แพทย์รามาฯ ชี้สาวออฟฟิตเสี่ยงเป็นโรคช้ำรั่วโรคใกล้ตัวกวนใจที่รักษาได้

21 พ.ย. 2560 | 06:01 น.
แพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดีเตือน...สาวออฟฟิตเสี่ยงเป็นโรคภาวะโรคปัสสาวะบีบตัวไวเกินหรือโรคช้ำรั่ว Overactive Bladder (OAB) พบมากขึ้นถึงกว่า 21.3% ด้วยไลฟ์สไตล์การทำงานที่เปลี่ยนไปมีความเร่งด่วน การจราจรที่ติดขัด ทำให้ไม่มีเวลาที่จะเข้าห้องน้ำ หรือต้องอั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน มีอาการปัสสาวะเล็ด หรือการที่มีปัสสาวะรั่วไหลโดยไม่ได้ตั้งใจ ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงและเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนได้

ศ.นพ.วชิร คชการ หัวหน้าสาขาวิชาศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า ปัจจุบันพบภาวะโรคปัสสาวะบีบตัวไวเกิน Overactive Bladder (OAB) หรือที่เรียกว่าโรคช้ำรั่ว เป็นอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบบปัจจุบันทันด่วนเพิ่มมากขึ้นถึง 21.3% โดยส่วนใหญ่จะพบโรคนี้กับผู้สูงอายุที่มากขึ้น มากกว่าร้อยละ 30 ของผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และสตรีเคยมีประวัติคลอดบุตรหลายคน แต่ปัจจุบันพบในผู้หญิงวัยทำงานอายุ 30- 40 ปี เพิ่มมากขึ้น ด้วยไลฟ์สไตล์ และยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เพราะมีการแข่งขันสูง มีการทำงานต่อเนื่องกันหลายชั่วโมงหลาย ไหนจะออกนอกสถานที่ ไหนจะต้องเผชิญกับภาวะรถติด ใช้เวลาบนท้องถนนนานเป็นพิเศษ ตามวิถีของคนเมือง บ้างไม่มีเวลาที่จะเข้าห้องน้ำ หรือต้องอั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน อาจประสบปัญหาเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินปัสสาวะ มีอาการปัสสาวะเล็ด หรือการที่มีปัสสาวะรั่วไหลโดยไม่ได้ตั้งใจ

rama

สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะที่มีส่วนในการควบคุมการปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ระบบหูรูด กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกราน ระบบประสาทที่ควบคุมการกลั้นและขับปัสสาวะ รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงบางอย่าง เช่น การดื่มน้ำน้อย กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานทำให้กระเพาะปัสสาวะเกิดการบีบตัวผิดปกติ จนกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ นอกจากนั้นคนที่เคยผ่าตัดมดลูกมาก่อนอาจมีการเสื่อมของหูรูด และการหย่อนยานของผนังช่องคลอดรวมทั้งบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะ ทำให้บริเวณคอกระเพาะปัสสาวะปิดไม่สนิทจึงเกิดอาการปัสสาวะรั่วออกมา และในวัยสูงอายุ และประจำเดือนหมดแล้วฮอร์โมนเพศหญิงจะลดลง ทำให้เยื่อบุในท่อปัสสาวะขาดความยืดหยุ่นระบบการปิดกั้นของท่อปัสสาวะลดลง ทำให้ปัสสาวะรั่วซึมได้เช่นกัน และรวมถึง การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

 

อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ พบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ปัญหาของโรคนี้คือ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าตนเองเป็น เพราะมักจะเข้าใจผิดไปเองว่า อาการปัสสาวะบ่อยนั้นเกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น จึงไม่ไปตรวจที่โรงพยาบาล ทำให้อาการเริ่มหนักขึ้นเรื่อยๆ อาจทำให้เป็นปัญหาในการเข้าสังคม หรือเป็นปัญหาทางสุขภาพและอนามัย แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นช้ำรั่วหรือไม่

cumr1

วิธีสังเกตอาการที่เสี่ยงต่อภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
1.อาการปวดราด คือปวดปัสสาวะรุนแรงจนเล็ดราดออกมา ไม่สามารถรอไปเข้าห้องน้ำได้ทัน ลักษณะสำคัญของโรคนี้คือ จะรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยมากกว่า 8 ครั้งขึ้นไปต่อวัน

 

2. ปัสสาวะเล็ดจากการไอ จาม หรือหัวเราะ อาการลักษณะนี้มักพบในผู้หญิงที่เริ่มมีอายุมากขึ้น น้ำหนักตัวมาก เคยมีประวัติคลอดบุตรหลายคนไม่ว่าจะเป็นด้วยวิธีธรรมชาติ หรือผ่าตัด เคยมีการผ่าตัดบริเวณรอบท่อปัสสาวะ หรือเคยรับการฉายรังสีรักษาบริเวณนั้นมาก่อน

3. ปัสสาวะราด คือเมื่อปวด ปัสสาวะก็ไหลออกมาเลย โดยไม่สามารถกลั้นได้

โรคช้ำรั่ว ไม่ใช่โรคร้ายที่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต แต่จะทำให้ผู้ป่วยเกิดความรำคาญ มีผลต่อสุขภาพจิต และการดำเนินชีวิตประจำวัน ส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียความมั่นใจที่จะเข้าสังคม ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่แย่ลงได้

[caption id="attachment_233620" align="aligncenter" width="503"] 43846911 - portrait of a serious businesswoman using laptop in office 43846911 - portrait of a serious businesswoman using laptop in office[/caption]

ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวหรือน่าอับอาย เพราะโรคนี้สามารถรักษาให้หาย หรือทำให้ดีขึ้น เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้ซึ่งการรักษามีหลายวิธี ทั้งการกินยารักษา การใช้ฮอร์โมนทดแทน การฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยการขมิบช่องคลอด หรือแม้แต่การผ่าตัด อย่างไรก็ตาม นอกจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมด้วย เช่น การลดน้ำหนัก อย่าให้ท้องผูก งดสูบบุหรี่ งดดื่มกาแฟ โซดา น้ำอัดลม เนื่องจากมีสารกระตุ้นให้เกิดการขับถ่ายบ่อย นอกจากนี้การสวมใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ก็จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

ศ.นพ.วชิร กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันปัญหาที่ทำให้ผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นส่วนหนึ่งคือ ผู้ป่วยมีอาการแล้วปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคนี้ ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี คุณภาพชีวิต ทั้งความเป็นอยู่ การทำงานแย่ลง สูญเสียความมั่นใจ และสิ้นเปลืองกับการซื้อผ้าอ้อม

e-book