"ภาคภูมิ ศรีชำนิ" รุกธุรกิจหลัก ต่อยอดธุรกิจใหม่ซิโน-ไทย

25 พ.ย. 2560 | 09:58 น.
ปี2561 นับว่าเป็นอีกหนึ่งปีที่หลายฝ่ายต่างคาดหวังว่าจะมีงานระดับเมกะโปรเจ็กต์ป้อนออกมาจากภาครัฐไม่น้อยกว่าปี 2559-2560 โดยเฉพาะงานด้านรับเหมาก่อ สร้าง ดังนั้นหลายบริษัทจึงเร่งระดมสรรพกำลังทั้งเครื่องจักร อุปกรณ์และบุคลากรไว้รับมืออย่างเต็มที่เพราะเชื่อมั่นว่าปี 2561 จะเป็นอีก 1 ปีทองของธุรกิจรับเหมาจากทิศทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลเร่งผลักดันและอีกหลายโครงการที่พร้อมจะเปิดประมูลในปี 2561

ทั้งนี้สำหรับมุมมองของ “ภาคภูมิ ศรีชำนิ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC กลับแสดงความเห็นในหลายประเด็นที่น่าสนใจผ่านการให้สัมภาษณ์พิเศษหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ กับการรุกธุรกิจในปี 2561 ในหลายมุมมองพร้อมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ในอีกบริบทหนึ่ง

 

[caption id="attachment_233986" align="aligncenter" width="503"] ภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC[/caption]

++คิดว่าปี 2561 มีอะไรเป็นโอกาสในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบ้าง ?
ผมมองว่าปัจจัยและโอกาส ที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2561 ก็คงจะเป็นปัจจัยเดิมของปี 2560 หลักๆ ก็น่าจะยัง คงเป็นเรื่องการส่งออกที่ขยายตัวค่อนข้างดีในปี 2560 และจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2561 การท่องเที่ยวก็ยังคงเป็นพระเอกต่อไปอีกหลายปี sector นี้ยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ส่วนอีกปัจจัยที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ รัฐบาลยังคงมุ่งเน้นการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ โดยเฉพาะการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของภาครัฐ ซึ่งรัฐบาลมุ่งหวังให้เป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจซึ่งได้ทำต่อเนื่องมาโดยตลอดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

วิทยุพลังงาน ++เมื่อมองเห็นโอกาส ธุรกิจของซิโน-ไทย จะเดินแผนธุรกิจปีหน้าอย่างไร ?
ผมให้ความเห็นว่าธุรกิจของ STEC ยังคงมุ่งเน้นในทิศทาง ที่เหมือนเดิม โดยเรายังคงมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจก่อสร้างที่เป็นธุรกิจหลักของเรา โดยจะเน้นการเข้าร่วมประมูลงานโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐทุกโครงการ โดยเฉพาะงานรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน งานรถไฟทางคู่ งานสาธารณูปโภคอื่นๆ และเน้นในโครงการลงทุนของภาคเอกชน เช่น โรงไฟฟ้า ขนาดใหญ่ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เป็นต้น

ในส่วนการลงทุนในเครื่องจักร อุปกรณ์ก่อสร้างต่างๆ ก็ดำเนินไปตามปกติของธุรกิจเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจตาม Backlog ที่มีอยู่ในมือที่ต้องทำการส่งมอบให้แก่ลูกค้า ปี 2561 คงจะมีการลงทุนซื้อเครื่อง จักรใหม่มากพอสมควร
นอกจากนี้ก็อาจจะมีการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ เราเปิดโอกาสเสมอสำหรับการลงทุนใหม่ๆ เช่นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ทั้งนี้ต้องดูถึงโอกาสและความเสี่ยง ตลอดจนผลประโยชน์ตอบแทนต่างๆ ที่เราจะได้รับกลับมา เช่น เงินปันผล เป็นต้น

++ในขณะที่มีโอกาสคิดว่าปี 2561 จะมีอะไรที่เป็นความเสี่ยงบ้าง ?
ปัจจัยความเสี่ยงในปี 2561 สำหรับธุรกิจของเราก็ไม่น่าจะมีอะไรที่รุนแรงมากนัก คงเป็นเรื่องเดิมๆ เช่น ปัจจัยค่าแรงงานที่อาจจะเพิ่มขึ้นในอนาคต ปัญหาการขาดแคลนแรงงานไม่น่าจะมีอะไรที่ซีเรียสมากนัก

ในส่วนเรื่องของราคาวัสดุ ที่เป็นต้นทุนหลักของงานก่อสร้างก็เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญซึ่งเราต้องบริหารจัดการ

บาร์ไลน์ฐาน ++ควรจะรับมือบริหารความเสี่ยง หรือมีข้อเสนอแนะต่อภาพรวมในการทำธุรกิจปี 2561 อย่างไร ?
การบริหารความเสี่ยง ในเรื่องการขาดแคลนแรงงาน น่าจะเป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่าเรามีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานมาได้หลายปีแล้ว มาช่วยในการพัฒนาและฝึกฝีมือแรงงานของเราทั้งแรงงานไทยและแรงงานต่างชาติ เพื่อรองรับกับงานของเรา ทำให้เราไม่ค่อยประสบปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงาน

เช่นเดียวกับการบริหารจัดการเรื่องความเสี่ยงต้นทุนค่าวัสดุ เราก็ยังคงใช้สภาพคล่องทางด้านการเงินของเราควบคุมราคาวัสดุให้ดี รวมทั้งงานใหม่ๆที่จะเข้ามา เราก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องตัดราคาเพื่อแข่งขันให้ได้งานอย่างรุนแรงนัก เพราะเรามีงานในมือค่อนข้างเยอะ

สำหรับข้อเสนอแนะในภาพรวมของธุรกิจก่อสร้างนั้นก็อยากให้ทางรัฐบาลผลักดันโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ต่างๆ ที่อยู่ในแผนงาน ให้ออกมาประมูลและเซ็นสัญญาให้ทันตามกำหนด และพยายามเร่งรัดการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามแผน จะทำให้เกิดการสร้างงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 31

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,316 วันที่ 23 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1