ครม. ไฟเขียว! "ช้อปช่วยชาติ" ท่องเที่ยวแห้ว

07 พ.ย. 2560 | 14:22 น.
ครม.อนุมัติมาตรการช็อปช่วยชาติ ซื้อสินค้า 15,000 บาท หักลดหย่อนภาษีเงินได้ประจําปี ยอมสูญรายได้ 2,000 ล้านบาท กระตุ้นใช้จ่าย 1 หมื่นล้านบาท ดันเศรษฐกิจโต 0.05%

คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2560 มีมติอนุมัติมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในช่วงปลายปี 2560 ซึ่งมีสาระสำคัญเป็น การยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดา

กับผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้เท่าที่จ่าย เป็นค้าสินค้าหรือเป็นค้าบริการให้กับผู้ประกอบการจดทะเบียน

ภาษีมูลค้าเพิ่มในระหว่าง วันที่ 11 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2560 ตามจํานวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ท่ีปรึกษารัฐมนตรีประจําสํานัก นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มาตรการ นี้จะช่วยให้บริโภคที่มีการขยาย ตัวดีอยู่แล้ว มีการขยายตัวดีขึ้น อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของรายได้ครัวเรือน ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพเศรษฐกิจ โดยรวม เป็นการกระตุ้นอุปสงค์ ในการซื้อสินค้า และบริการในช่วง ปลายปี ซึ่งจะทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

มาตรการนี้จะครอบคลมุเฉพาะการซื้อสินค้าและบริการ เพื่อใช้ในประเทศเท่าน้ัน ซึ่งไม่รวมถึงการซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ น้ํามัน ก๊าซสําหรับเติมยาน พาหนะ และการบริการนั้นไม่รวมถึงการจ่ายค่า บริการให้กับผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว มักคุเทศก์ แพ็กเกจทัวร์ และการจ่ายค่าท่ีพักในโรงแรม ขณะที่การซื้อตั๋ว เครื่องบินในประเทศต้องเป็นสายการบินที่จดทะเบียนมูลค่าเพิ่ม ซึ่งปัจจุบันมีเพียง 2 สายการบิน คือ นกแอร์ และแอร์เอเชีย ที่สามารถนํามาลดหย่อนภาษีได้

นายณัฐพร กล่าวว่า รัฐจะสูญเสียรายได้ประมาณ 2,000 ล้านบาท จากมาตรการน้ี แต่จะเป็นการเพิ่มยอดขายสินค้าและ บริการ คาดว่าจะมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประมาณ 10,000 ล้านบาท และทําให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจเพิ่มข้ึน 0.05% “มาตรการดังกล่าว ใช้ระยะเวลา สั้นๆและให้มีผลเร็วหลังจากประกาศ ไม่เช่นน้ันจะทําให้คนรอในระหว่างท่ีมาตรการยังไม่มีผล คนจะไม่จับจ่ายใช้สอย”


S__1785924

คลังแจงเหตุไม่ใช้ปลายปี
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า มาตรการนี้ที่ไม่ได้ใช้ปลายปีเหมือนในปีที่ผ่านมา เนื่องจากไม่ต้องการให้ประชาชน รู้สึกว่าทุกสิ้นปีจะต้องมี มาตรการนี้ และชะลอใช้จ่ายช่วงนี้เพื่อรอ ไปใช้ช่วงสิ้นปี ดังนั้นปีนี้ จึงทำเป็นพิเศษออกมา หลังจากท่ี ประชาชนผ่านช่วงไว้ทุกข์ไปแล้วเพื่อให้ประชาชนตื่นตัวมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

ทั้งนี้แม้ว่ามาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้รัฐต้องสูญเสีย รายได้ไป 2,000 ล้านบาท แต่จากท่ีผ่านมา 2 ปีที่มีการใช้มาตรการนี้ พบว่าร้านค้ต่างๆ ที่อยู่นอกระบบก็เข้ามาอยู่ในระบบ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มมากข้ึน ร้านอาหารต่างๆ มีการออกใบเสร็จ เพราะทําให้เห็นว่าการเข้ามาอยู๋ในระบบจะได้สิทธิประโยชน์จากมาตรการของรัฐ

นางแพทรีเซีย มงคลวาณิช รองอธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า คาดว่าจะมีการใช้สิทธิ ลดหย่อนภาษีจากมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจ 22,500 ล้านบาท คิดเป็นเงินรายได้ที่จะสูญเสีย 2,000 ล้านบาท เพิ่มข้ึนจากปี 2559 ท่ี มีการใช้สิทธิ 15,000 ล้านบาท สูญเสียรายได้ 1,800 ล้านบาท

ชี้ช่วยกระจายรายได้
นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จํากัด (KBANK) กล่าวว่า การออกมาตรการหักลดหย่อนครั้งนี้ เเนื่องจากการกระจายตัว ของกำลังซื้อไม่ทั่วถึง ซึ่งเป็นโจทย์ที่ภาคธุรกิจต้องเผชิญทั้งกำลังซื้อมีข้อจํากัดอัตราว่างงานเดือนกันยายนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าเกษตรและราคายางย่ำแย่ลง

ประกอบกับดัชนีการบริโภคเอกชนสะท้อนกำลังซื้อยังมีปัญหาอยู่ เพราะตัวเลขการบริโภคเอกชนทที่ดีขึ้นหลัก ๆ มาจาก รถยนต์ เหล่านี้สะท้อนสภาพแวดล้อมท่ียากต่อการทําธุรกิจ ดังนั้น มาตรการนี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องการให้เป็นตัวช่วยหมุนเงิน สําหรับภาคธุรกิจให้มีสภาพคล่องมากกว่าจะมองในแง่ของการเติบโตของตัวเลขจีดีพี แต่จะส่งผลเพิ่มกำลังซื้ออย่างไรน้ันต้องรอผลการตอบรับของมาตรการ

นายจิติพล พฤกษาเมธานันท์ นักกลยุทธ์ตลาดเงิน ตลาดทุนธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากการคำนวณ คร่าวๆ จากภาษีมูลค่าเพิ่มท่ีเก็บ ได้เพิ่มช่วงธันวาคม 2559 - มกราคม2560 คิดกลับไปเป็น มูลค่าการบริโภคตัวเลขอ่ท่ี ประมาณ 5 หมื่นล้านบาทซึ่ง เป็นการบริโภคเพิ่มขึ้นกว่าค่า เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี คิดเป็น เปอรเซ็นต์ต่อจีดีพีรวม 0.3-0.4% แต่รอบนี้คิดว่าราว 1-2 หมื่นล้านบาท

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว