ผอ.สสว.ป้ายแดง เน้นTransformation นำเอสเอ็มอีสู่อนาคต

16 พ.ย. 2560 | 05:52 น.
หลังจากที่นางสาลินี วังตาล หมดวาระการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. เห็นชอบให้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 แต่งตั้ง นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล เข้ามาดำรงตำแหน่งผอ.สสว.

“ฐานเศรษฐกิจ” จึงถือโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ ผอ.สสว.คนใหม่ถึงที่มาที่ไปของการเข้ามารับตำแหน่ง และแผนที่จะดำเนินงานต่อไปในอนาคต ในฐานะหัวเรือใหญ่ของ สสว.

[caption id="attachment_229798" align="aligncenter" width="503"] สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล[/caption]

**ภารกิจสร้างการปรับเปลี่ยน
สุวรรณชัย เล่าให้ฟังว่า ในความเป็นจริงก็เคยถูกทาบทามให้เข้ามารับตำแหน่งอยู่แล้วเป็นระยะๆ ไม่ได้มีวาระอะไรเร่งด่วนเป็นพิเศษโดยนายกรัฐมนตรีมีมุมมองว่าตนทำงานอยู่ในแวดวงเอสเอ็มอีมาเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในตำแหน่งเลขาธิการสมาคมเอสเอ็มอี หรือการเป็นผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) จนกระทั่งได้เข้ามารับตำแหน่ง ผอ.สสว. ซึ่งถือว่าเป็น หมวกอีกใบหนึ่งที่เกี่ยวกับเอสเอ็มอี

“มุมมองที่เด่นชัดของนายกรัฐมนตรีก็คือการที่ตนเองนั้นเป็นเอสเอ็มอี ทำให้รู้และเข้าใจในสิ่งที่เอส
เอ็มอีต้องการ รู้ว่าควรจะต้องพัฒนาไปอย่างไร ทำให้ได้รับโอกาสในการเข้ามาร่วมร่างแผน และคิดในสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับเอสเอ็มอี”

สำหรับโจทย์ที่ตั้งไว้เป็นกรอบการดำเนินงานในเบื้องต้นคือการนำพาเอสเอ็มอีไทยไปสู่อนาคต เพราะฉะนั้นจึงได้มีการวางกลยุทธ์หลักไว้ 3 เรื่อง ได้แก่ 1.การปรับเปลี่ยน (Transformation) ตั้งแต่ทางด้านบุคลากร รูปแบบของการทำธุรกิจ โดยจะส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things : IoT) เป็นต้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวเหล่านี้เอสเอ็มอีจำเป็นที่จะต้องเข้าใจ และติดตาม

2.การปรับเปลี่ยนแนวคิดของเอสเอ็มอี เนื่องจากปัจจุบันโลกของการแข่งขันในตลาดไม่มีขอบเขต โดยการแข่งขันระหว่างประเทศมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น ซึ่งข้อดีก็คือการที่ตลาดเปิดกว้างขึ้น เพราะฉะนั้น กลยุทธ์ที่วางเอาไว้ก็คือการทำให้เอสเอ็มอีไทยกลายเป็นผู้ประกอบการแห่งเอเชียภูมิภาค ต้องไม่มองเพียงแค่ตลาดในประเทศเท่านั้น แต่จะต้องมีการเชื่อมโยงตลาด และมุ่งเน้นไปในตลาดที่สำคัญ เช่น จีน ญี่ปุ่น CLMV และอาเซียนทั้งหมด

และ 3.การสร้างองคาพยพใหม่ เพราะธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีความรู้ใหม่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น สสว. จะต้องเป็นนักพัฒนาเอสเอ็มอีด้วยองค์ความรู้ชุดใหม่ เพื่อเข้ามาสนับสนุนตลาด โดยความรู้เดิมก็เดินหน้าต่อไป ควบคู่ไปกับการพัฒนาความรู้ใหม่สร้างเติมเสริมความแข็งแกร่งให้กับเอสเอ็มอีมากขึ้น

[caption id="attachment_229800" align="aligncenter" width="335"] สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล[/caption]

**คนคือหัวใจสำคัญ
สุวรรณชัย กล่าวต่อไปอีกว่า ตนมีความเชื่อว่าไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร คนก็คือหัวใจที่สำคัญที่สุด ดังนั้น ในการพัฒนาครั้งนี้จึงมุ่งเน้นเรื่องดังกล่าวนี้เป็นพิเศษ แม้กระทั่งบุคลากรใน สสว. เองซึ่งเป็นหน่วยงานที่สำคัญ โดยมองว่า สสว. มีโอกาสเป็นได้ทั้งพี่เลี้ยง เพื่อร่วมทาง และเป็นที่พึ่งพาของเอสเอมอี พร้อมที่จะนำพาเอสเอ็มอีไปสู่อนาคตที่ปักธงเป้าหมายเอาไว้

“ที่ใช้คำว่าพี่เลี้ยงก็เพราะทุกคนมีความเก่งไม่เหมือนกัน หากเราสามารถสร้างคนเก่งมาเป็นพลัง และมาเข้าร่วมกับ สสว.ได้ก็จะเป็นการดี เพื่อสร้างความรู้ใหม่ให้เกิดความแตกต่างอย่างรวดเร็ว โดยจะดำเนินการเชื่อมโยงหน่วยงานต่างๆที่มีหัวใจเดียวกัน คือรักและแบ่งปันในการนำความรู้เป็นเครื่องมือทำให้เอส
เอ็มอีเติบโต และสร้างรายได้เพิ่มขึ้นผ่านการค้าระหว่างประเทศและในประเทศสิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะพยายามร้อยเรียงออกมาให้เป็นกิจกรรมในการดำเนินการต่อไป”

อย่างไรก็ดี ขณะนี้อยู่ในช่วงของการทบทวน และพิจารณาแผนการดำเนินงานทั้งในส่วนของปี 2561 และ 2562 เพื่อดูว่าจะต้องมีการปรับตรงส่วนใดบ้าง มีกลไกใดที่ทำให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้เกิดเป็นเชิงคุณภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังทำการเชื่อมโยงกับหลากหลายกระทรวง โดย สสว. จะทำหน้าที่เป็นคนกลางในการนำพาแผนและกลยุทธ์ในการช่วยเหลือเอสเอ็มอีให้เป็นไปตามแผนส่งเสริมเอสเอ็มอีฉบับที่ 4 (2560-2564) เพื่อออกแบบกิจกรรมให้เหมาะกับเอส
เอ็มอีไทย ซึ่งเห็นเป็นรูปธรรมเชิงปฏิบัติการ

บาร์ไลน์ฐาน **สานต่อโครงการเดิม
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโครงการเดิมที่ดำเนินการอยู่ก็จะสานต่อต่อไป เพียงแต่อาจจะมีการปรับเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นโครงการ Startup ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น Early Stage เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายชัดเจนขึ้น โดยเป็น
กลุ่มนักธุรกิจที่มีอายุน้อยกว่า 3 ปี เนื่องจากกลุ่มธุรกิจดังกล่าวนี้จะเป็นพลังขับเคลื่อนใหม่ของเศรษฐกิจไทย ดังนั้น หากเริ่มต้นด้วยการดูแลกลุ่มนี้ให้มีความลึกทาธุรกิจเพิ่มขึ้น ตอบโจทย์ตลาดได้มากขึ้น

กลุ่มที่ทำธุรกิจมาแล้วระดับหนึ่ง (Regular) โดยแนวทางที่สำคัญก็คือการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในธุรกิจ เพื่อลดต้นทุน รวมถึงเพิ่มกระบวนการขาย และเพิ่มกระบวนการจัดการที่ทันสมัย ปรับเปลี่ยนในสิ่งที่มีประโยชน์ เชื่อว่าจะทำให้มีความสามารถ ในการแข่งขันสูงขึ้น, กลุ่มที่แข็งแรง และต้องการพัฒนาให้เติบโต(Strong) ก็จะเน้นไปที่ตลาดต่างประเทศโดยการเชื่อมโยงการค้าไปสู่อีกระดับหนึ่ง

ส่วนกลุ่มที่พร้อมจะเข้าสู่การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ก็จะช่วยสนับสนุนและกลุ่มที่ต้องการฟื้นฟูกิจการ
(Turnaround) โดยสิ่งที่สำคัญของกลุ่มนี้คือรูปแบบในการทำธุรกิจซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยน เพื่อไม่ให้ได้ผลลัพธ์ในแบบเดิม โดย สสว. จะช่วยในการสร้างความรู้ใหม่ในการทำธุรกิจรูปแบบใหม่ ซึ่งอาจจะอยู่ในอุตสาหกรรมเดิม หรืออุตสาหกรรมใหม่ขึ้นอยู่กับแต่ละกลุ่ม โดยโครงการที่จะสานต่อจะทำให้มีความลึกมากขึ้น และนำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยเติมเต็ม

แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์ **ผู้นำยุทธศาสตร์และแผน
สุวรรณชัย ทิ้งท้ายถึงภาพรวมของ สสว. ที่อยากให้เกิดขึ้นในช่วงที่เข้ามารับตำแหน่งวาระ 2 ปีว่า ต้องการให้เป็นองค์กรที่เป็นผู้นำเรื่องยุทธศาสตร์และแผน ซึ่งปัจจุบันบทบาทก็เป็นแบบนั้น อีกทั้งยังต้องการพาเอสเอ็มอีไทยให้เห็นอนาคตไกลๆ โดยมี สสว. เป็นองค์ความรู้ที่พร้อมป้อน เปรียบเสมือนผู้ที่ถือธงเอสเอ็มอีที่รู้ว่าจะพาไปที่ไหน สสว.จะเป็นผู้ที่นำไป แต่เป็นรูปแบบของเพื่อนร่วมทาง เป็นพี่น้อง

“สสว. เป็นหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพมีคนที่รู้และเข้าใจเอส
เอ็มอีอย่างจริงจัง เราต้องเป็นผู้ให้ เป็นผู้แบ่งปัน และเป็นนักเชื่อมโยงประสาน เพราะ สสว.ต้องพึ่งพาหลายกระทรวง หลายสภาอุตสาหกรรม ทั้ง พยายามทำให้ สสว. กลายเป็นผู้นำเอสเอ็มอีไปสู่ความสำเร็จมากขึ้น”

อย่างไรก็ดี ตนมีความเชื่อเรื่องคน เชื่อว่าทุกคนต้องการโอกาส ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นพนักงาน หรือผู้ประกอบการ เกษตรกร หรือข้าราชการ ทุกคนต้องการมีอนาคต โดยทุกคนมีปลายทางเหมือนกันคือมีความสำเร็จที่ตนเองกำหนดได้เอง ในฐานะ ผอ.สสว. ก็จะกำหนดในสิ่งที่เราทำได้ ที่เหลือก็เป็นหน้าที่ของบุคลากรที่จะมาเสริมความแกร่งให้รู้ว่าปลายทางไปถึงเองไม่ใช่เพราะ ผอ.สสว. คนเดียว แต่เพราะการทำงานร่วมกันทั้งหมดของ สสว. ทำให้เอสอ็มอีไทยทั่วประเทศดีขึ้น เพราะฉะนั้นปลายทางที่แท้จริงคือการเป็นสะพานเชื่อมไปต่อสู่อีกเจเนอเรชัน หนึ่งที่เทคโนโลยีกำลังมีบทบาทต่อการปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจในรอบนี้ พร้อมเชื่อมโยงคนที่เก่งกว่าเรามาอยู่บนสะพานเดียวกัน ที่จะพาคนที่ค่อยๆเดินข้ามมาเองไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,313 วันที่ 12 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว