สศก.เปิดผลวิเคราะห์ 6 จังหวัดนำร่อง ดึง Agri-Map ช่วยเกษตรกร

13 พ.ย. 2560 | 08:14 น.
สศก.เปิดผลวิเคราะห์ 6 จังหวัดนำร่อง สู่แนวทางปรับเปลี่ยนการผลิต ดึง Agri-Map ช่วยเกษตรกร

นายภูมิศักดิ์  ราศรี  ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร  สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่า ตาม พ.ร.บ. เศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ. 2522 มาตรา 9 ได้กำหนดภารกิจของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ตามข้อ  (2)  ศึกษาและวิเคราะห์การวางแผนการผลิตทางการเกษตรแหล่งการเพาะปลูก และการเลี้ยงสัตว์ให้สอดคล้องกับสภาพดินฟ้าอากาศ แหล่งน้ำ ประเภทของเกษตรกรรม รายได้หลักของเกษตรกร และความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ  ดังนั้น เพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าวให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม สศก. จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับสินค้าเกษตรที่สำคัญ  โดยใช้แผนที่ Agri-Map เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ เพื่อจัดทำทางเลือกประกอบการตัดสินใจของเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม โดยเลือกพื้นที่นำร่อง ใน 6 ภูมิภาค 6 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก ชัยภูมิ สุราษฎร์ธานี สงขลา ชัยนาท และจันทบุรี

สศก. ได้ใช้ข้อมูลจากแผนที่ Agri-Map ที่จำแนกพื้นที่ความเหมาะสม เป็นพื้นที่เหมาะสมมาก (S1) เหมาะสมปานกลาง (S2) เหมาะสมน้อย (S3) และไม่เหมาะสม (N)  ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ความเหมาะสมทางด้านกายภาพ ควบคู่  ไปกับศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญแต่ละจังหวัด เป็นการนำเสนอหลักการคิดในการบริหารจัดการพื้นที่ เน้นการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ในแต่ละจังหวัด  ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายยกกระดาษ A4  ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01 โดยมีกระบวนการศึกษาวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต/ผลตอบแทนของสินค้าเกษตรสำคัญที่มีผลต่อเศรษฐกิจการเกษตรของจังหวัดมากที่สุด 4 ชนิด เปรียบเทียบกันระหว่างการผลิตในพื้นที่เหมาะสม (S1,S2) กับพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3,N) รวมทั้ง ศึกษาวิเคราะห์ อุปสงค์ อุปทาน และวิถีการตลาด ของสินค้าเกษตรดังกล่าว แล้วนำมาวิเคราะห์     แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ เบื้องต้นเสนอทางเลือกในการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว เพื่อลดผลผลิตข้าวให้สมดุลกับความต้องการของตลาด โดยปรับเปลี่ยนเป็นสินค้าทางเลือกอื่น มีเกณฑ์การพิจารณาสินค้าทางเลือก

1) เป็นสินค้าที่มีความเหมาะสมทางด้านกายภาพในพื้นที่ที่จะปรับเปลี่ยน 2) ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่าสินค้าเดิม 3) มีตลาดรองรับและสอดคล้องกับความต้องการ อาทิ ตลาดในประเทศ ตลาดส่งออก และโรงงาน แปรรูป  ทั้งนี้ ได้นำผลการศึกษาเบื้องต้นนำเสนอในที่ประชุมร่วมระหว่าง เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ ผู้นำเกษตรกร และผู้แทนจากศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะมาปรับปรุงผลการศึกษาให้สอดคล้องกับข้อเท็จในพื้นที่ให้มากที่สุด กล่าวได้ว่าเป็นผลการศึกษาแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่  ดังนี้

แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์-1-503x69 จังหวัดพิษณุโลก (ภาคเหนือ) เสนอให้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมที่มีอยู่จำนวนมากในอำเภอ  นครไทย บางระกำ ชาติตระการ พรหมพิราม และวังทอง ไปเป็นพืชทางเลือกอื่น เช่น  อ้อยโรงงาน (มีต้นทุนการผลิต 9,857 บาท/ไร่ และผลตอบแทนสุทธิ 272 บาท/ไร่) ให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่าปลูกข้าว และมีโรงงานในพื้นที่ภาคเหนือรองรับผลผลิตมากถึง 9 โรง  มะม่วงน้ำดอกไม้ส่งออก (มีต้นทุนการผลิตตั้งแต่ปลูกจนถึงให้ผลผลิต 14,280 บาท/ไร่และผลตอบแทนสุทธิ 20,220 บาท/ไร่) ยังเป็นที่ต้องการของตลาดในแถบเอเชียอย่างญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ มาเลเซีย และตลาดโซนยุโรป และ กล้วยน้ำว้า (อายุ 2-3 ปี มีต้นทุนการผลิต 2,515 บาท/ไร่ และผลตอบแทนสุทธิ 8,015 บาท/ไร่) เป็นสินค้าที่สร้างชื่อของจังหวัด ซึ่งมีโรงงานแปรรูปและ กลุ่มการผลิตที่เข้มแข็ง

จังหวัดชัยภูมิ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) สินค้าทางเลือกที่ทดแทนการปลูกข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสม เช่น ส้มโอ (ขาวแตงกวา)  (มีต้นทุนการผลิตตั้งแต่ปลูกจนถึงให้ผลผลิต 10,600 บาท/ไร่ และผลตอบแทนสุทธิ 24,950 บาท/ไร่) เน้นการผลิตคุณภาพเพื่อการส่งออก ของเกษตรกรในอำเภอบ้านแท่น ที่มีราคาจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 40 – 45 บาท และ กล้วยหอมทอง (อายุ 2-3 ปี มีต้นทุนการผลิต 16,645 บาท/ไร่ และผลตอบแทนสุทธิ 6,124 บาท/ไร่) เน้นคุณภาพเพื่อการส่งออกเช่นเดียวกัน แหล่งผลิตที่สำคัญคือ ตำบลถ้ำวัวแดง อำเภอหนองบัวแดง ตลาดส่งออกที่สำคัญ เช่น เวียดนาม และจีนเป็นต้น

จังหวัดสุราษฎร์ธานี (ภาคใต้) การผลิตยางพาราทั้งในพื้นที่เหมาะสม (S1) และพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) ให้ผลตอบแทนสุทธิต่ำกว่าเมื่อเทียบกับผลตอบแทนสุทธิการผลิตปาล์มน้ำมัน ทุเรียน และ มะพร้าว ทั้งในพื้นที่เหมาะสม (S1)  และพื้นที่ไม่เหมาะสม (N)  จึงเสนอให้มีการปรับเปลี่ยนการผลิตยางพารา ไปเป็นปาล์มน้ำมัน ทุเรียน มะพร้าว และเสนอกิจกรรมเสริมในกรณีไม่ปรับเปลี่ยนการผลิตยางพารา โดยปลูกพืชร่วมยางและพืชแซมยาง เช่น

ผักเหลียง มีผลผลิตประมาณ 500-1,100 กก./ไร่ ต้นทุน 9,000 บาท/ไร่ เกษตรกรจะมีรายได้ 25,000-54,000 บาท/ไร่  สละ มีผลผลิตประมาณ 1,700 กก./ไร่ ต้นทุน 28,000 บาท/ไร่ เกษตรกรจะมีรายได้ 59,500 บาท/ไร่  ไม้ตัดดอก (หน้าวัว) มีผลผลิตประมาณ 16,000-22,000 ดอก/ไร่/ปี ต้นทุน 44,400-51,700 บาท/ไร่ เกษตรกรจะมีรายได้ 68,750-80,000 บาท/ไร่  กล้วยหอมทอง มีผลผลิตประมาณ 2,000-3,600 กก./ไร่ ต้นทุน 10,000-15,000 บาท/ไร่  เกษตรกรจะมีรายได้ 20,000-36,000 บาท/ไร่  และ สมุนไพร (กระชาย) มีผลผลิตประมาณ 3-4 ตัน/ไร่ ต้นทุน 30,000 บาท/ไร่ เกษตรกรจะมีรายได้ 45,000-60,000 บาท/ไร่  โดยมีตลาดในพื้นที่ และตลาดในกรุงเทพฯ รวมทั้งตลาดในแถบจังหวัดภาคกลางรองรับผลผลิตดังกล่าว

วิทยุพลังงาน จังหวัดสงขลา (ภาคใต้ชายแดน) เสนอแนวทางการบริหารจัดการทางเลือกกิจกรรมการเพาะปลูกยางพาราในพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) ภายใต้สถานการณ์ยางพาราราคาตกต่ำ เกษตรกรควรหันมาพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น ลดความเสี่ยงจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว โดยหันมาปลูกพืชแซมยาง เช่น มะละกอ มีต้นทุน 15,000-20,000 บาท/ไร่  ให้ผลตอบแทน 60,000-80,000 บาท/ไร่ และกล้วยหอมทอง มีต้นทุน 10,000-15,000 บาท/ไร่ ให้ผลตอบแทน 20,000-36,000 บาท/ไร่

ปลูกพืชร่วมยาง เช่น ผักเหลียง มีต้นทุน 9,000 บาท/ไร่ ให้ผลตอบแทน 25,000-54,000 บาท/ไร่ และดอกหน้าวัว มีต้นทุน 44,400-51,700 บาท/ไร่ ให้ผลตอบแทน 68,750-80,000 บาท/ไร่ เป็นต้น หรือประกอบอาชีพเสริมรายได้ในสวนยาง พร้อมทั้งน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ

จังหวัดชัยนาท (ภาคกลาง) เสนอทางเลือกในการปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสมเป็นกิจกรรมทางเลือกอื่น ได้แก่ การปลูกหญ้าเนเปียร์ เป็นพืชอาหารสัตว์ที่เกษตรกรสามารถปลูกไว้ใช้เลี้ยงปศุสัตว์และจำหน่ายให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์รายอื่น สามารถให้ผลตอบแทนสุทธิ 31,228 บาท/ไร่  รวมทั้งการเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น แพะ (เลี้ยงแม่แพะ 30 ตัว เพื่อผลิตลูกแพะจำหน่ายและเกษตรกรปลูกหญ้าเนเปียร์เอง 1 ไร่ จะมีผลตอบแทนสุทธิ 201,530 บาท)  และ แม่โคเนื้อพันธุ์ลูกผสม (จำนวน 3 ตัว เพื่อผลิตลูกโคจำหน่ายและเกษตรกรปลูกหญ้าเนเปียร์เอง 1 ไร่ มีผลตอบแทนสุทธิ 40,812 บาท)  ซึ่งมีช่องทางการตลาดและความต้องการสูง โดยเฉพาะตลาดในประเทศ  เพื่อนบ้าน นอกจากนี้ แนะนำให้เกษตรกรทำการเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อลดความเสี่ยงจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว

จังหวัดจันทบุรี (ภาคตะวันออก) การผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ คือ ยางพารา และไม้ผล อาทิ ลำไย ทุเรียน มังคุด และ เงาะ ซึ่งเป็นสินค้าที่สร้างรายได้จำนวนมากให้กับจังหวัด โดยสินค้าทั้ง 5 ชนิด ไม่มีปัญหาในการบริหารจัดการภายในจังหวัด แต่เมื่อพิจารณาภาพรวมระดับประเทศ สินค้ายางพาราที่มีปัญหาราคาตกต่ำ จึงเสนอให้เกษตรกรปลูกพืชแซมยางหรือปลูกพืชร่วมยาง เพื่อเพิ่มรายได้และทำให้เกษตรกรมีรายได้ตลอดทั้งปี เช่น พืชผัก พืชสมุนไพร (เร่วหอม กระวาน ไม้ตัดใบ) โดยมีตลาดในพื้นที่และตลาดในกรุงเทพมหานคร รองรับ  ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2561 สศก.จะดำเนินการ อีก 19 จังหวัดเพิ่มเติม อ๊ายยยขายของ-7-1