‘AI-หุ่นยนต์’แย่งงานมนุษย์ 4 กูรูแนะจับตาโลก IoT ยุคดิจิตอลไล่ล่า

25 พ.ย. 2560 | 08:43 น.
กูรู ฟันธง! “ปัญญาประดิษฐ์-IoT-หุ่นยนต์” เตรียมแย่งงานมนุษย์ยุคดิจิตอลไล่ล่า ชี้โลกเปลี่ยนเร็ว ธุรกิจใหม่แจ้งเกิดตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคได้มากกว่าธุรกิจดั้งเดิม

ปิดฉากไปแล้วสำหรับ มหกรรม IoT (Internet of Things 2017) งานแสดงเทคโนโลยีด้านอินเตอร์เน็ตออฟธิงส์ที่ใหญ่สุด ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ร่วมกับหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ และสื่อในเครือสปริงนิวส์ กรุ๊ป จัดขึ้นมาเพื่อกระตุ้นให้ภาคธุรกิจ ประชาชนทั่วไป เกิดการรับรู้ถึงเทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามามีผลกระทบกับธุรกิจ และชีวิตประจำวัน

TP10-3316-1B โดยนายอรพงศ์ เทียนเงิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารดิจิทัล เวนเจอร์ ในกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวในเวทีเสวนา ภายใต้หัวข้อ “IoT พลิกโฉมธุรกิจ” ว่า โลกเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นทำให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ เช่น อูเบอร์ สามารถให้บริการรถโดย สารสาธารณะ โดยไม่มีรถเป็นของตัวเอง

“โลกดิจิตอล ทำให้เกิดธุรกิจใหม่ ขณะที่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ทำให้เกิดธุรกิจโมเดล ใหม่ๆ ใครคิดได้เร็ว ก็สามารถเริ่มต้นและสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจใหม่ได้อย่างรวดเร็ว”

นายอรพงศ์ กล่าวต่อไปว่า การเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทำให้คนหลายคนจะตกงาน ไม่ใช้เฉพาะคนกลาง งานที่มีรูปแบบงานโครงสร้างจะหายไป ด้วยความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI อาชีพ แพทย์ อาจถูกแย่งงานด้วยคอมพิวเตอร์ โดยคอมพิวเตอร์มีความสามารถมากขึ้นใกล้เคียงความสามารถมนุษย์

บาร์ไลน์ฐาน ด้าน น.พ.ภาณุทัต เตชะเสน กรรมการผู้จัดการ บริษัทเมกเกอร์ เอเชีย จำกัด กล่าวว่า ดิจิตอลอยู่ในช่วงเริ่มต้น ยุคต่อไป คือการประยุกต์เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวัน ในเรื่องสุขภาพ เดิมเวลาคนเจ็บไปหาแพทย์ แพทย์เจอผู้ป่วยในระยะเวลานาน แต่วันนี้มีเครื่องวัดสัญญาณชีพติดตัวผู้ป่วย สิ่งที่เกิดขึ้นดาต้าที่เพิ่มขึ้น ทำให้กระบวนการรักษาใหม่เกิดขึ้น ทั้งนี้จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นในอนาคตผู้ป่วยไม่ไปโรงพยาบาลเพื่อรักษา แต่จะรักษาสุขภาพตัวเองมากขึ้น โดยเทคโนโลยีทำให้บางอาชีพหายไป แต่ก็จะเกิดอาชีพใหม่ๆ อาทิ เทรนเนอร์สุขภาพ และท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพขึ้นมา

ขณะที่ดร.ทรงพล องค์วัฒนกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรม ชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ทุกวันนี้ เทคโนโลยี ก้าวหน้า โดยใช้คนน้อยแต่ผลิตได้เพิ่มขึ้น เช่น การนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ เข้ามาแทนมนุษย์ ขณะที่คนที่ทุนไม่น้อยเข้ามาแต่มีองค์ความรู้ เข้ามา สตาร์ตอัพในโลกดิจิตอลได้

แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์ “เทคโนโลยีที่มีผลกระทบคือ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI คำนี้ไม่ใช่คำใหม่ แต่ทุกวันนี้เราอยู่ในยุค AI มีบทบาท เดิมเราเขียนโปรแกรมตอบโจทย์ความต้องการ แต่ปัจจุบันเทคโนโลยี AI มีคุณสมบัติ เรียนรู้ด้วยตัวเอง หรือ แมชีนเลิร์นนิ่ง เรียนรู้จากข้อมูล หรือ ดาต้าที่เกิดขึ้น โดยมี IoT เป็นตัวเก็บข้อมูล อย่างไรก็ตามสิ่งที่กังวล คือ IoT ที่แทรกซึมในชีวิตประจำวันของคน และ ไอโอทีส่งข้อมูลออกไปตลอดเวลา คือ ระบบความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว”

ส่วนนายจาริตร์ สิทธุ ผู้จัดการฝ่ายงานวิจัยตลาดไคลเอนต์ดีไวซ์ และหัวหน้านักวิเคราะห์ บริษัทไอดีซี ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า องค์กรเกิดใหม่ทำได้ดี คือองค์กรที่มีความเข้าใจความต้องการลูกค้า อูเบอร์เข้าใจลูกค้า ว่าลูกค้าต้องการอะไร ขณะที่องค์ กรธุรกิจใหญ่ๆ หลายองค์กรไม่ความเข้าใจความต้องการลูกค้า

“องค์กรในยุคดิจิตอล ต้องมองการนำข้อมูล หรือ ดาต้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยหากมองในเชิงเศรษฐศาสตร์ ดาต้าเป็น ปัจจัยการผลิต แต่สำหรับ ปัจจัยการผลิตอื่น อาจใช้แล้วหมดไป แต่ ดาต้าไม่มีวันหมดอีกใช้แล้วยิ่งเพิ่มขึ้น ซึ่งธุรกิจจะต้องนำข้อมูลเหล่า นี้มาสร้างให้เกิดประโยชน์”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,316 วันที่ 23 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1