชูศักยภาพพนักงานเสิร์ฟลูกค้ายุคดิจิตอล ตั้งเป้า 5 ปีขึ้นแท่น “ธนาคารที่ลูกค้าชื่นชอบและแนะนำมากที่สุดในประเทศ” มุ่งตอบสนองทันความต้องการฉับไว- ง่าย-สะดวก

ช่วง 9 ปีที่ผ่านมาธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)หรือ ทีเอ็มบี ดำเนินงานภายใต้แนวคิด Make Difference เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งความสำเร็จตามแผนกลยุทธ์ 3 เฟสประกอบด้วย เฟสแรกที่มุ่งเปลี่ยนและสร้างรากฐานใหม่ให้กับธนาคารด้วยการเสริมสร้างฐานะการเงินให้แข็งแกร่ง ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร ปรับโครงสร้างการบริหารทรัพยากรบุคคล และการปรับโครงสร้างสาขา การดำเนินกลยุทธ์ใช้เงินฝากเป็นตัวนำโดยการส่งมอบบัญชีเงินฝากเพื่อการทำธุรกรรมและบัญชีเงินฝากเพื่อการออมที่ดีที่สุดในตลาด

ขณะเดียวกันทีเอ็มบียังเป็นธนาคารที่นำร่องยกเลิกการกรอกเอกสารฝากถอนเงิน พร้อมทั้งประเดิมนำเสนอธนาคารดิจิตอล ซึ่งเป็นที่คุ้นชินกับแบรนด์ ME by TMB หรือพัฒนา TMB TOUCH โมบายแบงกิ้งแอพพลิเคชัน โดยมุ่งให้ลูกค้าทำธุรกรรมได้ง่ายและสะดวกทุกที่ทุกเวลา ล่าสุดได้ส่งมอบ บัญชี TMB All Free ไม่มีดอกจัน บัญชี SME One Bank เป็นธนาคารแรกที่พัฒนา TMB Buasiness TOUCH โมบายแอพ พลิเคชันเพื่อลูกค้าเอสเอ็มอี มอบสิทธิประโยชน์ให้ลูกค้าที่ใช้ทีเอ็มบีเป็นธนาคารหลัก

[caption id="attachment_235455" align="aligncenter" width="330"] ปิติ ตัณฑเกษม ปิติ ตัณฑเกษม[/caption]

นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า การบรรลุเป้าหมายทั้ง 3 เฟสทำให้ทีเอ็มบีเป็นธนาคารที่มีความแข็งแกร่งในทุกด้านและมีศักยภาพสูงเพื่อประโยชน์ของลูกค้าโดยมุ่งตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างตรงใจ ไม่ว่าผลิตภัณฑ์และบริการที่สะดวกและง่าย เหล่านี้เน้นที่การสร้างประสบการณ์ที่ราบรื่นในทุกช่องทางถึงลูกค้าโดยไม่สะดุด จนนำมาสู่ความสำเร็จในการดำเนินงาน ซึ่งเห็นได้จากทีเอ็มบีสามารถสร้างผลกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นจาก 147 ล้านบาทในปี 2551 มาอยู่ที่จำนวน 8,226 ล้านบาทในปี 2559 คิดเป็น 56 เท่า และจากนี้ต่อไป ทีเอ็มบีจะก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงตามแผนกลยุทธ์ที่ต่อเนื่องสำหรับการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

[caption id="attachment_235454" align="aligncenter" width="335"] ปิติ ตัณฑเกษม ปิติ ตัณฑเกษม[/caption]

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน ทีเอ็มบี ในฐานะว่าที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (กำหนดจะรับตำแหน่งในวันที่ 1 มกราคม 2561 ) กล่าวว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้าหรือภายในปี 2565 ทีเอ็มบีตั้งเป้าหมายที่จะเป็น “ธนาคารที่ลูกค้าชื่นชอบและแนะนำบอกต่อให้คนรอบข้างมาใช้งานมากที่สุดในประเทศไทย” ขณะที่เป้าหมายจะขยายฐานลูกค้าเอสเอ็มอีขนาดเล็กอีก 4 เท่า เพิ่มอัตราการเติบโตของจำนวนลูกค้าที่ทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิตอลเป็นประจำอีก 2 เท่า สร้างรายได้ให้เติบโตอีก 1 เท่า และลดอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ลงให้เหลือ 40%

อย่างไรก็ตาม ภายใต้กลยุทธ์ 5 ปีนั้น ทีเอ็มบียังมุ่งที่จะพัฒนาด้านดิจิตอลแบงกิ้ง ซึ่งเป็นเครื่องมือเสริมศักยภาพส่งมอบบริการคุณภาพเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงใจทั้งง่ายและสะดวก โดยจะล้างความเชื่อเดิมๆ ที่ว่า ดิจิตอลแบงกิ้ง หมายถึงแค่การออกแอพพลิเคชันให้ลูกค้าใช้ แต่ทีเอ็มบีจะลงทุนเพิ่มเติมในระบบงานเพื่อรองรับการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ปฏิรูประบบเอกสารให้อยู่ในระบบอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุดเพื่อพัฒนาช่องทางการบริการทุกช่องทางให้เชื่อมโยงกันแบบไม่สะดุดทำให้ลูกค้าทำธุรกรรมได้ง่าย ใช้งานได้จริง รวมถึงดำเนินงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าอย่างมืออาชีพ

สำหรับลูกค้าบุคคล ทีเอ็มบีจะนำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการในแต่ละช่วงชีวิตของลูกค้า นำเสนอแผนการออมและการลงทุนที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า นอกจากผลิตภัณฑ์ที่มอบสิทธิประโยชน์ หรือโปรโมชันที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์แต่ละบุคคล เช่นเดียวกับกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีขนาดเล็กที่ธนาคารจะส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่เหมาะสมแต่ละธุรกิจ โดยเฉพาะพัฒนาบริการสินเชื่ออนุมัติให้รวดเร็ว

MP24-3317-A “ในยุคดิจิตอล เรามุ่งเป็นองค์การที่กระชับไม่ซับซ้อนโดยจะลดขั้นของตำแหน่งงานให้เหลือเพียง 5 ขั้นภายใน 5 ปีข้างหน้า พร้อมริเริ่มการทำงานแบบ Agile เพิ่มความคล่องตัวในการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ทันต่อความต้องการของลูกค้า และสนับสนุนพนักงานทีเอ็มบีกล้าเปลี่ยนแปลงและใช้ศักยภาพทำในสิ่งที่แตกต่างและมีความหมายต่อชีวิตของลูกค้าอย่างยั่งยืน”

อนึ่งเมื่อวันที่ 25ตุลาคม 2560 คณะกรรมการธนาคารแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณี นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคารและกรรมการธนาคาร มีความประสงค์จะดำรงตำแหน่ง จนถึงวันที ่31 ธันวาคม 2560และมีมติแต่งตั้ง นายปิติ ตัณฑเกษม ดำรงตำแหน่งแทนโดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561
ที่ผ่านมา ณ วันที่ 31ตุลาคม 2560 ทีเอ็มบีมีสินทรัพย์รวม 8.23 แสนล้านบาท เงินให้สินเชื่อ 5.93 แสนล้านบาท เงินฝากรวม 6.01 แสนล้านบาท ขณะหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) สุทธิจำนวน 1.66 หมื่นล้านบาทหรือ1.07% ของเงินให้สินเชื่อรวม หลังหักเงินสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของเงินสินเชื่อด้อยคุณภาพโดยที่เอ็นพีแอล ก่อนหักเงินสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญมีจำนวน 1.79 หมื่นล้านบาทหรือ 2.44% เงินกองทุนตามกฎหมายอยู่ที่ 18.06% ของเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยง โดยยังคงสถานะเงินกองทุนในระดับสูง สะท้อนได้จากอัตราส่วนเงินกองทุนรวม (CAR) และอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1) ภายใต้เกณฑ์ Basel III ที่อยู่ที่ 17.9% และ 13.6% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขั้นตํ่าของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งกำหนดไว้ที่ 9.75% และ 7.25% ตามลำดับ

บาร์ไลน์ฐาน ทั้งนี้ ธนาคารให้ความสำคัญในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง ภายใต้แนวทาง “Need-Based Bank” กับ “Simple & Easy” ทำให้สามารถขยายฐานลูกค้าผ่าน Transactional banking และ Digital banking ได้ ส่งผลให้ธนาคารมีผลการดำเนินงานที่พัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งธนาคารก็จะมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่จะช่วยให้ลูกค้าได้ใช้ชีวิตได้เต็มที่ในแบบลูกค้าต้องการต่อไป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,317 วันที่ 26 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว