Blockchain Interoperability

17 พ.ย. 2560 | 23:05 น.
TP08-3314-1B ณ วินาทีนี้ เชื่อว่าท่านผู้อ่านจะได้ยินได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับ Blockchain กันมาบ้างพอสมควร ทั้งการพัฒนาร่วมกันระหว่างธนาคารพาณิชย์และผู้ประกอบการภายในประเทศ และการพัฒนา Cryptocurrency อาทิ Bitcoin เป็นต้น รวมถึงนักพัฒนาซอฟต์แวร์จำนวนมากที่ได้นำเสนอ Application และการให้บริการในลักษณะ Blockchain เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจาก Cybercrime ซึ่งสร้างความหวาดวิตกให้กับธุรกิจจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม มีคำถามว่าการพัฒนา Blockchain ของหลากหลายธุรกิจในปัจจุบันมีพื้นฐานรองรับอย่างไร ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถเชื่อมต่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลและทำงานร่วมกันได้หรือไม่ หรือที่เรียกว่า Interoperability (in•ter•op•er•a•bi•li•ty) เนื่องจากการพัฒนาระบบในปัจจุบันเป็นการพัฒนาแบบจับคู่ธุรกิจหรือในกลุ่มคู่ค้าที่มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาขึ้นได้ หากจะมีการเชื่อมโยงระบบที่มีการพัฒนาขึ้นเข้าด้วยกันในอนาคต

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานและธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ International Standard Organization (ISO) และ United Nations Center for Trade Facilitation and Electronic Business (UN/CEFACT) จึงเห็นร่วมกันว่าการพัฒนาเทคโนโลยีบนพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาและการใช้งาน Core Component Library (CCL) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักร่วมกันของการพัฒนาซอฟต์แวร์และapplications และเป็นฐานในการทำ Data Harmonization และการปรับรูปแบบของระบบไปสู่การทำข้อมูลและแลกเปลี่ยนในลักษณะ Data Field ให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากระบบได้อย่างสมบูรณ์มากที่สุด ทั้งในด้านของกระบวนการทางการค้า การเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งจะทำให้สามารถใช้ข้อมูลเดียวกันได้ตลอด end-to-end supply chain และสามารถวิเคราะห์และใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลในลักษณะ Big Data ซึ่งถือเป็นประโยชน์สูงสุด

บาร์ไลน์ฐาน ผู้เชี่ยวชาญเห็นพ้องให้มีการกำหนดมาตรฐานของ Blockchain เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างระบบย่อยที่พัฒนาขึ้นและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อ economic ecosystem และมีการนำเสนอ initiatives ที่สำคัญประกอบไปด้วย Blockchain White Paper Project ภายใต้ UN/CEFACT เพื่อพิจารณาแนวทางการใช้ประโยชน์จากมาตรฐานธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สิ่งสำคัญในการใช้ Blockchain ให้เกิดประโยชน์สูงสุดคือ 1) ปรับปรุงระบบ/ขั้นตอนการทำงานตลอดซัพพลายเชนให้สอดรับกับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น เพื่อให้ลดช่องว่างและข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น 2) ปรับปรุงกฎระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานภาครัฐให้ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ก้าวลํ้า 3) ปรับปรุงการทำงานของภาครัฐให้เชื่อมโยงกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของภาคเอกชน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย จะติดตามความคืบหน้าและทำงานร่วมกับส่วนราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องต่อไป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,314 วันที่ 16 - 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว