ทรัมป์และที่เหลือ

12 พ.ย. 2560 | 23:15 น.
TP08-3313-1C เหตุการณ์ที่กระทบการเมือง เศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงมากและเร็วจนเราต้องติดตามใกล้ชิดเพราะมันกระทบกับการจัดการประเทศหากไม่ได้วางแผนที่ยืดหยุ่นเพียงพอที่จะตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงเหล่านี้ซึ่งมีตัวอย่างสำคัญๆ ดังนี้

1) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ Climate Change เป็นประเด็นที่โต้แย้งกันค่อนข้างร้อนแรงขึ้นทุกวันระหว่างผู้ที่ไม่เชื่อหรือผู้ปฏิเสธ (Deniers) ต่อผลทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์
ออกมา ซึ่งล่าสุดมีการคาดการณ์ว่าโลกจะร้อนขึ้น 3 องศาเซลเซียสภายในปี 2100 และจะเป็นผลให้เกิดนํ้าท่วมหลายพื้นที่ของโลกเช่น เซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง อียิปต์ เป็นต้น เพราะการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเป็นเหตุให้นํ้าแข็งทั้ง 2 ขั้วโลกละลายเร็วขึ้น

บาร์ไลน์ฐาน ประธานาธิบดีทรัมป์ คือผู้นำโลกเสรีที่ปฏิเสธเรื่อง Climate Change โดยเชื่อว่าการเปลี่ยน
แปลงอากาศเกิดขึ้นตามธรรมชาติจึงประกาศลาออกจากข้อตกลงลดก๊าซเรือนกระจกและสนับสนุนการเพิ่มผลผลิตของถ่านหิน การใช้นํ้ามันและพลังงานนิวเคลียร์ โดยอธิบายว่าการใช้ทรัพยากรเหล่านี้ไม่กระทบกับอากาศหากใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้อง สหรัฐฯจึงเป็นประเทศพัฒนาเดียวที่ขัดแย้งกับสมาชิกกว่า 100 ประเทศที่ตกลงในการลดภาวะโลกร้อน ที่จะรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ตํ่ากว่า 2 องศาเซลเซียสเทียบกับช่วงเวลาก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรมภายในปี 2100 แต่ก็ดูเหมือนมีโอกาสที่จะพลาดเป้าจากการทำนายชิ้นล่าสุดข้างต้น(หมายเหตุ: ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มสนับสนุนลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้ข้อตกลงที่เรียกว่า Paris Agreement) ดูเหมือนว่าปัญหานี้น่าจะจบเพียงแค่ความเห็นที่ตรงกันข้ามกันเท่านั้นแต่ในความเป็นจริงมันมีผลกระทบกับการค้าเป็นอย่างมากเพราะสร้างความสับสนและอุปสรรคกับมาตรการทางการค้าสินค้ากับประเทศที่มีมาตรการด้านการค้าในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันเช่นมาตรการการผลิตสินค้าที่จะส่งไปยังสหรัฐฯก็จะแตกต่างกันกับรัฐอื่นๆในสหรัฐฯเอง (ที่ประกาศไม่เห็นด้วยกับทรัมป์) หรือประเทศอื่นๆทั้งหมดผมจึงเสนอให้ติดตามมาตรการทางการค้าเหล่านี้อย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะสหรัฐฯ เนื่องจากแต่ละมลรัฐมีสิทธิที่จะออกกฎของตนเองได้

2) นโยบายเศรษฐกิจของทรัมป์ที่เน้นประโยชน์
สหรัฐฯ และเป็นเหตุให้ต้อง
เกิดการเจรจากรอบการค้าเสรีอเมริกาเหนือใหม่ซึ่งอาจจะลงเอยด้วยการ “ไม่มีอะไรใหม่” จนต้องยกเลิกไปเลยก็ได้ นอก จากนั้นทรัมป์ยังยกเลิกข้อตกลง Trans Pacific Partnership หรือ TPP (ที่ยังไม่เป็นผลในทางปฏิบัติ) เป็นผลให้สหรัฐฯเสียโอกาสไปมากแต่ในทางกลับกันการยกเลิกนี้เป็นการเปิดโอกาสให้จีนโดดเด่นขึ้นในภูมิภาคนี้เพราะ ASEAN กำลังเจรจาข้อตกลงการค้ากับจีนและญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ที่เรียกว่า Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) นอกจากนั้นทรัมป์ยังขู่ว่าจะทบทวนข้อตกลง
การค้าเสรีกับเกาหลีใต้หรือ KORUS (เพราะขาดดุลการค้ากับเกาหลีใต้)

แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์ 3) ในขณะเดียวกันทรัมป์ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาการค้าที่ขาดดุลกับจีนได้เลยเพราะสหรัฐฯ ไม่มีข้อต่อรองอะไรที่ชัดเจนที่จะ “หัก” จีนได้และจะยิ่งอ่อนแอลงไปอีกหลังเหตุการณ์อาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือที่สหรัฐฯ
ต้องพึ่งจีนในการจัดการกับเกาหลีเหนือ อย่างไรก็ตามทรัมป์ยังเห็นว่าข้อตกลงการค้าเสรีเป็นสิ่งจำเป็นแต่ต้องเป็นการเจรจาแบบ 2 ฝ่ายเพราะเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับสหรัฐฯมากกว่า (ซึ่งก็ไม่
น่าจะเป็นเช่นนั้นโดยดูจาก
ตัวอย่าง KORUS)

และสิ่งที่ต้องติดตามล่าสุดคือ การเยือนเอเชีย
ระหว่างวันที่ 3-14 เดือนนี้ที่ทรัมป์จะไปร่วมประชุม APEC ที่เวียดนามในวันที่ 10 โดยจะเสนอวิสัยทัศน์สหรัฐฯ ที่เน้นความสำคัญของภูมิภาคนี้ในการมีบทบาทที่จะขยายความมั่งคั่ง เฟื่องฟูทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ตั้งอยู่บนหลัก
การ “Free adOpen” ว่าจะบรรลุผลได้อย่างไร?

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,313 วันที่ 12 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว