ครม.ไฟเขียวมาตรการช้อปช่วยชาติ 11 พ.ย.-3 ธ.ค.60 วงเงิน 1.5 หมื่นบ.นำไปลดหย่อนภาษีได้

07 พ.ย. 2560 | 07:56 น.
-7 พ.ย.60-นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้(7 พ.ย.60)มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอมาตรการ "ช้อปช่วยชาติ" เพื่อเป็นการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ สามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการวงเงินไม่เกิน 15,000 บาท ยกเว้น สุรา ยาสูบ ที่ใช้จ่ายในช่วงวันที่ 11 พ.ย.-3 ธ.ค.2560 มาหักลดหย่อนภาษีเงินได้

มาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงปลายปี 2560 ซึ่งจะยกเว้นภาษณีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับผู้มีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการรจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในระหว่างวันที่ 11 พ.ย.-3 ธ.ค.2560 ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

"กระทรวงการคลังเห็นว่า เพื่อให้การบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวในเกณฑ์ดีอยู่แล้วมีการขยายตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของรายได้ครัวเรือน อันจะส่งผลดีต่อระบเศรษฐกิจในภาพรวม สมควรให้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 60"เอกสารนำเสนอ ครม.ระบุ

อย่างไรก็ตาม การซื้อสินค้าตามมาตราการดังกล่าวต้องเป็นการซื้อสินค้าพื่อใช้ภายในประเทศหรือบริการเพื่อใช้ภายในประเทศเท่านั้น และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แต่สินค้านั้นไม่รวมถึงการซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ น้ำมัน ก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ และการบริการนั้นไม่รวมถึงการจ่ายค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ซึ่งจะต้องมีหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีเต็มแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร

อ๊ายยยขายของ-7-1 ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง ประเมินว่ามาตรการดังกล่าวจะทำให้มีภาษีสูญเสียประมาณ 2 พันล้านบาท แต่จะช่วยเพิ่มยอดขายสินค้าหรือการให้บริการแก่ผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม โดยคาดว่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจปีนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นราว 0.05%

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า มาตรการลดภาษีช้อปช่วยชาติไม่ได้ไปใช้ปลายปีเหมือนในปีที่ผ่านมา เนื่องจากไม่ต้องการให้ประชาชนรู้สึกว่าทุกสิ้นปีจะต้องมีมาตรการนี้ และชะลอใช้จ่ายช่วงนี้เพื่อรอไปใช้ช่วงสิ้นปี ดังนั้น ในปีนี้จึงทำเป็นพิเศษออกมา หลังจากที่ประชาชนผ่านช่วงไว้ทุกข์ไปแล้ว เพื่อให้ประชาชนตื่นตัวมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

“คลังได้เตรียมมาตรการนี้ไว้ แต่พอมีข่าวออกมา ทุกคนก็รอ คิดว่าถ้าไม่รีบทำทุกคนก็รอ ไม่ใช้จ่าย ก็เลยให้มีผลทันทีในวันที่ 11 พ.ย.นี้"นายอภิศักดิ์ กล่าว

ทั้งนี้ แม้ว่ามาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้รัฐต้องสูญเสียรายได้ไป 2,000 ล้านบาท แต่จากที่ผ่านมา 2 ปีที่มีการใช้มาตรการนี้  พบว่าร้านค้าต่างๆ ที่อยู่นอกระบบก็เข้ามาอยู่ในระบบเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ร้านอาหารต่างๆ มีการออกใบเสร็จ เพราะทำให้เห็นว่าการเข้ามาอยู่ในระบบจะได้สิทธิประโยชน์จากมาตรการของรัฐ
e-book