พีอีเอฯร่วมทุนเอกชน ไฟฟ้าชีวภาพ3.6พันล.

15 พ.ย. 2560 | 10:59 น.
พีอีเอ เอ็นคอม จ่อดึงเอกชนร่วมลงทุนโรงไฟฟ้าชีวภาพใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มูลค่าโครงการกว่า 3.6 พันล้านบาท คาดหาผู้ร่วมทุนได้ไม่เกินปีนี้

นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และโฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยระหว่างการตรวจเยี่ยมติดตามโครงการที่ได้รับเงินสนับสนุนการลงทุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานภายใต้โครงการ
ส่งเสริมเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมว่า โครงการผลิตก๊าซชีวภาพของบริษัท ไทยรุ่งกิจ ไวท์ดั๊ก จำกัด จังหวัดนครปฐม เป็น หนึ่งในโครงการที่ได้รับเงินจากกองทุนฯ ในวงเงิน 10 ล้านบาท จากเงินลงทุนทั้งหมด 70 ล้านบาท

[caption id="attachment_196201" align="aligncenter" width="387"] dg-twarath ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)[/caption]

โดยปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพแบบผสมผสานวัตถุดิบ นํ้าเสียจากการเลี้ยงหมูและเป็ด รวมทั้งหญ้าเนเปียร์ ขนาดกำลังการผลิต 1 เมกะวัตต์ สำหรับโครงการดังกล่าวถือเป็นต้นแบบที่จะนำไปใช้ เป็นโครงการนำร่องรับซื้อไฟฟ้าก๊าซชีวภาพไฮบริด 30 เมกะวัตต์ ใน 3 จังหวัดภาคใต้(ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) ซึ่งคาดว่าจะเปิดโครงการได้ปลายปี 2560 นี้ โดยโครงการดังกล่าวเป็นการประสานการดำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชนและชุมชนสอดคล้องกับนโยบายประชารัฐของ
รัฐบาล โดยหากโครงการ นำร่องใน 3 จังหวัดภาคใต้ประสบความสำเร็จก็อาจนำไปขยายผลยังพื้นที่อื่นๆต่อไป

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1 แหล่งข่าวจากบริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เปิดเผยว่า ในเร็วๆนี้ จะเสนอรายละเอียดโครงการนำร่องก๊าซชีวภาพไฮบริด 3 จังหวัดภาคใต้ให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณา เบื้องต้นจะเปิดรับซื้อไฟฟ้าจำนวน 30 เมกะวัตต์ และจะส่งเสริมให้เกิดโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพขนาด 1.5 เมกะวัตต์ จำนวน 23 แห่ง แต่คาดว่าจะมีการขายไฟฟ้าได้ประมาณแห่งละ 1.3 เมกะวัตต์ โดยจะใช้เงินลงทุนโครงการนี้ทั้งสิ้น 3,600 ล้านบาท ที่จะเป็นการร่วมทุนระหว่าง PEA ENCOM 40% ภาคเอกชน 50% และวิสาหกิจชุมชน 10% คาดว่าจะเปิดคัดเลือกและหาผู้ร่วมลงทุนได้ปลายปี 2560 นี้

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,313 วันที่ 12 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว