ปภ.สั่งเตรียมรับมือน้ำท่วมฉับพลันวันที่ 2-4 พ.ย.นี้

01 พ.ย. 2560 | 05:41 น.
นายกอบชัย บุญอรณะ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่าพยากรณ์อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์สาธารณภัย 3 วันข้างหน้า กล่าวคือตั้งแต่วันที่ 2-4 พฤศจิกายน 2560 ว่าอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นจะส่งผลให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกชุกต่อเนื่อง มี 12 จังหวัดเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และสตูล

"ทางกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (กอปภ.ก.) ได้สั่ง 2 มาตรการ ได้แก่ 1. แจ้งประชาสัมพันธ์สภาพอากาศ เพื่อสร้างการรับรู้และให้ติดตามข่าวสารของทางราชการอย่างต่อเนื่อง แนวทางการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยของรัฐบาล แนวทางปฏิบัติตนให้เกิดความปลอดภัยและช่องทางขอรับการช่วยเหลือจากรัฐในกรณีฝนตกหนัก และมีข้อบ่งชี้จะเกิดสาธารณภัย(อุทกภัยน้ำท่วมฉับพลัน ดิน สไลด์หรือดินโคลนถล่ม น้ำป่าไหลหลาก) ให้รีบแจ้งเตือนประชาชนเพื่อเตรียมพร้อมสําหรับรับสถานการณ์และปฏิบัติตามแนวทางที่กําหนดไว้เช่น การเสริมแนวคันกั้นน้ำ การขนย้ายทรัพย์สิน สิ่งของ ไว้ในสถานที่ปลอดภัยและเตรียมการอพยพ
pp

2) วิเคราะห์ปริมาณสถานการณ์จากปัจจัยที่มีน้ำฝน น้ำท่า และปัจจัยสภาพความเสี่ยงในพื้นที่เพื่อ
ประสานและบูรณาการหน่วยงาน เครือข่าย ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เตรียมพร้อมทรัพยากรเครื่องจักรกลสาธารณภัย แผนเผชิญเหตุรวมถึงกําลังเจ้าหน้าที่ให้มีความพร้อมบรรเทาสาธารณภัยปฏิบัติงานอํานวยความสะดวก และให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยตลอด 24 ชั่วโมง"

นายกอบชัย กล่าวต่อว่า สถานการณ์อุทภภัย ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังอยู่ 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี หนองบัวลำภู ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด รวม 55 อำเภอ 387 ตำบล 2,136 หมู่บ้าน 110,565 ครัวเรือน 290,484 คน

pp1

ด้านนายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษา กรมชลประทาน เผยถึงแผนการบริหารจัดการน้ำและการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทาน ปี 2560/61 ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 มีปริมาณน้ำใช้การได้ 3 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร โดยจัดสรรน้ำตามลำดับความสำคัญดังนี้ 1. เพื่อการอุปโภคบริโภค 1,100 ล้านลูกบาศก์เมตร 2. เพื่อการรักษาระบบนิเวศน์และอื่นๆ 1,400 ล้านลูกบาศก์เมตร 3. สำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝน 4,000 ล้านลูกบาศก์เมตร 4. เพื่อการเกษตร 400 ล้านลูกบาศก์เมตร และ 5.น้ำที่เหลือ 7,100 ล้านลูกบาศก์เมตรไว้สนับสนุนข้าวนาปรัง

แต่ไม่ได้หมายความว่าจะใช้น้ำทั้งหมด การปลูกข้าวแต่ละชนิดจะใช้พื้นที่เท่าไร อยู่ภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เพื่อนำไปใช้ในการบริหารจัดการผลผลิตข้าวได้อย่างถูกต้อง เพราะหากปลูกมากผลผลิตตกต่ำชาวนาก็เดือดร้อนอีก เพื่อให้สมดุลกับการตลาด

e-book