ประชาชน98%หนุนพ.ร.บ.นํ้า ต่อรองขอใช้ฟรีก่อน3ปี-ฝ่ายค้านหวั่นต้นทุนเกษตรพุ่ง

15 พ.ย. 2560 | 11:46 น.
เปิดผลสรุปรับฟังความเห็นร่าง พ.ร.บ. ทรัพยากรนํ้า พ.ศ. ... ผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 98% โหวตเห็นด้วยควรมีกฎหมาย ด้านกมธ.วิสามัญพิจารณาร่างฯ เฮ “ประยุทธ์” ใช้ ม.44 ตามข้อเสนอตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรนํ้าแห่งชาติ ยันพิจารณาร่างเสร็จทันตามกรอบ 25 ม.ค.นี้

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 77 กำหนดให้การตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง
พร้อมวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นในการใช้กฎหมายอย่างรอบด้าน เช่นเดียวกับร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ทรัพยากรนํ้า พ.ศ. .... ที่ได้เปิดรับฟังความเห็นร่างฯ ผ่านเว็บไซต์ ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม-26 กรกฎาคม
2560 นั้น

TP08-3313-1A แหล่งข่าวจากกรมทรัพยากรนํ้า เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 3,218 คน ในจำนวนนี้มีผู้เห็นด้วยว่าควรที่จะมี พ.ร.บ.ทรัพยากรนํ้าฯ 3,169 คน คิดเป็น 98.48% ไม่เห็นด้วย 49 คน คิดเป็น 1.52% ผู้เห็นด้วยมีเหตุผลสนับสนุน 
เช่น เป็นพ.ร.บ.ที่รอมานานแล้ว มีประโยชน์ต่อการบริหารจัดการ นํ้าของประเทศชาติอย่างเป็นระบบ อยากให้ พ.ร.บ.ผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ (สนช.) ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง และมีความคาดหวังว่า พ.ร.บ.นี้จะสามารถสร้างความชัดเจน และหาข้อยุติเกี่ยวกับ
การใช้ทรัพยากรนํ้าจากทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียมกัน มีบทลงโทษผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรนํ้าที่ชัดเจน ส่วนการคิดค่านํ้าให้มีการติด
ตั้งมิเตอร์วัด ให้จำแนกค่านํ้า
ออกมา 1% เพื่อเก็บเข้ากองทุนนํ้า และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคนละครึ่ง และควรมีระยะเวลาให้ใช้นํ้าฟรีไปก่อน 1-3 ปี

บาร์ไลน์ฐาน ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วย มีเหตุผล เช่น ยังไม่เข้าใจกฎหมายฉบับนี้ การรับฟังความคิดเห็นประชาชนยังน้อยเกินไป กฎหมายนี้จะทำให้เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายด้านนํ้า อาจทำให้ต้นทุนสินค้าเกษตรมีราคาสูงขึ้น ไม่มีข้อมูลร่างฯ ฉบับเต็มให้ศึกษา เป็นต้น อย่างไรก็ดีร่างฯ ดังกล่าวนี้ล่าสุดอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ทรัพยากรนํ้า พ.ศ. … ของ สนช. ที่มี พล.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ เป็นประธาน โดยมีมติขอขยายระยะเวลาการพิจารณาออกไปเป็นกรณีพิเศษอีก 90 วัน จะสิ้นสุดในวันที่ 25 มกราคม 2561”

ขณะที่นายสุรจิต ชิรเวทย์ กรรมาธิการวิสามัญร่างพ.ร.บ. ทรัพยากรนํ้า พ.ศ. …. ของสนช. เผยว่า จากคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อาศัยอำนาจในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2560 ให้มีการจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรนํ้าแห่งชาติ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งตรงกับแนวคิดของคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างพ.ร.บ.ทรัพยากรนํ้า พ.ศ.…ในหลักการที่ว่าควรมีหน่วยงานบูรณาการในการจัดการ
บริหารนํ้าเพราะในอนาคตอาจจะมีรัฐบาลผสมหลายพรรค
และเรื่องนํ้าเกี่ยวข้องกับหลายกระทรวง ปัญหาที่ผ่านมาในอดีตคือการบูรณาการ โดยมอบอำนาจภารกิจสำนักงานนี้ไว้คือ บูรณาการข้อมูลสารสนเทศ เป็นฝ่ายแผนงานและโครงการ เป็นฝ่ายงบบริหารจัดการ และเป็นฝ่ายติดตามและประเมินผลการ
บริหารจัดการทรัพยากรนํ้าเพื่อประโยชน์ในการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรทั้งระบบ มีผู้อำนวยการสำนักงานเป็นผู้บังคับบัญชา

แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์ “ต้องจับตามองในขั้นปฏิบัติสำนักงานนี้จะมีโครงสร้างแบ่งสัดส่วนงานภายในอย่างไร ในแง่ที่มีศูนย์ข้อมูลต่างๆที่
เกี่ยวข้องแล้วนำไปบริหารจัดการต่อ เพราะจะเป็นหน่วยงานที่กำหนดนโยบายโดยสำนักงานนี้ทำหน้าที่เป็นฝ่ายประจำในการดูแล และประกาศคำสั่ง กฎเกณฑ์ต่างๆ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการทรัพยากรนํ้าแห่งชาติ (กนช.)ไม่ใช่โดยอธิบดีกรมทรัพยากรนํ้า”

ส่วนความคืบหน้าการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรนํ้าได้ขยายระยะเวลาเป็นรอบ
ที่ 4 รวมกว่า 7 เดือนแล้ว คาดจะพิจารณาเสร็จสิ้นทันตาม
กำหนดภายในวันที่ 25 มกราคม 2561

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,313 วันที่ 12 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว