เกษตรฯ ชง! ช่วยพิเศษ “นาแก้มลิง”

02 พ.ย. 2560 | 04:23 น.
1152

รัฐจ่ายหมื่นล้านเยียวยา 17 จังหวัดน้ำท่วมขัง สั่งเฝ้าระวัง 8 จังหวัดใต้ รับมือฝนตกหนัก หวั่นท่วมฉับพลัน ... “ฉัตรชัย” ชงรัฐบาลสัปดาห์หน้าช่วยเหลือพิเศษพื้นที่แก้มลิง

จากที่ยังมีสถานการณ์น้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ กลาง และอีสาน ขณะที่ ในพื้นที่ภาคใต้จ่อคิวที่จะมีฝนตกหนัก และอาจเกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันนั้น

นายกอบชัย บุญอรณะ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงสรุปผลการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติของ ปภ. กรณีอุทกภัย ตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค. ถึง 10 ต.ค. 2560 (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ต.ค. 2560) ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า ได้จ่ายเงินไปแล้วรวมทั้งสิ้น 542.5 ล้านบาท


บาร์ไลน์ฐาน

สำหรับสถานการณ์อุทกภัย (ณ วันที่ 31 ต.ค. 2560) ในพื้นที่ 23 จังหวัด ล่าสุด ยังมีน้ำท่วมขัง 17 จังหวัด ใน 57 อำเภอ 390 ตำบล 2,154 หมู่บ้าน รวม 1.1 แสนครัวเรือน จำนวน 2.91 แสนคน อาทิ สุโขทัย, พิจิตร, นครสวรรค์, อุทัยธานี, สิงห์บุรี และลพบุรี เป็นต้น

ขณะเดียวกัน กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ติดตามสภาวะอากาศและสถานการณ์น้ำในช่วงวันที่ 1-3 พ.ย. 2560 ภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นเกือบทุกพื้นที่ ตั้งแต่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จนถึงนราธิวาส โดยอาจจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก มีโอกาสน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, ระนอง, พังงา, ภูเก็ต และกระบี่ ส่วนสถานการณ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยายังมีระดับน้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีพื้นที่อยู่ภาวะเสี่ยง ได้แก่ สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, ปทุมธานี, นนทบุรี และกรุงเทพฯ


TP15-3310-3

แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยรายงานจากศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปความช่วยเหลือสถานการณ์อุทกภัย (วันที่ 30 ต.ค. 2560) ช่วงแรก (วันที่ 5 ก.ค. ถึง 15 ส.ค. 2560) มีความเสียหายจากพายุตาลัส-เซินกา จำนวน 44 จังหวัด สำรวจความเสียหายเกษตรกร รวม 4.35 แสนราย วงเงินช่วยเหลือ 3,665.7 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ที่เกษตร 3.22 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าว 2.96 ล้านไร่, พืชไร่ 0.25 ล้านไร่, พืชสวนและอื่น ๆ 0.01 ล้านไร่

นอกจากนี้ ยังมีงบฟื้นฟูตามระเบียบกระทรวงการคลัง มีงบทดรองราชการในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดช่วยเกษตรกร รวม 4.54 หมื่นราย วงเงิน 282.2 ล้านบาท ขณะที่ มีความก้าวหน้าการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ ครัวเรือนละ 3,000 บาท จำนวน 43 จังหวัด มีเกษตรกรยื่นแบบความจำนงแล้ว 1.89 ล้านครัวเรือน ในจำนวนนี้ผ่านการพิจารณาระดับจังหวัดแล้ว 1.65 ล้านครัวเรือน วงเงิน 4,979.2 ล้านล้านบาท ล่าสุด (ณ วันที่ 30 ต.ค. 2560) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้โอนให้เกษตรกรแล้ว 1.47 หมื่นครัวเรือน วงเงิน 44.1 ล้านบาท รวมงบช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม 2 หน่วยงาน มหาดไทยและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กว่า 9,470 ล้านบาท

ขณะที่ ช่วงภัยน้ำท่วม ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. ถึงปัจจุบัน มีพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวน 23 จังหวัด เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ 1.61 แสนราย พื้นที่ 1.45 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าว 1.07 ล้านไร่, พืชไร่ 0.34 ล้านไร่, พืชสวนและอื่น ๆ 0.04 ล้านไร่ ยังมีพื้นที่น้ำท่วมขังใน 17 จังหวัด ความเสียหายจะสำรวจอีกครั้งหลังจากน้ำลดลงแล้ว


1154

อย่างไรก็ดี ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัปดาห์หน้า พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สัปดาห์หน้าจะนำเสนอมาตรการพิเศษในการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกร ที่ได้เสียสละพื้นที่ให้เป็นแก้มลิงธรรมชาติและทุ่งรับน้ำ ในเขต อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก และ 12 ทุ่ง ซึ่งเป็นพื้นที่ใต้ จ.นครสวรรค์ ลงมา

ด้าน นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า ที่ประชุม ครม. (31 ต.ค. 60) ได้มีมติเห็นชอบขยายเวลามาตรการด้านภาษี โดยผู้บริจาคเงินหรือทรัพย์สินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยระหว่างวันที่ 1 พ.ย. ถึง 31 ธ.ค. 2560 สามารถนำไปหักเป็นค่าลดหย่อน หรือรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้เพิ่มขึ้น จากสิทธิการหักรายจ่ายตามปกติอีกเป็นจำนวน 50



หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,310 วันที่ 2-4 พ.ย. 2560 หน้า 15


| ข่าวที่เกี่ยวข้อง |
1- ก.เกษตรฯ ปรับลดระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา พร้อมรับมืออุทกภัยทางภาคใต้
2- อนุมัติร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าบริการตรวจสอบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรฯ



ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว