โจรสลัดอันดามัน : เร่งแก้น้ำท่วมซ้ำซาก

01 พ.ย. 2560 | 08:12 น.
1509519845196 300174 กรมชลประทานรายงานสถานการณ์น้ำในพื้นที่ตอนบนเริ่มดีขึ้น หลังปริมาณน้ำในแม่เจ้าพระยาบริเวณอำเภอเมืองจังหวัดนครสวรรค์ลดลงเหลือ 2,979 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที(ลบ.ม./วินาที)แนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องและไม่มีการระบายน้ำเพิ่ม ปัจจุบันปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาได้ไหลมาถึงบริเวณจังหวัดปทุมธานี นนทบุรีและกรุงเทพมหานครแล้ว

พื้นที่น้ำท่วมด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จะเป็นพื้นที่ที่อยู่นอกคันกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่อำเภอสรรพยาจังหวัดชัยนาท อำเภออินทร์บุรี อำเภอพรหมบุรี อำเภอเมืองจังหวัดสิงห์บุรี อำเภอป่าโมกจังหวัดอ่างทอง อำเภอบางบาลอำเภอผักไห่ อำเภอเสนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำนวน 14 จุด ปริมาณน้ำที่ไหลผ่าน อำเภอบางไทรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันมีอัตราการไหลเฉลี่ย 2,826 ลบ.ม./วินาที ยังต่ำกว่าความจุของลำน้ำที่รับน้ำได้สูงสุด 3,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล
1509521790348 แต่สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ยังคงไม่น่าไว้วางใจ แม้สภาวะฤดูฝนจะสิ้นสุดลงแล้ว และเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการ โดยจะมีฝนตกลงมาบ้างก็เพียงประปรายเท่านั้น เป็นการส่งท้ายฤดูกาล ก่อนเข้าฤดูกาลใหม่ แต่ปริมาณน้ำค้างทุ่งที่รอการระบาย ยังคงตกค้างประมาณ 1,400 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ภาคกลางเลาะริมแม่น้ำเจ้าพระยาจาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ ไล่มาจนถึงพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี จนถึงกรุงเทพฯยังคงมีปริมาณน้ำท่วมขังรอระบาย สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านแสนสาหัส กระทั่งพื้นที่ภาคอีสานก็เช่นกันที่มีกรณีอ่างเก็บน้ำแตกต้องเร่งซ่อมอย่างเร่งด่วน
S__5218312 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของรัฐบาลว่าด้วยสถานการณ์น้ำ ขาดการบูรณาการอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้เกิดความสับสนและความหวาดวิตกขึ้นในสังคม โดยเฉพาะเกิดการคาดการณ์เปรียบเทียบกับวิกฤติมหาอุทกภัยเมื่อปี 2554 ซึ่งทุกคนยังบันทึกภาพจำวิกฤติอย่างไม่ลืมเลือน ซึ่งทุกคนมีสิทธิ์คิดถึงฝันร้ายในครั้งนั้นได้ เพราะในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปีนั้นจนถึงปีนี้ แทบไม่ได้เห็นรูปธรรมของการจัดการแก้ปัญหาน้ำในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานในการป้องกัน มีเพียงการนำเสนอข้อมูลการสร้างฟลัดเวย์ทางระบายน้ำเพื่อเลี่ยงผลสูญเสีย แต่ไม่ปรากฎการเริ่มดำเนินการ
S__5218315 ถึงเวลาที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จะต้องดำเนินการบูรณาการจัดการน้ำทั้งระบบและเริ่มลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่เพียงการออกคำสั่งรวมศูนย์การจัดการน้ำไว้ที่สำนักนายกรัฐมนตรีเท่านั้น แต่ควรเป็นการเริ่มลงหลักปักเข็ม เหมือนกับลงมือในโครงสร้างพื้นฐานในส่วนรถไฟฟ้าและระบบรถไฟ ...ต้องไม่ให้น้ำท่วมกลับมาหลอกหลอนซ้ำซาก

S__5218308 .....................
คอลัมนิสต์ :โจรสลัดอันดามัน /เว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจออนไลน์

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว