SCG ลงทุนปิโตรฯ ทุ่มกว่า 2 หมื่นล้าน ต่อยอดฐานเดิม ‘อีอีซี’

10 พ.ย. 2560 | 11:45 น.
1837

“เอสซีจี” หนุนนโยบาย “อีอีซี” เร่งศึกษาแผนลงทุนปิโตรเคมี ต่อยอดจากฐานเดิมที่มีอยู่ในภาคตะวันออก เน้นผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าเพิ่ม ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง คาดได้ข้อสรุปปีหน้า ... วงใน เผย ที่ผ่านมาเคยทำแผนลงทุนไว้แล้ว ด้วยงบกว่า 2 หมื่นล้านบาท


นายเชาวลิต เอกบุตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่การเงินและการลงทุน เอสซีจี เปิดเผยว่า จากที่รัฐบาลมีนโยบายการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ทางเอสซีจีมีความสนใจที่จะเข้าไปลงทุนเช่นกันในธุรกิจปิโตรเคมี เนื่องจากพื้นที่อีอีซี โดยเฉพาะ จ.ระยอง ถือเป็นฐานที่ตั้งสำคัญในธุรกิจปิโตรเคมีของเอสซีจีอยู่แล้ว จึงสามารถสนับสนุนนโยบายลงทุนในพื้นที่ดังกล่าวได้

 

[caption id="attachment_227790" align="aligncenter" width="335"] เชาวลิต เอกบุตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การเงินและการลงทุน เอสซีจี เชาวลิต เอกบุตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การเงินและการลงทุน เอสซีจี[/caption]

อย่างไรก็ตาม การเข้าไปลงทุนในอีอีซี ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของแต่ละโครงการอยู่ว่า จะมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด รวมถึงเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ โดยมองว่า เป็นโครงการที่ไม่ใหญ่เหมือนในอดีต แต่จะเป็นโครงการต่อยอดจากฐานปิโตรเคมีที่มีอยู่ นำมาผลิตเป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงกลางน้ำ ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งเป็นการตอบโจทย์ทั้งภาครัฐและของเอสซีจีเอง ที่มุ่งไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ส่วนจะตัดสินใจเข้าไปลงทุนเมื่อใดนั้น หลังจากศึกษาความเป็นไปได้แล้ว คาดว่า ภายในปี 2561 น่าจะสรุปผลและตัดสินใจลงทุนได้

“การลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในพื้นที่อีอีซี คงไม่ได้เป็นโครงการขนาดใหญ่ แต่จะเน้นการต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม (เอชวีเอ) ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกิดการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีชั้นสูง แต่การลงทุนขนาดใหญ่จะเน้นที่เวียดนาม เป็นโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ที่ใช้เงินลงทุนราว 1.8 แสนล้านบาท ที่จะสรุปความชัดเจนภายในสิ้นปีนี้ และเริ่มก่อสร้างได้ช่วงต้นปีหน้า”

ส่วนกรณีที่จะมีการใช้พื้นที่วังจันทร์วัลเล่ย์ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ซึ่งได้ประกาศเขตส่งเสริมนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซีไอ นั้น ทางเอสซีจีคงไม่ตัดสินใจเข้าไปลงทุน เพราะปัจจุบัน เอสซีจีมี Open Innovation Center ร่วมกับ สวทช. อยู่แล้ว ในการร่วมคิดและพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการสู่ตลาด ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และยังเปิดรับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากทั่วโลก ซึ่งมองว่า การมีศูนย์วิจัยและพัฒนาในหลาย ๆ พื้นที่ น่าจะเป็นสิ่งที่ดี เพราะสามารถให้ผู้ประกอบการเข้าถึงนวัตกรรมได้


1840

ขณะเดียวกัน เอสซีจีมีงบประมาณการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในแต่ละปีไว้ ซึ่งในปีหน้าตั้งเป้าหมายที่จะผลักดันการใช้งบในส่วนนี้ขึ้นไปราว 1% ของยอดขายรวม หรือกว่า 4 พันล้านบาท จากที่ปีนี้จะใช้อยู่ราว 2,400 ล้านบาท หรือราว 0.7% ของยอดขายรวม

อีกทั้ง จะเน้นเรื่องของดิจิตอล ซึ่งถือเป็นนโยบายที่สำคัญในการตอบรับ Digital Transformation และ Industry 4.0 ด้วยการนำเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) มาประยุกต์ใช้ เพื่อเสริมประสิทธิภาพระบบปฏิบัติการของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งนำเทคโนโลยี Robotics มาปรับใช้ในกระบวนการผลิตและซ่อมบำรุง เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1-14

แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในช่วงเริ่มต้นของการขับเคลื่อนอีอีซี เอสซจีเคยเสนอแผนการลงทุนในปี 2559 ไปยังคณะทำงานอีอีซี เพื่อสนับสนุนนโยบายด้านการลงทุนในอีอีซี โดยมีแผนที่จะลงทุนด้วยเม็ดเงินประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย โครงการซ่อมบำรุงในโรงงานต่าง ๆ 4-5 พันล้านบาท เป็นการลงทุนใหม่ 6 พันล้านบาท และในส่วนของ ‘เอสซีจี เคมิคอลส์’ 3,300 ล้านบาท รวมถึงงบวิจัยและพัฒนา 6.1 พันล้านบาท โดยเป็นในส่วนของ เอสซีจี เคมิคอลส์ 3.3 พันล้านบาท

โดยในส่วนของ ‘เอสซีจี เคมิคอลส์’ จะเป็นการลงทุนในโครงการ Specialties / Pilot Plant on Nanomaterial / Stabilizer / พลังงานจากกากอุตสาหกรรม รวมทั้งลงทุนด้านการผลิตหุ่นยนต์ Automation ดิจิตอล ผ่าน บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด ตั้งเป้าผลิตหุ่นยนต์ให้ได้ 13 ชนิด ในปี 2560 อีกทั้งบริการติดตั้งระบบอัตโนมัติสำหรับธุรกิจสตาร์ตอัพ และการลงทุนผ่าน บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ฯ ผลิตยาไบโอฟาร์มาซูติคอล และไบโออีโคโนมี


หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,311 วันที่ 5-8 พ.ย. 2560 หน้า 11


| ข่าวที่เกี่ยวข้อง |
1- เจอโจทย์ยาก! SCG สปีดสู้ศึกทุนจีน-ดิจิตอล
2- SCG โชว์ผลงานโตนอกบ้าน


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1-13