จี้ "ฉัตรชัย" เปลี่ยนตัว "ธีธัช" และบอร์ดล้มเหลวแก้ราคายางตกต่ำ

13 พ.ย. 2560 | 04:23 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วันนี้ (13 พ.ย.60) นายมนัส บุญพัฒน์ ผู้ประสานงาน 15 เครือข่ายชาวสวนยางภาคใต้ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าวันนี้ ได้ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้วหลังจากนั้นจะไปยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เรื่อง ขอให้พิจารณาผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)และคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) พ้นจากหน้าที่ เนื่องจากตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางในนามกลุ่ม 15 ผู้แทนชาวสวนยางภาคใต้ มีข้อเคลือบแคลงสงสัยในการปฎิบัติหน้าที่ ว่า

chatti พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งโดยปราศจากความรับผิดชอบรอบคอบด้วยจิตสำนึก ในการที่จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรชาวสวนยางและรัฐวิสาหกิจการยางโดยแท้จริง ทั้งยังใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเสถียรภาพราคายาง ความเสียหายต่อสภาพคล่องในการซื้อขายยางพาราจริง การจัดการสต็อกยางพาราในโครงการ การสร้างแรงจูงใจเพื่อลดความเชื่อถือในตลาดยางพาราทั้งในและต่างประเทศ และการเอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่มโดยมีข้อเท็จจริง ดังนี้

1.การประกาศให้มีการประมูลยางในสต็อกรัฐบาล วันที่ 16 ธันวาคม 2559 และครั้งต่อๆมา โดยปล่อยให้เอกสารในการประกาศที่มีชื่อผู้ว่าการฯ ท้ายเอกสาร (ไม่ได้ลงนาม) เผยแพร่ในวันที่ 16 ธ.ค.2559 แต่มีผลตามคำประกาศในวันทำการถัดมา คือวันที่ 19 ธ.ค. 2559 ซึ่งทำให้ราคายางประมูลในตลาด 6 ตลาดกลาง มีปัญหาราคาลดลงทันที เพราะทำให้ผู้ประกอบการที่ซื้อสามารถกดราคายางจากเกษตรกรชาวสวนยางได้

rubberlogo
2.การบริหารจัดการยางในโครงการหน่วยธุรกิจ หรือบียู กยท.และบริษัทร่วมทุนยางพารา จำกัด หลังรับซื้อมาแล้ว กลับปล่อยให้ยางคุณภาพชั้นดีกองเต็มพื้นในตลาดกลางเกือบทุกตลาด ทำให้ยางเสื่อมสภาพและราคายางต่ำลงซึ่งเป็นความเสียหายต่อการจัดการด้วยเงินจากภาษี และยังส่งผลทำให้ตลาดกลางหลายแห่งขาดสภาพคล่องจนต้องปิดทำการตลาด ซึ่งไม่เคยปรากฏการณ์เช่นนี้มาก่อนในประวัติศาสตร์ตลาดกลางของรัฐ

3.ออกระเบียบขึ้นภาษีส่งออกจากระบบขั้นบันได เป็นเก็บอัตราคงที่ 2 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งที่สภาวะราคายางมีแนวโน้มที่ต่ำลง รวมทั้งการให้ข่าวของผู้ว่าการยางฯ ไม่เคยเป็นผลสัมฤทธิ์ และไม่ได้สร้างเครดิตให้กับราคายาง ดังเห็นได้จากการซื้อขายยางผ่านตลาดเอกชนและบริษัทต่างๆไม่ได้ผล ในการชี้นำราคาและการดูดซับปริมาณยางเพื่อเพิ่มมูลค่าตามนโยบายเลย แต่กลับทำให้เกิดราคาผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง มีการเอื้อประโยชน์ ทำให้เกิดเสียเปรียบได้เปรียบเป็นจำนวนมากระหว่างตลาดต่อตลาด จนเป็นที่มาของวิกฤติราคาและราคาไร้เสถียรภาพ และ

นายมนัส บุญพัฒน์ manus

นายมนัส บุญพัฒน์

4.จับมือกับบริษัทผู้ส่งออกเป็นบริษัทร่วมทุน เข้าประมูลยางในตลาดกลางโดยไม่ฟังเสียงคัดค้านจากเกษตรกร และสถาบันเกษตรกร จนทำให้เกิดความเสียหายและล้มเหลว

e-book