กฟผ.เปิดประมูลซื้อLNG ‘กาตาร์-ญี่ปุ่น’เสนอตัว ปตท.โดดร่วมแข่ง

21 พ.ย. 2560 | 06:20 น.
กฟผ.เตรียมเปิดประมูลรับซื้อแอลเอ็นจีล็อตแรก 1.5 ล้านตัน ทดสอบระบบ TPA ล่าสุดกาตาร์และญี่ปุ่นเสนอตัวป้อนซัพพลาย 6.5 ล้านตันต่อปี รองรับโครงการ FSRU อ่าวไทยตอนบนขนาด 5 ล้านตัน “กรศิษฏ์” เผย ปตท.มีสิทธิ์ร่วมแข่งขัน หวังจับมือลงทุนโครงการใหม่รองรับฮับก๊าซในอนาคต

นายกรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ขณะนี้ กฟผ. อยู่ระหว่างพิจารณาแผนนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) ล่าสุดมีประเทศผู้ผลิตมาเสนอขายแอลเอ็นจีให้กับ กฟผ. หลายราย อาทิ กาตาร์ และญี่ปุ่น โดยจะเจรจาซื้อแอลเอ็นจีที่จะเข้ามาป้อนคลังแอลเอ็นจีเฟส 1 ส่วนขยายที่มาบตาพุด ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 1.5 ล้านตันต่อปี และคลังแอลเอ็นจีลอยนํ้า(FSRU) ของ กฟผ. ขนาด 5 ล้านตันต่อปี ซึ่ง กฟผ. เตรียมเปิดประมูลเร็วๆ นี้

สำหรับการเปิดประมูลรับซื้อแอลเอ็นจี จะเลือกผู้ที่เสนอราคาตํ่าสุด ซึ่งทาง ปตท.มีสิทธิ์เข้าร่วมประมูล เพราะไม่เกี่ยว

[caption id="attachment_176318" align="aligncenter" width="503"] DSC_9563_1_re กรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)[/caption]

ข้องกับข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปิดให้ใช้หรือเชื่อมต่อระบบส่งก๊าซธรรมชาติ และสถานีแอลเอ็นจีแก่บุคคลที่ 3 (Third Party Access Code: TPA Code) เนื่องจากซื้อแต่เนื้อก๊าซเท่านั้น รวมทั้งต้องดูกติกาด้วยว่าภาครัฐจะให้ กฟผ. นำเข้าแอลเอ็นจีจำนวน 1.5 ล้านตันต่อปี ระยะยาวหรือไม่ ซึ่งล็อตแรกจะนำเข้าในปี 2561 เบื้องต้นอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะใช้ในโรงไฟฟ้าใด อาจเป็นโรงไฟฟ้าที่ระยองหรือโรงไฟฟ้าที่บางปะกง

ขณะที่โครงการ FSRU ในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน ขนาด 5 ล้านตันต่อปี เพื่อนำเข้าแอลเอ็นจีมาใช้ในโรงไฟฟ้าของ กฟผ. อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะซื้อหรือเช่าเรือ ซึ่งก่อนหน้านี้ กฟผ.เคยคิดจะซื้อ แต่เมื่อศึกษารายละเอียดแล้วส่วนใหญ่จะใช้วิธีเช่า ขณะที่แอลเอ็นจีก็ต้องใช้วิธีประมูลเช่นกัน โดยตามแผนจะนำเข้าในปี 2565-2566

TP09-3315-1A “กฟผ.นำเข้าแอลเอ็นจีเพื่อใช้ในโรงไฟฟ้าของ กฟผ. เท่านั้น ไม่มีสิทธิ์ขายใคร การนำเข้าเพื่อให้เกิดการแข่งขัน เป็นบุคคลที่ 3 ตามนโยบายเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ ซึ่งใน 2 โครงการแรก อาจไม่สามารถจับมือกับทาง ปตท.ได้ เพราะต้องเกิดการแข่งขันตาม TPA แต่ในอนาคตโครงการที่ 4-5 อาจจับมือกันได้ เพราะ กฟผ.มีหลายพื้นที่ที่สามารถทำฮับก๊าซได้ในอนาคต”

นายกรศิษฏ์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ปริมาณการนำเข้าแอลเอ็นจี ยังต้องรอแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าระยะยาวของประเทศ(พีดีพี) ฉบับปรับปรุงออกมาก่อน เพื่อนำมาประมาณการณ์นำเข้าแอลเอ็นจี เพราะหากแผนยังไม่ชัดเจนการทำสัญญาจัดหาก๊าซจะลำบาก

นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท.มีสิทธิ์ที่จะเข้าร่วมประมูลแอลเอ็นจีที่ กฟผ. เตรียมเปิดประมูล หลังจากก่อนหน้านี้ กฟผ.ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ให้จัดหาแอลเอ็นจี 1.5 ล้านตันต่อปี ในส่วนของโครงการก่อสร้างคลังแอลเอ็นจีของ ปตท. ระยะที่ 1 ส่วนขยายจาก 10 ล้านตันเป็น 11.5 ล้านตัน

ส่วนการจัดหาก๊าซแอลเอ็นจีสำหรับคลังแอลเอ็นจีระยะที่ 2 ขนาด 7.5 ล้านตันต่อปี ที่อยู่ระหว่างการเปิดประมูลจัดหาผู้รับเหมาโครงการ คาดว่าจะได้ผู้รับเหมาภายในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า และจะก่อสร้างเสร็จภายในปี 2565 พบว่ามีแนวโน้มรัฐจะเปิดให้มีการแข่งขันนำเข้าแอลเอ็นจีทั้งหมด โดยที่ ปตท.ไม่ได้รับสิทธิพิเศษในการจัดหานั้น ทาง ปตท.ยังไม่ทราบรายละเอียดรูปแบบการแข่งขันแต่อย่างใด ซึ่งการนำเข้าแอลเอ็นจีในอนาคตจะต้องคำนึงเรื่องความมั่นคงและราคา โดยจะต้องมีสัดส่วนสัญญารับซื้อก๊าซแอลเอ็นจีระยะยาว คิดเป็น 50-70% ของความต้องการใช้ก๊าซ เพื่อสร้างความมั่นคง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,315 วันที่ 19 - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว