เดลล์วางยุทธศาสตร์IoT ตั้งแผนกใหม่-ทุ่มพันล.วิจัย

23 พ.ย. 2560 | 05:57 น.
เดลล์ เทคโนโลยี ประกาศโมเดลใหม่การประมวลผลรุกตลาด IoT พร้อมตั้งแผนกใหม่ควบคุมงานและการลงทุนด้าน IoT ทั้งหมด เผยทุ่ม 1 พันล้านดอลลาร์ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โซลูชัน ห้องปฏิบัติการระบบนิเวศและโปรแกรมคู่ค้าใหม่สำหรับ IoT พร้อมทั้งประกาศยุทธศาสตร์ Distributed Core

นายอโณทัย เวทยากร กรรมการผู้จัดการ เดลล์ อีเอ็มซี (ประเทศไทย) และรองประธานบริหาร เดลล์ อีเอ็มซี ภูมิภาคอินโดจีน เปิดเผยว่าวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ด้านอินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (IoT) ที่มุ่งไปยังโมเดลใหม่ “Distributed Core” ซึ่งเป็นการประมวลผลข้อมูลแบบเรียลไทม์และกระจายศูนย์ ที่นำเทคโนโลยี IoT และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) มารวมกันในระบบนิเวศที่ต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ตั้งแต่ส่วนที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ปลายทาง (Edge) จนถึงระบบงานหลัก (Core) ไป ยังคลาวด์ (Could) เพื่อให้เป็น IoT ที่มีความฉลาด มีการเรียนรู้ด้วยตัวเอง หรือแมชีนเลิร์นนิ่ง และสามารถตัด สินใจทำงานแบบอัตโนมัติได้

[caption id="attachment_121962" align="aligncenter" width="503"] อโณทัย เวทยากร อโณทัย เวทยากร[/caption]

“การทำงานของ IoT จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก “Edge to Core to Cloud” โดย Edge คือ ดีไวซ์ หรืออุปกรณ์ปลายทาง ที่มี AI ในการจัดการข้อมูลเบื้องต้น ส่วน Core คือระบบหลัก หรือ ดาต้าเซ็นเตอร์ ที่มีสถาปัตยกรรมแบบ Distributed Core กระจายหรือส่งข้อมูลไปยังคลาวด์ ที่ทำเป็นศูนย์รวมข้อมูล เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ และสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้”

นายอโณทัย กล่าวต่อไปอีกว่าเดลล์ เทคโนโลยี ยังได้ประกาศจัดตั้งแผนก IoT ใหม่ พร้อมตั้งนายเรย์ โอ’ฟาร์เรล ซีทีโอ ของวีเอ็ม แวร์ ขึ้นมาดูแลแผนกดังกล่าว โดยแผนกใหม่จะทำหน้าที่ควบคุมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้าน IoT ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ในตระกูลเดลล์ เทคโนโลยี ฝ่ายโซลูชัน IoT จะรวมเทค โนโลยีที่พัฒนาภายในองค์กรเข้ากับส่วนที่นำเสนอจากระบบนิเวศ รวมถึงดูแลห้องปฏิบัติการ และโปรแกรมคู่ค้าช่วยให้ลูกค้าเร่งติดตั้งโครงการ IoT ได้อย่างรวดเร็ว พร้อมกันนี้ยังประกาศลงทุน 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในงานวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการ IoT ภายใน 3 ปีข้างหน้า

บาร์ไลน์ฐาน “เทคโนโลยีเกิดใหม่และปริมาณข้อมูลมหาศาลคือตัวขับเคลื่อนสำคัญในการเข้าสู่ยุค Internet of Things องค์กรธุรกิจต้องบริหารจัดการข้อมูล เพื่อให้อุปกรณ์และการบริการนั้นทำงานได้อย่างเต็มที่ และภายในปี 2018 อุตสาหกรรม 33% จะถูก disrupt โดยบริษัทคู่แข่งที่ปรับตัวเป็นบริษัทดิจิตอลเต็มรูปแบบ และภายในปี 2020 จะมีอุปกรณ์ 20.4 พันล้านชิ้นที่เชื่อมต่อกัน (connected things) และภายในปี 2025 จะเพิ่มเป็น 74.4 พันล้านชิ้น

สำหรับในไทยนั้นขณะนี้องค์กรเริ่มตื่นตัวเทคโนโลยี IoT อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าจะนำเทคโนโลยี IoT มาประยุกต์ใช้อย่างไร โดยส่วนใหญ่ยังลงทุนโครงการระยะแรก ซึ่งเป็นการติดตั้งเซ็นเซอร์ ในการจัดเก็บข้อมูล คาดว่าภายใน 2 ปีข้างหน้าจะ ก้าวสู่โครงการลงทุนระยะที่ 2 ที่มีการนำ AI มาใช้วิเคราะห์ข้อมูล โดยกลุ่มที่มีการลงทุนเทคโนโลยี IoT ในไทยที่สำคัญ คือ โรงงานอุตสาหกรรม, อาคารอัจฉริยะ และ ฟาร์มอัจฉริยะ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,315 วันที่ 19 - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว