ก้าวต่อไปสู่การปฏิรูปเมือง บทบาท UrbanTech ในอาเซียนและประเทศกำลังพัฒนา

20 พ.ย. 2560 | 23:05 น.
TP07-3315-1A Urbanization หรือการขยายตัวของสังคมเมือง เป็นหนึ่งใน“เมกะเทรนด์” สำคัญของโลกที่เกิดจากการรวมตัวของผู้คนจำนวนมากจนกลายเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่หรือเกิดจากการกระจายความเจริญของเมือง จากเมืองศูนย์กลางออกไปยังเมืองอื่นๆ ซึ่งได้เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ตลอดจนรูปแบบและการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างสิ้นเชิง

จากข้อมูลโดยสหประชาชาติระบุว่า โลกกำลังเข้าสู่สังคมเมืองอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มจำนวนของประชากรโลก โดยคาดการณ์ว่าในอีก 30 ปีข้างหน้า จะมีผู้อยู่อาศัยในชุมชนเมืองอีกราว 3 พันล้านคน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ในอดีตใช้เวลาถึง 10,000 ปี

“การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมเมืองที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกขณะนี้ ถือเป็นหนึ่งในความท้าทายสำคัญในประวัติศาสตร์แห่งมวลมนุษยชาติ”จากการจัดอันดับสังคมเมืองของประเทศต่างๆ ในปี 2015 ของ CIA World Factbook ในปี 2015 ระบุว่าระดับ Urbanization ของประเทศในอาเซียนยังอยู่ในระดับตํ่า โดยอยู่ในระหว่างอันดับที่ 114-183 จากทั้งหมด199 ประเทศทั่วโลก อินโดนีเซียมีประชากรอาศัยอยู่ในเมืองที่ 53.7%ตามด้วยประเทศไทย 50.4% ฟิลปิ ปินส ์44.4% ลาว 38.6% เวียดนาม 33.6%และกัมพูชา 20.7% อย่างไรก็ตาม ขณะนี้พบว่าการพัฒนาของสังคมเมืองในประเทศต่างๆ ล้วนเป็นไปอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้านของไทย ไม่ว่าจะเป็นลาว กัมพูชา เมียนมา

TP07-3315-2A ++การขยายตัวของสังคมเมือง+เทคโนโลยี = โอกาส
และเมื่อการถือกำเนิดขึ้นของUrbanization มาบรรจบกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อนันดามองว่านั่นคือ“โอกาส” ที่ทำให้เรามีเครื่องมือในการจัดการกับความท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์

อนันดา ได้นิยามตัวเองใหม่เป็น UrbanTech Solutions Companyแทนที่การเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบเดิมๆ

UrbanTech คือ การแก้ปัญหาของคนเมืองด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งนวัตกรรมนี้ไม่ใช่เพียงนวัตกรรมทางการก่อสร้าง นวัตกรรมทางการเงิน นวัตกรรมการตลาด แต่คือนวัตกรรมที่สนองตอบไลฟ์สไตล์ของชีวิต

การตีความนวัตกรรมในรูปแบบเดิมๆ ที่จำกัดด้วยมุมมองเดิมๆ อาจทำให้ไม่ทันกับโลกแห่ง “ความพลิกผัน” หรือ Disruption เนื่องด้วยการเกิดขึ้นของเทคโนโลยี และบริษัทที่ก้าวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ย่อมจะสูญหายไปตามกาลเวลา โดยข้อมูลจาก Standford Business School ระบุว่า ช่วงอายุบริษัทชั้นนำของสหรัฐฯแนวโน้มลดลงจากการคาดการณ์ในอดีตที่ 90 ปี เหลือเพียง 15 ปี สอดคล้องกับอัตราการอยู่รอดของ 500บริษัทชั้นนำของสหรัฐฯ (Fortune 500)โดยระหว่างปี 1957-1997 เหลืออยู่รอดเพียง 37%

นอกจากนี้ แนวคิดใหม่ๆ ทางเศรษฐศาสตร์อย่าง “Sharing economy หรือเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน” ที่เกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรร่วม ทำให้เกิดวิถีทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อตอบสนองวิถีชีวิตประจำวันของคน ซึ่งแนวคิดดังกล่าวได้ถูกนำมาปรับใช้และก่อให้เกิดUrbanTech ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของอนันดาในการเปลี่ยนผ่านทางธุรกิจ

++UrbanTech เปลี่ยนโมเดลธุรกิจ
เช่นเดียวกับโมเดลทางธุรกิจที่ต้องเปลี่ยนแปลง ต่อไปผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องจ่ายในราคาที่แพงขึ้นเพื่อความสะดวกสบายในชีวิต ไม่ต้องซื้อคอนโดฯติดรถไฟฟ้าเพื่อหลีกเลี่ยงรถติดระหว่างเดินทาง แต่สามารถซื้อบ้านแถบชานเมือง แล้วเรียกรถไร้คนขับให้มารับเมื่อลงลิฟต์ถึงชั้นล่างพอดี ซึ่งคำว่า Disruption นี้เอง ได้ทำให้ต้นทุนในการดำรงชีวิตถูกลงซึ่งในสหรัฐฯ มีการคำนวณต้นทุนในการเดินทางต่อไมล์ พบว่าแท็กซี่มีต้นทุนแพงที่สุดที่ 2.5$ ต่อไมล์ ตามด้วย อูเบอร์ 1.8$ และ 0.3$ สำหรับรถไร้คนขับ นั่นหมายความว่า แทนที่คนเมืองจะต้องซื้อคอนโดฯในเมืองที่มีราคาแพง ก็เปลี่ยนเป็นซื้อบ้านชานเมืองที่มีขนาดใหญ่กว่า แล้วใช้บริการรถไร้คนขับซึ่งมีต้นทุนในการเดินทางที่ถูกกว่ามาก ซึ่งทำให้อนันดาต้องเปลี่ยนมุมมองในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในอนาคต

“UrbanTech is the greatest opportunity in history to benefit the greatest number of humanbeings” ทั้งนี้ อนันดา ตั้งเป้าหมายการเติบโตแบบบริษัทเทคโนโลยี ซึ่งมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยตั้งเป้าหมายว่าในอีก 2 ปีข้างหน้า อนันดาจะโตขึ้น 10 เท่า นับตั้งแต่การเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯเป็นครั้งแรกเมื่อปี2012 จากยอดโอนราว 5,000 ยูนิตเป็น58,000 ยูนิต ซึ่งจากการคาดการณ์ปี 2017 นี้ ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของอนันดา โดยตั้งเป้าเติบโตที่ 69% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้ถึงเป้าหมายนั้น คือนวัตกรรมและเทคโนโลยี

++ชูโมเดล ‘สตาร์ตอัพ’เพราะยุคนี้ต้อง ‘เร็ว’
แนวคิดของการทำเองทุกอย่างได้จัดว่าล้าสมัยไปแล้ว บริษัทยาถือเป็นอุตสาหกรรมแรกที่ใช้โมเดลoutsource ในการ “ลีนองค์กร” เพื่อความคล่องตัวในการทำงานและเสริมศักยภาพของผู้เชี่ยวชาญด้วยเงินทุนและบริษัทเป็นเพียง “Platform” เพื่อสนับสนุนทางด้านการตลาด เงินทุนและการขาย เช่นเดียวกับอนันดาที่เปลี่ยนความคิดในการบริหารธุรกิจ จาก“พัฒนา” สู่การ “ค้นหา” นวัตกรรมจาก “การบริหารทรัพยากร” (Asset Management) เพื่อเป็นเจ้าของแล็บที่ดีที่สุดเป็น “การบริหารการเข้าถึง” (Access management) เพื่อค้นหาโซลูชันที่ดีที่สุดเพื่อตอบสนองลูกค้าก่อนคู่แข่ง

“ในโลกธุรกิจสมัยใหม่ เราเชื่อว่าสิ่งสำคัญไม่ได้มาจากการที่เราเป็นเจ้าของสิ่งใด แต่เราเร็วได้เท่าไร”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,315 วันที่ 19 - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว