‘KFC’เร่งแผนปั้นคน พัฒนาแบรนด์คู่แฟรนไชส์ เสริมแกร่งทีมแบ็กอัพ

05 พ.ย. 2560 | 07:55 น.
เปิดยุทธศาสตร์ “ยัม เรสเทอรองตส์” สร้างขุมกำลังแข็งแกร่ง หลังพลิกบทบาทสู่การบริหารระบบแฟรนไชซีเต็มรูปแบบ พร้อมเปิด RSC BRAND CENTER/แอพพลิเคชัน นำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

หลังจากกลุ่มไทยเบฟเข้าซื้อร้านสาขาของเคเอฟซี จากยัม เรสเทอรองตส์ ประเทศไทย เจ้าของแบรนด์เคเอฟซีและพิซซ่าฮัทที่เหลืออยู่ทั้งหมดราว 240 สาขา รวมทั้งสาขาที่มีแผนจะเปิดในอนาคตไปเมื่อช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาและปิดดีลทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้ ขณะที่ก่อนหน้านี้ยัมได้ขายสิทธิ์แฟรนไชส์ร้านเคเอฟซีในประเทศไทยให้แก่บริษัท เรสตอรองส์ ดีเวลลอปเมนส์ จำกัด หรือกลุ่ม RD ไปแล้วกว่า 100 สาขา และสาขาที่เหลือเป็นของบริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือกลุ่มซีอาร์จี ในเครือเซ็นทรัลกว่า 200 สาขา ส่วนแบรนด์พิซซ่า ฮัท ก็ขายให้กับกลุ่ม PH Capital ของ Thoresen Thai Agencies (TTA) ตระกูลมหากิจศิริ วันนี้การบริหารกิจการของยัม จึงอยู่ในรูปแบบแฟรนไชส์ 100%

บทบาทของยัม เรสเทอรองตส์ ประเทศไทย วันนี้จึงเปลี่ยนไป โจทย์ใหญ่คือการทำอย่างไรให้สินค้าและทีมงานมีคุณภาพมากที่สุด เพื่อให้บรรดาผู้ได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์ได้นำไปพัฒนาภายในร้านให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตามคอนเซ็ปต์ของทางแบรนด์ที่แม้ใครจะได้รับสิทธิ์แต่ภาพรวมและการบริหารงานภายในร้าน จะต้อง ONE BRANDภายใต้การแข่งขันในตลาดร้านบริการด่วน (QSR) ของเมืองไทยที่มีการแข่งขันรุนแรง

โดยนางสาวโมนิก้า โรสเกอรี่ รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายปฏิบัติการและทรัพยากรบุคคล บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า หลังจากบริษัทเปลี่ยนระบบจากการบริหารเองมาสู่รูปแบบแฟรนไชส์ 100% (เต็มรูปแบบในสิ้นปีนี้) สิ่งที่เปลี่ยนไปในด้านการบริหารงาน คือจากเดิมที่บริษัทมีการบริหารจัดการคนทั้งหมดเอง ก็เปลี่ยนให้เป็นแฟรนไชส์ที่ได้รับสิทธิ์เข้ามาบริหารจัดการในสาขาที่แต่ละบริษัทได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์อยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจ้างงาน แต่สิ่งที่บริษัทใน ฐานะเจ้าของแฟรนไชส์จะทำก็คือ ต้องแน่ใจว่าการบริการที่ร้าน ทั้งในส่วนของลูกค้า ประสบการณ์ (Experience) ที่ลูกค้าจะได้รับนั้นต้องเหมือนเดิมทุกอย่างเหมือนก่อนหน้าที่บริษัทบริหารจัดการมาก่อน

“แน่นอนว่าเรื่องสำคัญของการเปลี่ยนระบบมาเป็นแฟรนไชส์ทั้งหมด เรื่องของความรู้สึกของพนักงานที่จะต้องโอนย้ายนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งในขั้นตอนของการโอนถ่ายนั้นจะต้องสร้างความเชื่อมั่นแก่พนักงานในเรื่องของการดูแลสวัสดิการและผลประโยชน์ต่างๆ ของพนักงานให้พนักงานที่เป็นของแฟรนไชส์นั้นอยู่สามารถให้บริการภายใต้มาตรฐานการบริการของเคเอฟซี หลังการเปลี่ยนถ่ายเป็น 100% Franchisee”

MP36-3311-A ทั้งนี้ไม่ว่าลูกค้าจะไปที่ไหนในประเทศไทย คนที่เข้ามาใช้บริการภายในร้านจะต้องมีการบริการลูกค้าและประสบการณ์ในการมาใช้บริการที่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น ชุดยูนิฟอร์ม ร้านมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด และสิ่งที่เราทำให้ในเรื่อง HR ก็จะมีเรื่องของมาตรฐานต่างๆ ที่บริษัททำให้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเทรนนิ่งในแต่ละโปรแกรมที่แฟรนไชส์จะต้องเข้ามาอบรมตามมาตรฐานที่บริษัทกำหนดไว้ รวมถึงมีเครื่องมือ โปรแกรมต่างๆที่ช่วยโค้ชให้ เช่น เครื่องมือช่วยในเรื่องของ
เพอร์ฟอร์แมนซ์ของพนักงาน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าทางแฟรนไชส์จะนำไปใช้ด้านไหน รวมถึงซัพพอร์ตด้านเครื่องมือและโปรแกรมในการพัฒนาคนในแง่ต่างๆที่แต่ละร้านจะนำไปใช้ในการพัฒนา นั่นคือสิ่งที่เปลี่ยนจากการเป็นเจ้าของร้านเองมาเป็นการบริหารจัดการในระบบแฟรนไชส์ทั้งหมด

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ RSC Brand Center เพื่อพัฒนา YUM TEAM พร้อมทั้งเข้ามาดูแลในเรื่อง C&B (Compensation & benefits) ของงาน ทั้งในเรื่องของการกำหนดนโยบาย แนวทางการจ่ายเงิน ค่าตอบแทน สวัสดิการต่างๆ ให้แก่พนักงาน เพื่อให้พนักงานของยัมที่เข้ามาทำงานในแบรนด์เซ็นเตอร์มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีแผนเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเร็วๆนี้ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเมนูใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการอย่างต่อเนื่อง

พร้อมกันนี้บริษัทยังเตรียมพัฒนาแอพพลิเคชันออกมารองรับระบบ HR เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเรื่องของคน สำหรับพนักงานของ ยัมส์ฯนับจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกวันลา ตารางงานต่างๆ เบื้องต้นอยู่ระหว่างการพัฒนาแอพพลิเคชันและหาผู้พัฒนาแอพลลิเคชันโดยคาดว่าจะสามารถเริ่มนำมาใช้งานได้ในต้นปี 2561 เพื่อให้สามารถรองรับพนักงานรุ่น ใหม่ของบริษัทที่นิยมใช้แอพพลิ เคชันบนสมาร์ทโฟนมากกว่าการจดลงบนกระดาษ นอกจากนี้ยังมีแผนพัฒนาต่อยอดไปยังแฟรนไชส์หรือพาร์เนอร์ตแต่ละรายในอนาคต ควบคู่กับแผนการนำแท็บเลตเข้ามาใช้ในระบบในการทำงานทั้งระบบการเช็กสต๊อก รับ-ส่งสินค้า การทำบัญชี ระบบเทรนนิ่งต่างๆ เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้แก่แบรนด์ และลดขั้นตอนของเอกสารที่เป็นแผ่นกระดาษจำนวนมาก

“ยกตัวอย่างเรื่องการพัฒนาด้าน HR และระบบ Operation ที่ผ่านมา บริษัทได้มีการเปลี่ยนยูนิฟอร์มของพนักงานเคเอฟซีแบบใหม่ที่ทันสมัยขึ้น โดยมีการสำรวจจากกลุ่มพนักงานรุ่นใหม่ภายในร้านว่าชื่นชอบสี ดีไซน์แบบไหน เพื่อให้ตอบโจทย์พนักงานมากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างการฟังพนักงานและนำมาปรับใช้ และอีกประการหนึ่งคือการนำระบบบริการตัวเอง (Self Serve) เข้ามาใช้ภายในร้านซึ่งเป็นการรองรับความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ซึ่งถือว่าตอบโจทย์ทั้งในแง่ของงานพัฒนาบุคคลและหน้าร้าน”

ขณะที่ผู้ถือสิทธิแฟรนไชส์ในประเทศไทยนั้นทางแบรนด์มองว่ากลุ่มบริษัทเหล่านั้นไม่ใช่แค่เพียงผู้ซื้อแฟรนไชส์ หากแต่หมายรวมถึงพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจที่มีบทบาทในการพัฒนา นำเสนอไอเดีย และรูปแบบร่วมกัน เพื่อให้แบรนด์เพิ่มประสิทธิภาพของพนักงานมากที่สุด โดยเบื้องต้นมีพาร์ตเนอร์ที่สนใจเสนอไอเดียในการพัฒนาแผนงานร่วมกับทางบริษัทซึ่งคาดว่าแผนงานดังกล่าวจะสามารถนำมาใช้ได้จริงในอีก 1 ปีข้างหน้า แต่อย่างไรก็ตามการนำเสนอไอเดียจะต้องขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และต้องมีการทดลองเห็นผลจริง จึงจะมีการนำแผนงานดังกล่าวมาดำเนินงานร่วมกัน

“แน่นอนว่าเราเปิดโอกาสให้ผู้ที่ได้รับสิทธิแฟรนไชส์เข้ามาร่วมเสนอไอเดียได้ แต่ก็ต้องมีการได้รับอนุญาตและพัฒนา ทดสอบผลร่วมกัน เพื่อให้ทิศทางการดำเนินงานของแบรนด์ไปในแนวทางเดียวกัน และสิ่งแรกที่เรา เน้นเทรนด์พนักงานกันมากคือเมื่อลูกค้าเข้าไปใช้บริการภายในร้านเคเอฟซีความรู้สึกแต่ละสาขาจากผู้ถือสิทธิแฟรนไชส์แต่ละบริษัทจะต้องเหมือนกัน”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,311 วันที่ 5 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว