‘3แนวร่วม’ดันร่างกฎหมายคุ้มครองประชาชนต้านทุจริต

25 พ.ย. 2560 | 10:08 น.
วาระปราบโกง เป็นหนึ่งในพันธกิจสำคัญของ “คณะรักษาความสงบแห่งชาติ” (คสช.) เมื่อครั้งเข้าควบคุมอำนาจการบริหารประเทศต่อเนื่องถึงรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557และส่งต่อพันธะนี้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ2560 ให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพป้องกันและขจัดการทุจริตคอร์รัปชัน ผูกพันถึงฝ่ายนิติบัญญัติแห่งชาติต้องตรากฎหมายใหม่

กฎหมายหนึ่งในหลายฉบับที่สำคัญยิ่ง นั่นก็คือ “ร่างพ.ร.บ.การส่งเสริมและคุ้มครองประชาชนในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ” ที่เสนอโดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) จนผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และได้ฤกษ์บรรจุเข้าสู่วาระการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันที่ 23 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 240 วัน หรือภายในวันที่ 1 ธันวาคม 2560 นี้ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้

[caption id="attachment_233906" align="aligncenter" width="503"] วิชา มหาคุณ วิชา มหาคุณ[/caption]

++แก้ปัญหาถูกกฎหมายปิดปาก
นายวิชา มหาคุณ อดีตคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อธิบายถึงความสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ว่า ในรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 63 กำหนดให้รัฐต้องส่งเสริม สนับสนุนและให้ความรู้แก่ประชาชนถึงอันตรายที่เกิดจากการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน และจัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบดังกล่าวอย่างเข้มงวดรวมทั้งกลไกในการส่งเสริมให้ประชาชนรวมตวั กันเพื่อมีสว่ นรว่ มในการรณรงค์ให้ความรู้ ต่อต้านหรือชี้เบาะแสโดยได้รับความคุ้มครองจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ

“ในประเทศที่ประสบความสำเร็จในการตรวจสอบการทุจริตอย่างเกาหลีใต้นั้น เขามีกฎหมายลักษณะนี้อยู่ ผู้ที่ร้องเรียนเรื่องการทุจริตจะต้องไม่ถูกฟ้องหมิ่นประมาท หรือไม่ถูกดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาท ไม่เกิดลักษณะที่เรียกว่า “SLAPP Law” หรือ“การตบหน้ากลับโดยใช้ผลของกฎหมายกระทำโดยชอบ การปฏิรูปเรื่องนี้จึงสำคัญ ถ้าเราทำได้จะเป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่เรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน จะเป็นเกราะป้องกัน แก้ปัญหาถูกกฎหมายปิดปากอย่างที่ผ่านมาโดยให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม”

[caption id="attachment_233908" align="aligncenter" width="503"] มานะ นิมิตรมงคล มานะ นิมิตรมงคล[/caption]

++พลังปชช.คุ้มค่า-ต้นทุนตํ่า
นายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)หรือ ACT องค์กรซึ่งมีบทบาทสำคัญร่วมตั้งไข่ในร่างกฎหมายฉบับนี้อยู่ไม่น้อยได้ให้ความเห็นสอดคล้องกันว่าแม้ว่าการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันดูจะเป็นเรื่องที่ยากเกินฝัน เพราะที่ผ่านมาเวลาประชาชนจะพูดหรือทำอะไรก็ยาก เพราะกลัว ไม่รู้ว่าควรจะทำอะไรหรือไปร้องเรียนกับใครได้ และบ่อยครั้งที่โดนข่มขู่ โดนฟ้องร้องดำเนินคดีเพื่อปิดปาก ถ้าจะหวังพึ่งรัฐบาลหรือพึ่งนักการเมืองก็ลำบากใจ ดังนั้น การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ในมาตรา 63 ให้รัฐต้องสนับสนุนและปกป้องการรวมตัวของประชาชนเพื่อต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันของชาติ จึงเป็นก้าวย่างที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้

“เราได้เห็นแล้วว่า การไปไล่จับคนโกง เมื่อโกงแล้วจึงไปตะครุบจับกุมมันไม่คุ้มเพราะความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว และที่ผ่านมาก็มีหน่วยงานต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง)และ กรมสอบสวนพิเศษ (ดีเอสไอ)เป็นต้น แต่จนถึงวันนี้สถานการณ์คอร์รัปชันเลวร้ายลง แปลว่า มาตรการเหล่านี้ไม่เป็นผล

สำหรับแนวทางใหม่ที่ให้พลังประชาชนเข้ามาตรวจจับพฤติกรรมมันเป็นวิธีการที่คุ้มค่า ต้นทุนน้อย ทั้งยังสามารถเห็นผลก่อนจะเกิดการสูญเสีย เพราะประชาชนเขารู้สึกเป็นเจ้าของภาษี เป็นเจ้าของประเทศ ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในการเป็นเจ้าของส่งผลทำให้เกิดความร่วมไม้ร่วมมือ ร่วมกันสอดส่องดูแล ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้จึงจำเป็น”

[caption id="attachment_233907" align="aligncenter" width="503"] เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ เดือนเด่น นิคมบริรักษ์[/caption]

++โมเดลล่างขึ้นบน
นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) นักวิชาการอีกรายที่สะท้อนความเห็นเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจเมื่อครั้งขึ้นเวทีเสวนา“รัฐบาลใหม่ คอร์รัปชันเก่า?” โดยตั้งข้อสังเกตว่า ภาครัฐมักจะเน้นปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันจากบนลงล่าง ด้วยการตั้งหน่วยงานรัฐขึ้นมา อาทิป.ป.ช., ป.ป.ท., ป.ป.ง. และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แต่ไม่เคยคิดค้นวิธีที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมปราบคอร์รัปชันทั้งกระบวนการทางนโยบาย กระบวนการออกกฎหมายและกระบวนการตัดสินใจทางนโยบาย

ปัญหาสำคัญที่ทำให้รัฐไม่สามารถปราบคอร์รัปชันได้ เนื่องจากไปเน้นตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาตรวจสอบ แต่มีข้อจำกัด ทั้งยังทำงานล่าช้าเหมือนอยู่ในระบบราชการ ไม่คล่องตัว ทำงานแบบต่างคนต่างทำประสานงานก็ไม่ดี ดัง นั้น จะไปคาดหวังให้รัฐบาลใหม่มาปราบคอร์รัปชันได้นั้นคงยาก แต่ควรจะหวังจากภาคประชาชนมากกว่า การต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิผลต้องทำแบบเครือข่ายทั้งภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการและสื่อ หากเชื่อมโยงกันได้และไปในทิศทางเดียวกันเคลื่อนไปด้วยกันก็จะมีแรงกดดันต่อรัฐบาลในการปราบปรามคอร์รัปชัน

“โมเดลการปราบปรามคอร์รัปชันในอนาคตจะต้องเปลี่ยนไปจากบนลงล่าง จากที่เน้นหน่วยงานของรัฐ เป็นจากล่างขึ้นบนที่เน้นภาคประชาชนมีส่วนร่วม”

++ภาระพิสูจน์ความผิด ตกเป็นของ‘ผู้ฟ้องคดี’
สำหรับร่างพ.ร.บ.การส่งเสริมและคุ้มครองประชาชนในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. ... ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการ สาระสำคัญเป็นการกำหนดแนวทาง วิธีการและกลไกส่งเสริมสนับสนุน และรับรองการรวมตัวกันของประชาชนเพื่อมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้ความรู้ ต่อต้าน หรือชี้เบาะแสการทุจริตและประพฤติมิชอบ

ดังเช่น กำหนดให้การดำเนินงานของเครือข่ายต่อต้านการทุจริตภาคประชาชนในการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ หรือเผยแพร่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบ หากกระทำโดยสุจริตและเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ หากมีการฟ้องร้องดำเนินคดี ให้ภาระในการพิสูจน์ว่าการ กระทำของผู้ถูกฟ้องคดีไม่ได้เป็นไปโดยสุจริตและเพื่อประโยชน์สาธารณะตกเป็นของผู้ฟ้องคดี

นอกจากนี้ยังมีมาตร การคุ้มครองและช่วยเหลือผู้แจ้งเบาะแสต่างๆ อาทิ ให้ปกปิดชื่อ-สกุล-ที่อยู่-ที่ทำงาน-ภาพ หรือข้อมูลที่สามารถระบุตัวผู้แจ้งเบาะแสได้ ห้ามโยกย้าย เปลี่ยนแปลงตำแหน่งงาน ลักษณะของงาน สถานที่ทำงาน รวมไปถึงจะสั่งพักงาน ข่มขู่ หรือเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม ทั้งนี้อาจโยกย้ายตำแหน่งภายในหน่วยงาน หรือส่งตัวไปประจำหน่วยงานอื่นชั่วคราวในตำแหน่งระดับเดียวกันได้ โดยได้รับค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์เท่าเดิม ดำเนินการให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองความปลอดภัยในระยะเวลาที่จำเป็น ย้ายที่อยู่หรือจัดหาที่ปลอดภัยและเหมาะสมให้

บาร์ไลน์ฐาน มีบทลงโทษผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายต่อผู้แจ้งเบาะแส ให้ต้อง ระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในบทบัญญัติมาตรานั้นอีกกึ่งหนึ่ง รวมถึงการกระทำผิดต่อครอบครัว และบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดของผู้แจ้งเบาะแสด้วย หากผู้นั้นมีอำนาจเหนือการปฏิบัติงานของผู้แจ้งเบาะแส กระทำ การในลักษณะต่างๆ อาทิ เปลี่ยนแปลงงาน ลักษณะงาน และข่มขู่ ฯลฯ ให้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กรณีผู้แจ้งเบาะแสเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หากเห็นว่า การกระทำของผู้บังคับบัญชาผู้แจ้งเบาะแส เป็นการกลั่นแกล้งหรือเพื่อขัดขวางการดำเนินการตรวจสอบการทุจริตและประพฤติมิชอบให้ร้องต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. หรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. แล้วแต่กรณีเพื่อให้ไต่สวน ข้อเท็จจริงและดำเนินการ ทางวินัยต่อการออกคำสั่งดังกล่าวได้

สำหรับผู้ที่เปิดเผยข้อมูลของเครือข่ายฯ หรือบุคคลที่มีส่วนร่วมในการรณรงค์ต่อต้านการทุจริตฯหากกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองและผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีผู้เปิดเผยข้อมูลเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องระวางโทษเป็น 2 เท่า และให้ถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

อย่างไรก็ดี กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่แจ้งข้อความ อันเป็นเท็จ โดยมีเจตนาเพื่อกลั่นแกล้งบุคคลให้ต้องได้รับโทษหรือได้รับความเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,316 วันที่ 23 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1