น้ำท่วมคลี่คลายแล้ว 9 จังหวัด

07 พ.ย. 2560 | 05:33 น.
น้ำท่วมคลี่คลายแล้ว 9 จังหวัด

นายกอบชัย บุญอรณะ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่ากรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย รายงานสถานการณ์อุทกภัยตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายน 2560 ในพื้นที่ 23 จังหวัด ปัจจุบันคลี่คลายแล้ว 9 จังหวัด ยังมีสถานการณ์น้ำท่วมขัง 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิจิตร นครสวรรค์ สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี หนองบัวลำภู ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด รวม 52 อำเภอ 361 ตำบล 1,968 หมู่บ้าน 103,321 ครัวเรือน 269,197 คน อพยพ 47 ครัวเรือน (จ.มหาสารคาม)
kobb1

กองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศ สถานการณ์น้ำและพิจารณาปัจจัยเสี่ยงต่างๆเชิงพื้นที่จากข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2560 เรื่อง พายุ “ดีเปรสชัน” บริเวณอ่าวไทย (มีผลกระทบถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2560) คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีในวันนี้ (7 พ.ย. 60) และจะเคลื่อนลงทะเลอันดามัน ในระยะต่อไป ลักษณะเช่นนี้ทําให้ภาคใต้มีลมแรง และมีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่

ซึ่งปริมาณฝนตกสะสม อาจทําให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินสไลด์ดินถล่ม และลมกระโชกแรง
ช่วงระหว่างวันที่ 6-9 พฤศจิกายน 2560 ในบริเวณพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี
นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล และ
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ จึงขอให้ศูนย์ฯ ปภ.เขต 4 11 12 18 เขต และจังหวัด
ดําเนินการ ดังนี้

1) แจ้งประชาสัมพันธ์สภาพอากาศ เพื่อสร้างการรับรู้และให้ติดตามข่าวสารทางราชการอย่างต่อเนื่อง แนวทางการบริหารจัดการนํ้าและอุทกภัยของรัฐบาล แนวทางปฏิบัติตนให้เกิดความปลอดภัย และช่องทางขอรับการช่วยเหลือจากรัฐ ในกรณีฝนตกหนักและมีข้อบ่งชี้จะเกิดสาธารณภัย (วาตภัย น้ำท่วมฉับพลัน ดินสไลด์หรือดินโคลนถล่ม น้ำป่าไหลหลาก) ให้รีบแจ้งเตือนภัยประชาชน เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์และปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้เช่น การเสริมแนวคันกั้นน้ำ การขนย้ายทรัพย์สิน สิ่งของ ไว้ในสถานที่ปลอดภัยและการเตรียมการอพยพ

2) วิเคราะห์ประเมินสถานการณ์จากปัจจัยปริมาณน้ำฝน น้ำท่า น้ำทะเลหนุน และปัจจัยสภาพความเสี่ยงในพื้นที่ เพื่อประสานและบูรณาการหน่วยงาน เครือข่าย ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเตรียมพร้อมทรัพยากร เครื่องจักรกลสาธารณภัย แผนปฏิบัติการเผชิญเหตุรวมถึงกําลังเจ้าหน้าที่ให้มีความพร้อมบรรเทาภัยปฏิบัติงาน อํานวยความสะดวก และให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยตลอด 24 ชั่วโมง

flo

3) ปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ/แผนเผชิญเหตุ แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และหนังสือบกปภ. ด่วนที่สุด ที่มท 0622 (บกปภ.ช.)/ว249 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2560 และหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง
คาดว่าพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมีดังนี้ ในช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. 60 บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานีรวมทั้งเกาะสมุย และนครศรีธรรมราช ในช่วงวันที่ 7-9 พ.ย. 60 ระนอง พังงา และภูเก็ต

สําหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกําลังแรง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง ส่วนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออก ขอให้ระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิดในระยะนี้

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (ข้อมูลกรมชลประทาน ณ วันที่ 6 พ.ย. 60) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 59,607 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 84 (ปริมาตรน้ำใช้การได้ 36,081 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 76) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เทียบกับปี 2559 (49,566 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 70) มากกว่าปี2559 จำนวน 10,041 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 94.89 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบายจำนวน 103.03 ล้าน ลบ.ม. (น้ำไหลลงอ่างฯ น้อยกว่าน้ำระบาย 8.14 ล้าน ลบ.ม.)สามารถรับน้ำได้อีก 11,568 ล้าน ลบ.ม.

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว