ศึกชิง “คลื่น 5G” เดือด! “ดีแทค” สู้ตาย “ซิคเว่” ดอดพบ “ประจิน” AIS-TRUE-JAS รุมกินโต๊ะ

08 พฤศจิกายน 2560
1746

3 ค่ายมือถือ และ “แจส” ร่วมชิงคลื่น 900-1800 ชี้! “ดีแทค” หลังชนฝา สู้ยิบตา ... ซีอีโอ “เทเลนอร์กรุ๊ป” ดอดพบ “รองประจิน” ด้าน “เอไอเอส” หวังต่อยอดความถี่ 1800 ถ้าชนะได้รวมเป็น 30MHz ... วงในชี้! ต้องการคลื่นเพิ่ม-เตะตัดขาคู่แข่ง

ในที่สุด คณะดำเนินการประมูลและออกแบบของ กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ได้ออกร่างหลักเกณฑ์รองรับประมูลคลื่นความถี่ 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งคลื่น 1800 นั้น บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ได้สัมปทานจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) สัญญาจะหมดอายุลงในวันที่ 15 ก.ย. 2561

แม้ ‘ดีแทค’ ชี้แจงผลประกอบการในไตรมาส 3/2560 มีผู้ใช้บริการอยู่ที่ 23.1 ล้านเลขหมาย โดย 97% ของเลขหมายลงทะเบียนภายใต้ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ตฯ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ถือใบอนุญาตให้บริการคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ จาก กสทช. ขณะที่ ผู้ใช้บริการคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ อยู่ราว 738,000 เลขหมาย แต่ด้วยจำนวน 2 คลื่นความถี่ ของดีแทค คือ ย่าน 850 เมกะเฮิรตซ์ และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ สิ้นสุดในเดือน ก.ย. 2561 ดังนั้น ดีแทคจะเหลือเพียงคลื่นเดียว คือ 2100 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะเป็นเดิมพันสำคัญของดีแทค ที่จะสู้ไม่ถอย

 

[caption id="attachment_217955" align="aligncenter" width="335"] สืบศักดิ์ สืบภักดี นักวิจัยด้านโทรคมนาคม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สืบศักดิ์ สืบภักดี นักวิจัยด้านโทรคมนาคม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ[/caption]

| 900 ราคาตั้งต้นสูงลิบ |
นายสืบศักดิ์ สืบภักดี นักวิจัยด้านโทรคมนาคม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การประมูลคลื่นรอบใหม่นี้ เป็นการประมูลล่วงหน้าของช่วงคลื่นที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในส่วนของดีแทค ซึ่งมีทั้งช่วงความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ และช่วงความถี่ 800-900 เมกะเฮิรตซ์ โดยในช่วงความถี่ 800 มีการปรับปรุงการใช้งาน ไปให้ระบบขนส่งทางราง หรือ ระบบ GSM-R จึงคงเหลือความถี่ในย่านนี้ เพื่อนำออกประมูลขนาด 2x5 เมกะเฮิรตซ์ ช่วง 890-895 / 935-940 เมกะเฮิรตซ์ โดยจะเห็นว่า Bandwidth ของช่วงคลื่นดังกล่าว มีขนาดเพียง 5 เมกะเฮิรตซ์ ในขณะที่ ครั้งก่อนมีขนาด 10 เมกะเฮิรตซ์ ดังนั้น จากการแถลงของ กสทช. ที่กำหนดราคาตั้งต้นที่ 37,988 ล้านบาท จึงถือว่าเป็นราคาที่สูงมากอยู่แล้ว และเป็นสถิติสูงสุด หากจะมีเอกชนสนใจเข้าร่วมประมูลและเคาะแม้เพียงครั้งเดียว

อย่างไรก็ตาม กสทช. ได้บทเรียนจากการประมูลครั้งก่อน รวมถึงคาดการณ์ไม่ถึงว่า ราคาประมูลพุ่งไปสูงมาก ระดับ 35,000 ล้านบาท และเกิดส่วนต่างของหลักประกันกับราคาประมูลมากไป จีงปรับเพิ่มวงเงินหลักประกันในการประมูลครั้งนี้ ให้สูงขึ้นที่ราว 1,900 ล้านบาท ในการริบเข้ารัฐ รวมถึงการกำหนดราคาค่าปรับไว้ 15% ของราคาตั้งต้น หากไม่มารับใบอนุญาตที่ประมูลได้ 5,700 ล้านบาท ถือว่าเป็นการปรับหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมแล้ว

“ต้องยอมรับว่า มี 2 ราย ที่ผ่านการประมูลคลื่นความถี่ และมีคลื่นในมือ 3-4 คลื่นแล้ว 2 ใน 3 ราย รวมถึงการประมูลที่ผ่านมานั้น เกิดต้นทุนจากการประมูลคลื่นในระดับหลายหมื่นล้านและรวมค่าติดตั้งเครือข่ายใหม่ในช่วงที่ผ่านมา ย่อมมีต้นทุนทะลุไปเป็นแสนล้าน ส่วนค่ายจัสมินยังคงซุ่มเงียบ แต่ก็ยังมีโอกาสเข้าประมูลไม่น้อย”


วิทยุพลังงาน

ผู้บริหารโทรศัพท์เคลื่อนที่หลัก 3 ราย ยืนยันก่อนหน้านี้ว่า หาก กสทช. เปิดประมูลคลื่นความถี่ ไม่ว่าจะเป็นย่านใด ก็จะเข้าร่วมประมูลอย่างแน่นอน

| ดีแทคหลังชนฝา |
แม้จะยังไม่ต้องชำระเงินก้อน่าประมูลทีเดียว แต่เอกชนบางรายที่มีความต้องการคลื่นเพิ่มเติมจากการหมดสัญญาสัมปทาน (ดีแทค) เชื่อว่า ทุกรายจะยังคงรักษาท่าที และดูสถานการณ์ของคู่แข่งที่จะยื่นประมูลก่อน

การประมูลบางครั้ง อาจไม่ใช่เพราะขาดคลื่อน แต่ย่อมหมายถึง การสกัดคู่แข่งของตนด้วย สำหรับแจสเชื่อว่า ไม่น่าจะกลับเข้าร่วมประมูลอีก


TP01-3311-1

นอกจากนี้ การให้บริการเครือข่ายมือถือ หรือ เครือข่ายไร้สาย ในปัจจุบัน ไม่ได้แข่งขันกันที่บริการเสียงอีกแล้ว แต่แข่งขันกันที่บริการสื่อสาร Data ซึ่งมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ มารองรับ ทั้ง 4จี และ 5จี ในอนาคต ซึ่งต้องมีคลื่นความถี่มากพอในการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้

“เราจะเห็น Operator บางราย หาคลื่นมาแทนคลื่นที่หมดสัมปทาน และเราจะเห็น Operator บางราย เข้าประมูลเพื่อหาผืนคลื่นความถี่มาต่อยอดบริการที่ตนมี หรือ เอามารวมกับผืนความถี่ก่อนหน้ารวมเป็นผืนใหญ่ ให้ได้เปรียบคู่แข่ง (หมายเหตุ : ปัจจุบัน ‘เอไอเอส’ มีคลื่น 1800 สล็อต 2 [1725-1740 / 1820-1835 MHz] ประมูลในราคา 40,986 ล้านบาท ถ้าได้สล็อตที่ 1 ย่าน [1740-1755 / 1835-1850] จะได้คลื่น 1800 จำนวน 30 เมกะเฮิรตซ์) และเราจะเห็นการเข้าร่วมประมูลเพื่อสกัดคู่แข่งไม่ให้ได้คลื่นเพิ่ม หรือถ้าได้ ก็ต้องมีต้นทุนที่สูงขึ้น”

ขณะที่ จำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย แบ่งเป็น ‘เอไอเอส’ มีจำนวนทั้งสิ้น 40.2 ล้านเลขหมาย, ‘ทรูมูฟ’ มีจำนวน 24.53 ล้านเลขหมาย และ ‘ดีแทค’ มีจำนวน 23.1 ล้านเลขหมาย


โปรโมทแทรกอีบุ๊ก

| ‘ซิคเว่’ พบ ‘ประจิน’ |
เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่ผ่านมา นายซิคเว่ เบรคเก้ ประธานเจ้าหน้าที่ เทเลนอร์ กรุ๊ป ซึ่งถือหุ้นในดีแทค เข้าพบ พล.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และนายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี เพื่อยืนยันว่า ดีแทคให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 1800 และ 900

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจของ ‘ธนาคารไทยพาณิชย์’ หรือ อีไอซี ได้ออกมาวิเคราะห์ว่า การประมูลคลื่นความถี่ทั้ง 2 ย่าน ยังคงมีแนวโน้มแข่งขันสูง โดยปัจจุบัน คนไทยมีการใช้งานข้อมูลเฉลี่ยสูงถึง 5GB/คน/เดือน หรือเพิ่มขึ้นกว่า 25 เท่า จากช่วง 4 ปีก่อนหน้า ส่วนโอกาสที่ผู้ประกอบการรายใหม่จะเข้ามาแข่งขันเป็นไปได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากอัตราการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือของไทยมีแนวโน้มที่จะเริ่มเข้าใกล้จุดอิ่มตัว โดยปัจจุบัน อยู่ที่ 138% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศพัฒนาแล้ว ที่ 127%

 

[caption id="attachment_227841" align="aligncenter" width="399"] ซิคเว่ เบรคเก้ ประธานเจ้าหน้าที่เทเลนอร์กรุ๊ป ซึ่งถือหุ้นใน ดีแทค ซิคเว่ เบรคเก้ ประธานเจ้าหน้าที่เทเลนอร์กรุ๊ป ซึ่งถือหุ้นใน ดีแทค[/caption]

| โบรกคาดแข่งเดือด |
สำนักวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ทิสโก้ฯ ระบุว่า แม้การประมูลนี้จะเป็นข่าวดีต่อ DTAC เนื่องจากราคาประมูลคลื่น 1800MHz ที่ต่ำกว่าคาด (เราคาดไว้ที่ 4 หมื่นล้านบาท) แต่การที่ กสทช. อนุญาตให้ JAS เข้าร่วมการประมูลเป็นสิ่งที่ทำให้ตลาดตกใจ หลังจากที่ JAS ได้เข้าร่วมการประมูลครั้งก่อน และทำให้ราคาสูงขึ้น ก่อนไม่สามารถชำระเงินได้

“เชื่อว่า การจัดประมูลครั้งนี้จะกดดันราคาของกลุ่มสื่อสาร และคาดว่า DTAC จะประมูลไม่เกิน 1 สัญญา DTAC มีความสามารถในการสู้ราคา” และเชื่อว่า มีความเป็นไปได้ที่ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS จะมาเข้าร่วมประมูล

นักวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัสฯ มองการแข่งขันด้านราคาประมูลรุนแรงกว่าที่ตลาดคาด และการแข่งขันของธุรกิจมือถือ คาดว่ายังรุนแรงต่อเนื่องในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ

“ADVANC ไม่ได้เป็นผู้เสียประโยชน์ หรือ ตกในสถานการณ์ที่วิกฤติ เนื่องจากได้คลื่นในการประมูลรอบก่อน และเช่าจาก TOT มากพอสมควร”

| หุ้นกลุ่มสื่อสารร่วงหนัก |
รายงานข่าวระบุว่า นักลงทุนพากันเทขายหุ้นกลุ่มผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3 ราย ร่วงหนัก โดย Advanc ปิดที่ 184.50 บาท ลดลง 3 บาท, Dtac ปิดที่ 44.75 บาท ลดลง 1 บาท, True ปิดที่ราคา 5.70 บาท ลดลง 0.15 บาท เนื่องจากความกังวลในการเข้าประมูลใบอนุญาต ที่คาดว่าจะแข่งขันรุนแรง


หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,311 วันที่ 5-8 พ.ย. 2560 หน้า 01-02



ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1-13