เกษียณสุขเป็นจริงได้

03 พ.ย. 2560 | 03:53 น.
“การที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Aged Society) ภายในปี พ.ศ.2564 คาดว่าจะมีผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 20 หรือประมาณ 13 ล้านคนจากประชากรทั้งหมด 65 ล้านคน ซึ่งสอดรับกับประชากรในปัจจุบันที่มีอายุเฉลี่ยที่ยาวนานขึ้น ดังนั้นการรับมือกับการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวเพื่อเข้าสู่วัยเกษียณนั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญที่คนไทยทุกคนควรต้อง “ตระหนัก เรียนรู้ และลงมือทำทันที” โดยหากคนไทยมีการจัดการและวางแผนด้านการเงินที่ดี     เชื่อได้เลยว่า “เกษียณสุขเป็นจริงได้” กับคนไทยทุกคนอย่างแน่นอน” คำกล่าวที่เต็มเปี่ยมไปด้วยแรงบันดาลใจและข้อคิดที่ดีจาก คุณเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)

IMG_6339 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชวนคนไทยมีเงินใช้ยามเกษียณ เป็นที่มาของการจัดกิจกรรม SET Inspire: “เกษียณสุขเป็นจริงได้” Happy Money, Happy Retirement เพื่อจุดประกายให้คนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญและเริ่มต้นเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณ โดยได้เชิญ 2 กูรูผู้เชี่ยวชาญ พร้อมไอดอล 3 GEN ที่มาเล่ามุมมองชีวิต และแบ่งปันเคล็ดลับว่าทำอย่างไรจึงจะทำให้ “เกษียณสุข” เพราะเราเชื่อว่า เกษียณสุข ใครๆ ก็ทำได้แค่เริ่มต้นสร้างวินัยการออมสม่ำเสมอตั้งแต่วันนี้ “ชีวิตปัจจุบันก็ดี ชีวิตเกษียณก็มีความสุข”

ผู้เชี่ยวชาญ… ด้านเศรษฐศาสตร์กับสังคมผู้สูงวัย

ศ.ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยถึง สถานการณ์การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ของคนไทยในปัจจุบันได้อย่างน่าสนใจว่า จากข้อมูลสำมะโนประชากรและการเคหะในปีนี้พบว่ามีประชาชนในกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจากเดิม 11.2 ล้านคนเป็น 17.1 ล้านคนของประชากรทั้งหมด และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถึง 20 ล้านคนหรือร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมดในอนาคต โดยปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องนั้น      มีหลากหลายปัจจัย ยกตัวอย่างเช่น ผู้สูงวัยมีอายุยืนมากยิ่งขึ้นจากความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ รวมทั้งประชากรมีบุตรน้อยลง  (ใส่หน้า slide ของ ดร.วรเวศม์) ซึ่งการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุดังกล่าวจะส่งผลโดยตรงต่อสังคมเศรษฐกิจระดับมหภาค เช่น การขาดแคลนกำลังแรงงาน ผลกระทบต่อการออมและรูปแบบการบริโภค ความต้องการระบบสนับสนุนเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายการคุ้มครองทางสังคมเพิ่มขึ้น โดยนโยบายหรือมาตรการของรัฐบาลในขณะนี้ถือได้ว่าเป็นไปในทิศทางที่ดี ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 หรือแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุ รวมทั้งระบบบำเหน็จบำนาญที่ครอบคลุมประชากรวัยทำงานและวัยผู้สูงอายุทุกคนตามอาชีพ อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐแต่ก็อาจจะไม่เพียงพอกับการดำเนินชีวิตในยามเกษียณ ดังนั้น คนในวัยทำงานก็ควรตื่นตัวและตระหนักคิดในการเตรียมตัวทางการเงินเพื่อสร้างความมั่นคงในยามชราภาพ อาทิ การออมและการลงทุน การวางแผนการเงินในระยะยาว และการหาทักษะเพิ่มเติมระหว่างการทำงานเพื่อเป็นอาชีพในอนาคต เป็นต้น

3 GEN กับเคล็ดลับว่าทำอย่างไรจึงจะทำให้ “เกษียณสุข” ต่อเติมแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าร่วมงาน

คนรุ่นใหม่กับความเชื่อ “เกษียณ... เรื่องไกลตัว จะรีบไปทำไม”

คุณพิภู พุ่มแก้วกล้า ผู้ประกาศข่าวรายการเรื่องเล่าเช้านี้ เผยว่า ในฐานะที่ผมเป็นคนรุ่นใหม่ยุค Gen Y ซึ่งอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านระบบอนาล็อคเป็นดิจิตอลนั้น ตนได้มองเห็นสิ่งทันสมัยที่เข้ามาสร้างค่านิยมใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต “จนทำให้กลุ่มคนยุคนี้ อยากมี อยากได้ อยากโชว์ จนลืมเก็บเงิน และเห็นว่าเกษียณเป็นเรื่องไกลตัว” ตามมุมคิดของผมความมั่นคงทางการเงิน คือ การไม่มีหนี้สิน มีบ้านมีรถและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มีหลักประกัน และมีเงินก้อนโตที่มากพอสำหรับใช้ชีวิตหลังเกษียณ ซึ่งปัจจุบันจึงเลือกวิธีการวางแผนการเงินหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การออมและการลงทุน ทั้งอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนตราสารหนี้ เป็นต้น ทั้งนี้ ยังได้เผยเคล็ดลับและเทคนิคการจัดการเงินแบบง่ายๆ ในแบบของตัวเอง 3 ข้อ ได้แก่ 1) Double Zero คำนวณค่าใช้จ่ายด้วยการตัดศูนย์ออกสองตัวเมื่อหักกับรายรับ เช่น ได้เงินมา 50,000 บาท แสดงว่าจะสามารถใช้ได้ 500 บาทต่อวันเท่านั้น 2)จดทุกอย่างที่ซื้อ คือการบันทึกรายรับรายจ่ายที่ได้ถูกปลูกฝังตั้งแต่เด็กๆ และ 3) เก็บธนบัตรใบละ 50 บาท ซึ่งเป็นวิธีที่หลายๆ คนทำกัน พร้อมกับกล่าวทิ้งท้ายด้วยน้ำเสียงที่มีพลังว่า “ทุกวันนี้โลกเปลี่ยน หากคุณอยู่แต่ในเซฟโซนโดยเลือกที่จะไม่เสี่ยง นั้นแหละคือสถานการณ์ที่คุณกำลังเสี่ยง”

คนรุ่นใหญ่กับความเชื่อ “เกษียณ… เรื่องยาก ทำไม่ได้หรอก”

สำหรับคุณหนึ่ง จักรวาล เสาธงยุติธรรม นักดนตรีชื่อดังจากเวที The Mask Singer เล่าว่า ตนเกิดขึ้นในสังคมที่ยากลำบาก แม้จะนำเงินซื้อกระปุกออมสินสักใบยังไม่มีต้องใช้ตะกร้าผ้าเกี่ยวขึ้นมาจากน้ำเน่าหลังบ้าน ซึ่งนี่คือจุดเริ่มต้นในการออมเงินของตัวเอง โดยคุณแม่จะเน้นย้ำเสมอว่า “เราไม่มีเงินจะกิน บ้านต้องขออาศัยเค้าอยู่ ฉะนั้นเราต้องเก็บเงินไว้บางส่วนสำหรับใช้ยามฉุกเฉิน” คติสอนใจในวันนั้นผสมผสานกับความเชื่อในการ “ไม่ละทิ้งโอกาส”      พยายามพัฒนาตนเองจนทำให้ผมก้าวมาสู่การเป็นนักดนตรีแถวหน้าอย่างในวันนี้ เป็นการเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้มากขึ้น  จากที่เชื่อว่าการออมเพื่อการเกษียณเป็นเรื่องยาก ทำไม่ได้หรอก ได้ถูกลบล้างไปจากกระบวนการคิดของผม แม้ชีวิตจะไม่มีอะไรแน่นอนแต่การได้เริ่มออมประสบการณ์ด้านการทำงานควบคู่ไปกับการออมเงินในรูปแบบต่างๆ อาทิ ออมทรัพย์ในบัญชีเงินฝากประจำ การลงทุนในกองทุนรวม และการทำประกันชีวิตให้กับครอบครัวเพื่อวางฐานรากที่ดีในการใช้ชีวิตให้เกิดความมั่นคงยามที่ตนเองต้องเกษียณหรือไม่มีงานทำ และก่อนจบคุณหนึ่งได้แนะนำเทคนิคที่ง่ายที่สุดในการออมเงินแบบ หนึ่ง จักรวาล คือ “การลงมือ ทำ-ทัน-ที” นั่นเอง

คนวัยเก๋ากับความเชื่อ “เกษียณ… มีลูกหลานเลี้ยง กลัวอะไร”

คุณวิรัตน์ สมัครพงศ์ เจ้าของ Facebook Page “เกษียณแล้ว ทำไรดีวะ” เผยว่า ทุกกลุ่มอายุสามารถเริ่มต้นได้เสมอสำหรับการวางแผนด้านการเงิน ย้อนไปเมื่อวัยเด็กครอบครัวมีสมาชิกครอบครัว 11 คน แทบจะไม่รู้จักเลยว่าการออมคืออะไร มีเพียงแต่คำสอนของคุณแม่ที่ว่า “เรามีเงินน้อยก็ต้องใช้น้อย อย่าใช้จ่ายเกินตัว และเมื่อมีเหลือก็มาเจือจุนครอบครัวและออมไว้ใช้” จากวันนั้นจนถึงวันนี้ที่ตนได้เข้าสู่วัยเกษียณนอกจากค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ทุกวันที่หลายคนมองว่าเงิน 4 ล้านบาทกับระยะเวลาในการใช้เงิน 20 ปี หรือ 15,000 บาทต่อเดือน คือเงินออมขั้นต่ำที่แต่ละคนควรมี แต่จริงๆ แล้วอาจจะไม่เพียงพอ เพราะเมื่ออายุเยอะขึ้นสุขภาพก็จะแย่ลงจะต้องมีเงินสำหรับใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล คุณวิรัตน์พูดอย่างน่าคิดว่า “อย่าเอาความสุขไปฝากไว้กับอนาคต” เขาเล่าต่ออีกว่า ไม่เพียงเท่านั้นทัศนคติผู้สูงอายุชาวไทยส่วนใหญ่หวังพึ่งพาลูกหลานและพึ่งการสนับสนุนจากทางภาครัฐมากเกินไป ซึ่งปัจจุบันอัตราเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากรัฐนั้นได้เดือนละ 600 บาท และเพิ่มขึ้น 100 บาทตามช่วงอายุทุกสิบปี ฉะนั้นเราในฐานะที่เกษียณแล้วนั้นต้องหาสมดุลของการใช้ชีวิต ด้วยการนำเอาความรู้ที่มีในวัยทำงานหรือภูมิปัญญา รวมทั้งประสบการณ์มาปรับใช้และสร้างมูลค่าของสิ่งนั้นอย่างมีคุณค่า ถือเป็นช่องทางหนึ่งที่สร้างผลตอบแทนควบคู่ไปกับการออมในรูปแบบต่างๆ พร้อมกับถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการใช้เงินหรือการวางแผนที่ดีให้กับลูกหลานเพียงเท่าเท่านี้คุณก็สามารถเกษียณสุขได้อย่างมีความสุขในทุกวัน

ผู้เชี่ยวชาญ… ด้านการวางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณ

คุณวิโรจน์ ตั้งเจริญ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า เป้าหมายเกษียณนั้นสามารถพิชิตได้ด้วยแผนการเงิน ซึ่งแบบแผนที่เรียบง่ายและสามารถทำได้ในทันทีสำหรับทุกเพศ ทุกวัย และทุกกลุ่มอายุ คือ การออม นอกจากนี้ควรวางแผนเกษียณสุข ด้วย Retirement Planning หรือการคำนวณหาเงิน 3 ส่วน เพื่อเตรียมตัวออมอย่างเป็นระบบ คือ 1.เงินที่ต้องใช้ในวัยเกษียณ ต้องใช้เท่าไหร่ 2.เงินออมที่มีเพื่อวัยเกษียณจากแหล่งต่างๆ ว่ามีแล้วเท่าไหร่ และ 3.เงินที่ต้องออมเพื่อวัยเกษียณ ขาดเหลือเท่าไหร่ ที่สำคัญต้องไม่ผลัดวันประกันพรุ่งด้วย นอกจากนี้ ยังได้แนะนำเทคนิค 3 พลังมหัศจรรย์ สร้างเงินออมก้อนโต โดยพลังที่ 1 คือ “เงินออม” ยิ่งออมมากยิ่งดี พลังที่ 2 “ระยะเวลา” ออมต่อเนื่องยิ่งนานยิ่งดี และพลังที่ 3 “อัตราผลตอบแทน” ยิ่งเยอะยิ่งดี ซึ่งยิ่งพสาน 3 พลังได้เยอะและเร็วก็จะทำให้ได้เงินออมก้อนโตได้เร็วยิ่งขึ้น (ใส่ Slide 3 พลังมหัศจรรย์) การลงมือทำในทันทีและยึดหลักแนวคิดง่ายๆด้วยการ “เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ลงทุนสม่ำเสมอ” พร้อมก่อนจบได้กล่าวทิ้งท้ายด้วยข้อคิดที่น่าสนใจว่า “แค่เปลี่ยนวิธีคิด ก็พลิกชีวิตในอนาคต ลงมือทำทันทีเพื่อสุขยามเกษียณ”

สำหรับบรรยากาศของกิจกรรมเป็นไปอย่างคึกคักและเพียบพร้อมไปด้วยเรื่องรอบรู้ที่หลากหลาย ทั้งการ Talk show จากผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนด้านการเงิน การจัดบูทกิจกรรม การให้คำปรึกษาด้านการออมและการลงทุนต่างๆเพื่อเตรียมตัวสู่การเป็นเกษียณสุข โดยได้รับผลตอบรับที่ดีจากกลุ่มผู้ฟังวัยทำงานรวมไปถึงวัยเกษียณกว่า 500 คน ซึ่งจากการสอบถามนางสาวภาพเพลง (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 23 ปี พนักงานเอกชน เล่าถึงความรู้สึกและประโยชน์ที่ได้รับจากงานสัมมนาในวันนี้ว่า งานนี้เป็นการจุดประกายที่สำคัญ ไม่เฉพาะแต่กลุ่มคนวัยทำงานที่มีประสบการณ์ ตนในฐานะพนักงานเอกชนที่เพิ่งจบจากการศึกษาก็สามารถเข้ามาฟังและนำแนวคิดหรือแบบแผนการออมจากผู้มีประสบการณ์ไปปรับใช้ได้อย่างสร้างสรรค์ ที่สำคัญได้แรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตทั้งในแง่การเพิ่มทักษะการทำงานและทัศนคติการสร้างสมดุล เช่นเดียวกับนายสุชาติ ลีละสมบัติ เจ้าของกิจการวัย 60 ปี ที่เห็นว่า งานในวันนี้คือจุดเริ่มต้นที่ดีให้กับประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานเข้ามารับฟังเพื่อสร้างองค์ความรู้และเทคนิคการวางแผนชีวิตเพื่อก้าวสู่วัยเกษียณในอนาคตได้อย่างเป็นสุข ซึ่งตอนนี้ผมได้อยู่ในวัยเกษียณอย่างเต็มตัวแต่ก็ไม่หยุดนิ่งด้านการวางแผนการออมและสร้างรายได้ พร้อมกับหาโอกาสและช่องทางการทำให้การเงินงอกเงยอยู่อย่างสม่ำเสมอ

เกษียณสุขเป็นจริงได้ เมื่อคุณ ตระหนัก เรียนรู้ และลงมือทำทันที ผู้สนใจสามารถเรียนรู้ผ่านสื่อความรู้ออนไลน์ พร้อมรับฟังสัมมนาด้านการวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณออนไลน์ หรือวางแผนผ่านโปรแกรมคำนวณได้ที่ www.set.or.th/happymoney อ๊ายยยขายของ-7-1