ศาสตร์พระราชาตำราของพ่อ (8) วิชาปลูกรักษ์

05 พ.ย. 2560 | 03:43 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

วิชา 9 หน้า ศาสตร์พระราชาตำราของพ่อ ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประ เทศไทย (ททท.) ได้ดึง 9 บุคคลผู้มีอิทธิพลทางความคิดในแต่ละแวดวง มาร่วมสืบสานปณิธานพ่อ ผ่านการ นำเสนอใน 9 วิชา ที่ทรงใช้พัฒนาชีวิตคนไทยให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน

Take A trip ฉบับนี้ ขอนำเสนอ “วิชาปลูกรักษ์” ซึ่งถ่ายทอดการร่วมสืบสานปณิธานพ่อ โดย “น้องชื่นใจและคุณแม่พนิดา เอี่ยมศิรินพกุล” อดีตบรรณาธิการและนักเขียน สำนักพิมพ์ polkadot และลูกสาวไอดอลวัยจิ๋วขวัญใจชาวเน็ต ที่จะนำคุณไปเยือน “สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่” เพื่อเรียนรู้ “การปลูกป่าในใจคน” จากกาแฟต้นเดียวของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ช่วยสร้างป่าให้สมบูรณ์ ใครจะเชื่อว่าปัญหาฝิ่นที่อยู่คู่สังคมไทยมานานกว่า 600 ปี จะหายไป

MP22-3310-7A ย้อนไปเมื่อปี 2512 ระ หว่างที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯไปยังหมู่บ้านของชาวเขาเผ่าม้ง ระหว่างทางทรงทอดพระเนตรเห็นต้นท้อพื้นเมือง จึงสอบถามชาวเขาละแวกนั้นว่า “ปลูกฝิ่นได้เงินเท่าใด และเก็บท้อพื้นเมืองขายได้เงินกี่บาท” ปรากฏว่าขายได้ราคาพอกันทั้งคู่ ทรงคิดว่าถ้าปลูกท้อลูกนิดๆ แล้วยังทำเงินได้ดีเท่ากับปลูกฝิ่น ก็ควรเปลี่ยนไปปลูกท้อลูกใหญ่ๆ แทน โดยจะทรงช่วยรับซื้อและจัดหาตลาดให้ และพอขายได้จำนวนมากๆ แล้ว สุดท้ายฝิ่นก็คงสูญหายไปเอง

MP22-3310-4A MP22-3310-3A จากนั้นก็ทรงเริ่มพัฒนาทีมงานขึ้นมา ครั้งแรกได้พระราช ทานเงินให้คณะทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จำนวน 2 แสนบาท เพื่อซื้อที่ดินเกษตรบนดอยปุย ก่อตั้งสวน 2 แสนบาท เพื่อทำหน้าที่วิจัยและค้นหาพืชใหม่ๆ ให้ชาวเขาปลูกทดแทน และภายหลังก็ทรงมอบหมายให้ “ม.จ.ภีศเดช รัชนี” รวบรวมนักวิชาการเกษตรเพิ่มเติม จนต่อยอดสู่ “โครงการหลวง” ห้องเรียนของพ่อบน ดอยสูงที่สุดของประเทศ

ขณะที่ทีมวิจัยทำงานอย่างหนัก พระองค์ก็ไม่ทรงหยุดนิ่ง ทรงชักชวนให้ชาวเขาลองหันมาปลูกพืชผักเมืองหนาวแทนการปลูกฝิ่น ทรงเห็นว่าหากดึงชาวเขามาเป็นแนวร่วมได้ ก็เท่ากับประเทศชาติจะมีกำลังสำคัญในการดูแลป่าต้นนํ้า จากการทำงานทั้งเชิงรับและเชิงรุกบวกกับความร่วมมือของนานาชาติ ทำให้โครง การหลวงมีเมล็ดพันธุ์มากมายสำหรับการทดลองให้ชาวเขาปลูก อาทิ แอปเปิล พลับ สาลี่ บ๊วย และที่น่าสนใจที่สุดคือ “เมล็ดกาแฟพันธุ์อาราบิก้า” ซึ่งได้รับถวายมาจากประเทศปาปัวนิวกินี

MP22-3310-1A MP22-3310-2A โดยมีเรื่องเล่าว่าเมื่อปี 2517 ครั้งหนึ่งระหว่างเสด็จฯเยี่ยมราษฎรบนดอย ม.จ.ภีศเดช รัชนี ได้กราบทูลว่าชาวเขาที่บ้านหนองหล่ม ในพื้นที่เกษตรหลวงอินทนนท์ เริ่มลงมือปลูกกาแฟบ้างแล้ว จึงอยากทูลเชิญไปเยี่ยมชม แต่เนื่องจากทางที่ไปเป็นเขาสูง ไม่มีถนน ต้องเดินเท้าอย่างเดียวเกือบ 2 ชั่วโมง กว่าจะถึงปากทางหมู่บ้าน แล้วยังต้องเดินต่ออีก 1 กิโลเมตร ถึงจะพบไร่กาแฟ และสิ่งที่ปรากฏวันนั้นคือ “ทั้งไร่มีกาแฟขึ้นเพียงต้นเดียวเท่านั้น”

ทำให้เกิดความฉงนจากบรรดาผู้ที่ติดตามเสด็จฯต่างๆ พระองค์จึงทรงอธิบายเหตุผลให้ฟังว่า “เราเพิ่งให้พันธุ์กาแฟไปเมื่อปีกลาย กะเหรี่ยงไม่เคยปลูกกาแฟเลย เหลือต้นเดียว ก็ถือว่าก้าวหน้าแล้ว ไม่เหลือเลยมันแย่ แต่นี่ปลูกได้ต้นหนึ่ง แปลว่าก้าวหน้าแล้วถึงต้องตามไปดู”

MP22-3310-5A จากกาแฟต้นเดียวในวันนั้น กาแฟอาราบิก้า ได้นำรายได้มหาศาลมาสู่ชาวเขาในวันนี้ เช่นเดียวกับยอดดอยที่คืนความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ก็เพราะมีในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นแรงผลักดันที่สำคัญนั่นเอง นอกจากนี้ ณ สถานีวิจัย โครงการหลวงดอยอินทนนท์ คุณจะค้นพบโลกแห่งห้อง เรียนใหญ่ ที่มีทั้งการวิจัยและปรับปรุงพืช ดอกไม้นำเข้าจากต่างประเทศ พันธุ์กาแฟอาราบิก้า ไปจนถึงแหล่งเลี้ยงและขยายพันธุ์ปลาเรนโบว์ เทราต์ และปลาสเตอร์เจี้ยน ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ และการอนุรักษ์พันธุ์ไม้โบราณ พวกกุหลาบพันปี และต้นสนโบราณหายากอีกด้วย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,310 วันที่ 2 - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1-13