จาก ‘วังวินด์เซอร์’ สู่ ‘ซีมะโด่ง’ ศตวรรษแห่งสายใยนิสิตหอพักจุฬาฯ

12 พ.ย. 2560 | 05:13 น.
[caption id="attachment_229602" align="aligncenter" width="503"] วังวินด์เซอร์ ปี 2431 วังวินด์เซอร์ ปี 2431[/caption]

เป็นที่ทราบกันดีว่า ย่านสยามซึ่งรวมถึงพื้นที่ตั้งของหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติดอันดับพื้นที่ทำเลทองที่มีมูลค่าที่ดินราคาสูงที่สุดในประเทศไทย แต่เชื่อหรือไม่ว่า บนผืนดินมูลค่ากว่า 2 ล้านบาทต่อตารางวาแห่งนี้ ทุกๆ ปีมีเหล่านิสิตจุฬาฯ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดจำนวนกว่า 3,000 คน ได้มีโอกาสพักอาศัยและร่วมกิจกรรมจนจบการศึกษา ส่งต่อเป็นความประทับใจจากรุ่นสู่รุ่นมาแล้วกว่า 100 ปี

[caption id="attachment_229600" align="aligncenter" width="503"] หอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[/caption]

ย้อนอดีตไปเมื่อครั้งการสถาปนา “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ในปี 2459 ด้วยจุดประสงค์หลักสำคัญของการสร้างสถาบันศึกษาที่ต้องการให้คุณภาพของผู้เรียนทัดเทียมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำของโลก จุฬาฯ จึงได้ให้ความสำคัญในการก่อตั้งหอพักซึ่งผู้เข้าเรียนจุฬาฯ ทุกคน ในสมัยแรกเริ่มนั้นผู้เรียนต้องพำนักอยู่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยในแบบ Residential College ทุกคน นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่า “นิสิต” ซึ่งแปลว่า “ผู้อาศัย” และเป็นคำเรียก “นิสิตจุฬาฯ” ตราบจนถึงปัจจุบัน

MP27-3313-5B แต่เดิมนั้นหอพักตั้งอยู่บริเวณ “วังวินด์เซอร์” ที่ประทับของ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเมื่อทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยนิสิตจุฬาฯ เรียกหอพักแห่งแรกในประเทศไทยนี้ว่า “หอวัง” ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ

MP27-3313-3B เนื่องในโอกาสที่ปี 2560 นี้ ครบ 100 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณาจารย์ นิสิตปัจจุบันและศิษย์เก่าทุกคณะต่างพร้อมใจกันจัดกิจกรรมภายใต้งาน “จุฬาฯ 100 ปี ศตวรรษแห่งความภูมิใจ” มาอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ไม่เพียงจัดงาน “มหัศจรรย์ ๑๐๐ ปี ซีมะโด่ง” ยังมีการจัดทำ “แสตมป์ ๑๐๐ ปี ซีมะโด่ง” และหนังสือ “รฦก ๑๐๐ ปี ซีมะโด่ง” ที่รวบรวมภาพและข้อมูลในแง่มุมต่างๆ เป็นหนังสือบันทึกประวัติศาสตร์ของยุคสมัย ผ่านการบอกเล่าของนิสิตเก่าหอพักจุฬาฯในสมัยนั้นๆ โดยเฉพาะในช่วงตั้งแต่ปี 2495 เป็นต้นมา นับเป็นบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่มีชีวิต (Living History) ซึ่งบันทึกชีวิตความเป็นอยู่ ค่านิยม และทัศนคติ ของคนในยุคสมัยนั้นๆ อย่างหมดจดเชื่อมโยงการศึกษากับเส้นทางประวัติศาสตร์ไทยอย่างแท้จริง

MP27-3313-4B จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,313 วันที่ 12 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว