ส่องขุมทรัพย์คลื่นมือถือ

12 พ.ย. 2560 | 05:17 น.
เป็นเพราะสำนักงาน กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ได้ออกร่างหลักเกณฑ์ รองรับการประมูลคลื่นความถี่ 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์

เหตุผลที่ กสทช. นำคลื่นความถี่ 1800 ออกมาประมูล เนื่องจาก บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ที่ได้สัมปทานจากบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ แคท สัญญาจะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 กันยายน 2561

ทั้งนี้ กสทช.ได้วางไทม์ไลน์คร่าวๆ เอาไว้แล้วว่า ภายในเดือนมีนาคม 2561 ยื่นซองประกวดราคา และจัดประกวดราคาภายในเดือนพฤษภาคม 2561

ปัจจุบันจำนวนคลื่นมือถืออยู่กับกลุ่มทุนสื่อสารรายใดบ้างนั้น “ฐานเศรษฐกิจ” ได้ทำการรวบรวมและถ่ายทอดลงในบรรทัดถัดจากนี้

++เอไอเอส มี 3 คลื่น
สำหรับค่ายมือถือเบอร์1 เอไอเอส หรือ บริษัท แอด วานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) โดยบริษัทในเครือคือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ เอดับบลิวเอ็น ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช.จำนวน 3 คลื่นความถี่ ประกอบด้วย คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่ชนะประมูลในราคา 75,654 ล้านบาท, คลื่นความถี่ 2100 เมกะ เฮิรตซ์ ประมูล 14,625 ล้านบาท และคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ราคา ประมูลอยู่ที่ 40,986 ล้านบาท

ไม่เพียงเท่านี้ เอไอเอส ยังได้เป็นพันธมิตรธุรกิจกับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ แต่ยังไม่มีการเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการ ถ้าทั้ง2 ฝ่ายตกลงทางธุรกิจร่วมกันได้นั้นหมายความว่า เอไอเอส จะมีคลื่นรวมทั้งสิ้น 55 เมกะเฮิรตซ์

MP20-3312-A ++กลุ่มทรู ถือคลื่นสูงสุด
ขณะที่กลุ่มบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จากเดิมที่มีฐานลูกค้าเป็นอันดับ 3 แต่ ณ ปัจจุบัน ทรูมูฟ เอช มีฐานลูกค้าจำนวน 23.6 ล้านราย เบียดแซง ดีแทค ขึ้นเป็นอันดับที่ 2 ปัจจุบัน กลุ่มทรูมีคลื่นความถี่มากสุด ประกอบด้วย คลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ (ซึ่งเช่าใช้จาก แคท), คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ชนะประมูลในราคา 76,298 ล้านบาท, คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ในราคา 39,792 ล้านบาท และ คลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ราคา 13,500 ล้านบาท

++ดีแทค เหลือ 1 ความถี่
ปัจจุบัน ดีแทค มีคลื่นจำนวน 3 ย่านความถี่ คือ 850-1800 และ 2100 เมกะเฮิรตซ์ แต่ถ้ากลางเดือนกันยายน 2561 จำนวนคลื่นของ ดีแทค จะเหลือแค่เพียงคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ประมูลได้ในราคา 13,500 ล้านบาทส่วนคลื่น 850 และ 1800 นั้นจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานกลางเดือนกันยายน 2561

นอกจากนี้แล้วบริษัทในเครือ ดีแทค คือ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ได้รับเลือกเป็นผู้ให้บริการสื่อสารไร้สายคลื่นความถี่ 2300 เมกะเฮิรตซ์ ของ ทีโอที โดย บริษัทเทเล แอสเสท จำกัด จะให้เช่าเครื่องและอุปกรณ์โทรคมนาคมและรับจ้าง บำรุงรักษาโครงข่ายให้กับทีโอที

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1-14 ส่วนบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด จะทำการรับซื้อความจุโครงข่ายในสัดส่วน 60% ของความจุโครงข่ายทั้งหมดจาก ทีโอที โดยเสนอผลตอบแทนคงที่ให้กับทีโอทีคิดเป็น 4.51 พันล้านบาทต่อปี ส่วนการลงทุนโครงข่ายและการเริ่มเปิดให้บริการจะเกิดขึ้นภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2561

ขณะที่คลื่นความถี่ของ แคท และ ทีโอที นั้นมีจำนวนคลื่นความถี่ทั้งสิ้น 2 คลื่นความถี่ (หมายเหตุ : ดูตารางประกอบ)กสทช.เคาะประมูล900/1800

นอกจากนี้แล้วภายในเดือนมีนาคม 2561 สำนักงาน กสทช.ได้กำหนดที่จะนำ 2 คลื่นความถี่ออกมาประมูล คือ คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ และช่วงความถี่ 800-900 เมกะเฮิรตซ์ โดยในช่วงความถี่ 800 มีการปรับปรุงการใช้งาน ไปให้ระบบขนส่งทางรางหรือระบบ GSM-R จึงคงเหลือความถี่ในย่านนี้เพื่อนำออกประมูลขนาด 2x5 เมกะเฮิรตซ์ ช่วง 890-895/935-940 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 5 เมกะเฮิรตซ์ ราคาเริ่มต้นประมูลอยู่ที่ 37,988 ล้านบาท และ คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 37,457 ล้านบาท

ปฏิเสธไม่ได้ว่า คลื่นความถี่ เป็นขุมทรัพย์ที่มีค่าเพราะไม่เช่นนั้นแล้วกลุ่มทุนสื่อ สารจะกล้าควักเงินกว่าหมื่นล้านบาทถือครองใบอนุญาต เพื่อมาต่อยอดธุรกิจจนทำให้เกิดความมั่งคั่งหรือ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,312 วันที่ 9 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว