ม.อ.เปิดถนนยางพารา

23 พ.ย. 2560 | 08:40 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

rub2

ม.อ เปิดถนนยางพารา ทศพาราวิถี และ เบญจพาราวิถี ณ ลานศรีวิชัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 โดยมี ฯพณฯ ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี และ ที่ปรึกษาสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานในพิธีเปิด  และรองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวรายงานการดำเนินโครงการ

รศ.เจริญ นาคะสรรค์

รองศาสตราจารย์ ดร.เจริญ นาคะสรรค์ รองอธิการบดีวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี กล่าวถึง โครงการวิจัยและพัฒนาการสร้างถนนยางพารา ทศพาราวิถี และ เบญจพาราวิถี ว่า เป็นผลงานของคณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากหลายวิทยาเขต ซึ่งมีการศึกษาวิจัยในการนำยางพารามาใช้ประโยชน์ โดยถนนทั้ง 2 เส้น มีส่วนผสมของยางพารากับแอสฟัลต์คอนกรีต ในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน โดยถนนเบญจพาราวิถี มีส่วนผสมของยางพารา ร้อยละ 5 และ ถนนทศพาราวิถี มีส่วนผสมของยางพารา  10 % และ เป็นถนนเส้นแรกที่ใช้ส่วนผสมของยางพารามากที่สุดในประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพการใช้งานของถนนที่มีส่วนผสมของยางพาราที่แตกต่างกัน

rubble1

ในปัจจุบันมีถนนหลายสายที่สร้างโดยมีส่วนผสมของยางพารากับแอสฟัลต์คอนกรีต แต่โดยทั่วไปจะมีส่วนผสมของยางอยู่ไม่เกิน  5%   และใช้น้ำยางพาราเป็นส่วนผสม แต่จากนักวิชาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในฐานะผู้ทำวิจัยและทำงานเรื่องยางพารามายาวนาน โดยมีการร่วมมือกันในทุกวิทยาเขต ได้มีการศึกษาส่วนผสมในรูปแบบใหม่คือ เปลี่ยนเป็นใช้ยางแห้งเป็นส่วนผสมแทนน้ำยางโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ ทำให้สามารถผสมยางได้มากขึ้นกว่า 5%   ซึ่งการผสมยางในปริมาณมากขึ้น ไม่ได้มีความยุ่งยากในกระบวนการผลิต และจากการทดลองใช้งาน ถนนที่มีส่วนผสมยางพารามากจะมีความนุ่มนวลในการขับขี่ และ ระยะเบรกจะสั้นกว่า ส่วนความคงทนและคุณสมบัติอื่นๆ เป็นเรื่องที่จะต้องใช้เวลาติดตามผลต่อไป และจะมีการติดต่อให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ เข้ามาตรวจสอบคุณภาพถนนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเก็บข้อมูลและกำหนดมาตรฐานในโอกาสต่อไป

สำหรับเหตุผลหนึ่งที่ใช้ยางแห้งแทนน้ำยาง เพราะจากการศึกษาการผสมระหว่างยางกับแอสฟัลท์นั้น น้ำไม่ได้มีประโยชน์ในกระบวนการผสมดังกล่าว ดังนั้นการใช้เนื้อยางอย่างเดียวเพื่อหลอมผสมกับแอสฟัลท์ ซึ่งเป็นการนำพอลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันมาหลอมละลายเข้าด้วยกัน ด้วยความร้อนจึงเป็นสิ่งที่น่าจะเพียงพอ

“จริงๆ แล้วส่วนผสมของยางอาจได้มากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ แต่จะคุณภาพดีหรือไม่ยังไม่มีคำตอบเพราะยังมีเคยมีใครทำมาก่อน เรากำลังจะหาคำตอบว่าปริมาณที่เหมาะสมคือเท่าไหร่ ซึ่งนี่จะเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มมูลค่ายางในภาวะที่ราคายางตกต่ำ ประเทศไทยผลิตยางดิบ 4 ล้านตันต่อปี และส่งออก 3 ล้านตัน แต่ที่ได้นำไปแปรรูปขายเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้น มีมูลค่ามากกว่าราคายางที่ส่งออก ซึ่งหากมีการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มากขึ้น จะทำประเทศจะมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 4,000 ล้านบาท”