ทางออกนอกตำรา : ธุรกิจ ROBOT มาแน่

16 พ.ย. 2560 | 12:50 น.
 

1510833537299 860_main_robot_ethics ความพยายามของรัฐบาลนายกฯ ลุงตู่ ในการสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ให้เป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ถึงขนาดที่ลงทุนประกาศเพิ่มสิทธิพิเศษให้กับเอกชน ในการดึงผู้เชี่ยวชาญเข้ามาทำงานโดยให้วีซ่าถึง 5 ปี จากเดิม 1 ปี

นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มสิทธิประโยชน์เป็นกรณีพิเศษอีกหลายอย่างเพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุน อาทิ เช่น กรณีอุตสาหกรรมการผลิตที่สั่งซื้อหุ่นยนต์หรือระบบอัตโนมัติสามารถหักค่าใช้จ่ายหรือหักค่าเสื่อมอัตราเร่ง หักค่าเสื่อมได้เพิ่มขึ้น 3 เท่า เมื่อซื้อระบบอัตโนมัติ/หุ่นยนต์ แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องใช้ชิ้นส่วนในประเทศ 40% นอกจากนี้ยังสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่าสำหรับการอบรมบุคลากร

ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ให้ 3 ปี ในสัดส่วน 50% ของเงินลงทุน และยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรให้กับอุตสาหกรรมการผลิต

หากต้องการเงินกู้ รัฐบาลจะประสานงานกับสถาบันการเงินในการจัดสรรวงเงินสินเชื่อในการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นกรณีพิเศษ
Robotic hand using a laptop computer กรณีอุตสาหกรรมที่ผลิตหุ่นยนต์/ระบบอัตโนมัติ รัฐบาลจะยกเว้นภาษีเงินได้ให้ 8 ปี สามารถหักค่าลดหย่อนได้ 50% ในอีก 5 ปี หากจะมาลงทุนสร้างหุ่นยนต์ในเมืองไทยโดยเฉพาะในพื้นที่อีอีซี สามารถใช้กองทุน Fund of Fund เพื่อลงทุนในกองทุนร่วมทุนได้

รัฐบาลจะจัดทำโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่าเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ และปรับโครงสร้างอากรขาเข้าชิ้นส่วน/อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต

นอกจากนี้ จะยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับสินค้าหรือเทคโนโลยีที่จะนำมาทำ R&D หรือการทดสอบ และสามารถหักค่าใช้จ่ายได้อีก 2 เท่า สำหรับการอบรมบุคลากรในด้านนี้
20160617 01 ล่าสุด ผลจากการตรวจสอบบริษัทในพื้นที่ภาคตะวันออกพบว่า มีกว่า 400 บริษัท ที่วางแผนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไปสู่ระบบอัตโนมัติซึ่งจะมีการลดการใช้คนลง

อาทิเช่น บริษัท ฟอร์ดฯ บริษัท ฮิตาชิฯ บริษัท ซัมซุงอิเล็คโทรนิคส์ฯ บริษัท โตโยต้าฯ บริษัท คอนติเนนตัลฯ ซึ่งจะลงทุนผลิตยางรถยนต์ บริษัท เอนก้า แมนูแฟคเจอริ่งฯ

นอกจากนี้ ยังมีบริษัทที่นำร่องในการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนระบบหุ่นยนต์ เพื่อทดแทนระบบเครื่องจักรเดิมเพื่อปรับปรุงระบบการผลิตภายในโรงงานทั้งหมดแล้ว 5 บริษัท
rtr3elof ประกอบด้วย กลุ่มบริษัทในเครือปูนซิเมนต์ไทย (SCG) ที่ยื่นเรื่องขอบีโอไอเพื่อลงทุนโครงการนำร่องระบบการจัดเก็บสินค้าและเรียกคืนสินค้าอัตโนมัติ (AS/RS) ในกลุ่มธุรกิจ 9,000 แห่ง ระบบใหม่จะมีประสิทธิภาพในการเก็บรักษาการใช้ประโยชน์ให้มีความปลอดภัย ใช้เงินลงทุนทั้งหมด 179 ล้านบาท ลงทุนในประเทศ 135 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถทดแทนกำลังคนจาก 61 คน เหลือ 47 คน

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหารฯ (CPF) ที่ขอบีโอไอเพื่อดำเนินโครงการนำร่องในการผลิตหุ่นยนต์เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันธุรกิจเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ไก่แช่แข็งไทย ใช้เงินลงทุน 944 ล้านบาท มีการประเมินว่าหุ่นยนต์และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะสามารถทดแทนแรงงานคนได้ถึง 1,050 คน/วัน
coffee บริษัท ซีพี ออลล์ฯ (CPALL) เสนอขอบีโอไอเพื่อจัดทำโครงการนำร่องในเรื่องของการจัดเก็บสินค้า และการเรียกคืนสินค้าอัตโนมัติ (AS/RS) 15,000 แห่ง ระบบนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ทำให้มีการใช้แรงงานน้อยลง สามารถควบคุมสินค้าคงคลังได้แบบเรียลไทม์ ใช้เงินลงทุนราว 1,000 ล้านบาท

บริษัท ปตท.ฯ (PTT) จะจัดทำโครงการพัฒนาหุ่นยนต์บังคับใต้นํ้า (ROV) ใช้สำหรับท่อส่งก๊าซเพื่อการทำงานและการบำรุง ปตท.ระบุว่า หุ่นยนต์ ROV จะเข้ามาแทนที่การจ้างบริษัทเอาต์ซอร์ซที่ปัจจุบันมีการว่าจ้างบริษัทต่างประเทศ โดยหุ่นยนต์ใต้นํ้า 1 ตัวนั้น สามารถลดต้นทุนได้ถึง 70 ล้านบาท
2561B6D8-05DD-4AC5-AAC4-1FBE29DC0869_w1023_r1_s บริษัท เควี อิเลคทรอนิกส์ จำกัด (KV) จะทำโครงการนำร่องระบบอัตโนมัติสำหรับการผลิตแรงดันไฟฟ้าตํ่าและหม้อแปลง ทางกลุ่ม KV ประเมินว่า หากบริษัทลงทุน 10 ล้านบาท ประหยัดต้นทุนได้ 2.8 ล้านบาท/ปี หากกำลังการผลิตอยู่ที่ 7,000 ยูนิต/วัน จะลดความต้องการใช้กำลังคนลงไม่น้อยกว่า 10 คน

บริษัทคูก้า โรโบติกส์ (ไทยแลนด์)ฯ มีแผนขยายการลงทุนไปสู่การผลิตชิ้นส่วนอัตโนมัติและหุ่นยนต์หยิบจับในพื้นที่ EEC จากปัจจุบันให้บริการติดตั้งระบบเครื่องจักรอัตโนมัติและหุ่นยนต์อยู่แล้ว
214642 อย่าทำเป็นเล่นไป Robotics และระบบอัตโนมัติ ที่รัฐบาลลุงตู่และทีมเศรษฐกิจกำลังขับเคลื่อนนั้นคืออนาคตของประเทศ และในไม่ช้ามีการทำนายโดยกูรูว่าจะกลายเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญในระดับโลก เนื่องจากช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตพร้อมๆ กับการลดต้นทุน และปัจจุบันกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด
teach-robot-5

บริษัท Boston Consulting Group ว่า Robotics จะมีการเติบโตโดยมีอัตรา CAGR ในระดับ 10-20% ขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งในกลุ่มของงานอุตสาหกรรม งานบริการ และการใช้งานในเชิงบุคคล

ในประเทศไทยนั้นหลายคนอาจจะดูเบา เพราะจินตนาการไม่ออกแต่พลันเมื่อธนาคารไทยพาณิชย์ได้เปิดกองทุน SCB Global Robotics Fund หรือ ‘SCBROBO’ เพื่อจูงใจให้นักลงทุนที่สนใจด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์สามารถซื้อหน่วยลงทุนได้
6ffa9b-20150205-robot-trumpet กองทุนนี้จะเน้นการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยทางผู้จัดการกองทุนจะใช้ดุลพินิจพิจารณาปรับสัดส่วนการลงทุนในสภาวการณ์ต่างๆ ให้เหมาะสม แต่เชื่อหรือไม่ว่า สถิติบริษัทที่ลงทุนด้านนี้มีอัตราเติบโตปีละ 20-40% แสดงให้เห็นว่าการเติบโตของอุตสาหกรรม Robotics มาแน่นอน
800x-1 ล่าสุด “กลุ่มไทยเบฟเวอเรจ” ในเครือทีซีซี ผู้ผลิตเครื่องดื่มรายใหญ่ของไทย ได้จัดตั้งบริษัท “เบฟเทค” เพื่อศึกษาและพัฒนาเครื่องจักร-หุ่นยนต์ สำหรับนำมาใช้กับโรงงานในเครือไทยเบฟ โดยดึงระดับหัวกะทิจากหน่วยงานวิศวกรรมของบริษัทในเครือมารวมตัวกัน เพื่อพัฒนาเครื่องจักรและหุ่นยนต์สำหรับใช้ในโรงงาน

เพื่อยกระดับการผลิตเป็นระบบอัตโนมัติ โดยตั้งเป้าหมายว่าจะใช้ระบบอัตโนมัติในการผลิตจาก 20% ของกระบวนการผลิตทั้งหมด ต้องขึ้นไปเป็น 40% 60% 70% และไปถึง 80% ให้ได้
jk8cdb9ajjf5fffbdhjfg

ขณะนี้หัวหน้าทีมคือ พิษณุ วิเชียรสรรค์ กรรมการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ของเบฟเทคกำลังทำงานอย่างเข้มข้นที่โรงงานโออิชิ วังม่วง จังหวัดสระบุรี กำลังการผลิต 360 ล้านขวดต่อปี โรงงานแห่งนี้ ส่วนใหญ่ใช้เครื่องจักร และหุ่นยนต์ ที่นี่มีพนักงานทั้งโรงงานมีเพียง 105 คน เมื่อเทียบกับโรงงานทั่วไปที่ใช้คนไม่ตํ่ากว่า 1,000 คน

Robotics คืบคลานมาใกล้ตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ องค์กรใดไม่ปรับการทำงานอยู่ยากขึ้นเรื่อยๆ
65752
คอลัมน์ : ทางออกนอกตำรา/ หน้า 6 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ / ฉบับ 3314 ระหว่างวันที่ 16-18 พ.ย.2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว