DSI หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แก้หนี้นอกระบบ 3 จ.ภาคอีสาน

14 พ.ย. 2560 | 04:46 น.
DSI หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ พบมีชาวบ้านถูกฟ้องกว่า 1,200 ราย ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์

กรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI )ขับเคลื่อนมาตรการเชิงรุกเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลด้านการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยร่วมหารือแลกเปลี่ยนข้อมูล แนวทางการให้ความช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหนี้นอกระบบ กับหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการเงิน และภาคประชาสังคม จำนวนผู้เข้าร่วม 40 คน จาก 20 หน่วยงาน เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี กรมสรรพากร  สำนักงานยุติธรรมจังหวัด เป็นต้น

วิทยุพลังงาน ในวันนี้ (14 พ.ย.60) เวลา 09.30 – 12.00 น. ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และกระทรวงยุติธรรม จัดการประชุมหารือมาตรการและแนวทางการให้ความช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบถูกฟ้องร้องขับไล่ สูญเสียที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยจากการทำสัญญาขายฝาก จำนอง เช่าซื้อ และกู้ยืมเงิน ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ โดย พันตำรวจเอก ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า กลุ่มลูกหนี้ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ได้ร้องขอความเป็นธรรมมายังศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้ฯ เนื่องจากได้ทำสัญญากู้ยืมเงิน ขายฝากและจำนอง กับกลุ่มนายทุนในพื้นที่ ซึ่งมีพฤติการณ์ทำสัญญาที่เอารัดเอาเปรียบ และข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม กลุ่มนายทุนได้ฟ้องร้องขับไล่ หากลูกหนี้ไม่ยอมย้ายออกจากที่ดิน จะมีการข่มขู่ คุกคาม โดยให้ลูกน้องซึ่งเป็นชายฉกรรจ์กระทำการอย่างไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย มีลูกหนี้เกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน และถูกฟ้องร้องดำเนินคดีกว่า 1,200 คดี ทุนทรัพย์ในการฟ้องร้องคดีกว่า 278 ล้านบาท ซึ่งจากการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่าตั้งแต่ปี 2556 – 2560 คดีความที่ฟ้องร้องมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เฉพาะเดือนมกราคม 2560 เพียงเดือนเดียว มีคดีที่ฟ้องร้องต่อศาลถึง 75 คดี ส่วนใหญ่เป็นคดีฟ้องขับไล่ ซึ่งมีมูลหนี้จากสัญญาขายฝาก ลูกหนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีเงินเพียงพอในการซื้อทรัพย์คืนจากเจ้าหนี้ ทำให้ต้องสูญเสียที่ดินทำกิน และที่อยู่อาศัย

แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์ อย่างไรก็ตาม สาเหตุหนึ่งที่ลูกหนี้ส่วนใหญ่ประสบปัญหาดังกล่าว เนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ขาดความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายและการทำสัญญา ขาดการสนับสนุนแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต เมื่อถูกเจ้าหนี้ฟ้องร้องดำเนินคดี จึงไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างทันท่วงที จนเป็นเหตุให้ถูกบังคับคดีและยึดที่ดินทำกิน สร้างความเสียหายในวงกว้าง จึงต้องหาทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน

การประชุมในวันนี้ มีวัตถุประสงค์ให้หน่วยงานทุกภาคส่วนร่วมกันหารือแนวทางการให้ความช่วยเหลืออำนวยความยุติธรรมทางแพ่งอันเนื่องมาจากสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ใช้มาตรการทางอาญาในการดำเนินคดีกับกลุ่มนายทุนเจ้าหนี้นอกระบบและการจัดการด้านภาษีอากร สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ด้านแหล่งทุน การเยียวยาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิต เพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบเกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามนโยบายของรัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม e-book