เขื่อนอุบลรัตน์ลดการระบายน้ำเหลือวันละ 30 ล้านลบ.ม.

01 พ.ย. 2560 | 04:35 น.
เขื่อนอุบลรัตน์ลดการระบายน้ำออกจากเขื่อนเหลือวันละ 30 ล้าน ลบ.ม. ตามการสั่งการของนายกฯวันแรก

-1 พ.ย.60- วันนี้(1 พ.ย.60)เป็นวันแรกที่เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ปรับลดการระบายน้ำออก จากเดิมวันละ 38 ล้าน ลบ.ม. เหลือวันละ 30 ล้าน ลบ.ม. ตามคำสั่งจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทน์โอชา นายกรัฐมนตรี หลังเสร็จสิ้นการลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในกลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนกลางและสถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ผ่านมา (31 ต.ค.)

1509507576845 โดยการปรับลดการระบายน้ำ เนื่องจากขณะนี้แม่น้ำพองมีระดับน้ำที่เกินกว่าที่จะรองรับได้ ( แม่น้ำพองรับน้ำได้ที่ 38 ล้าน ลบ.ม.) และมวลน้ำได้ไหลท่วมพื้นที่ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ โดยเฉพาะที่ อ.น้ำพองและ อ.เมือง ขณะที่มวลน้ำจำนวนมากมีกระแสน้ำที่เชี่ยวกราด กัดเซาะคันดินพนังกั้นน้ำที่คลองส่งน้ำ 3L-RMC ที่ บ.คุยโพธิ์ ต.บึงเนียม อ.เมือง พังทลายลงมาเป็นความยาวกว่า 30 เมตร แม้ว่าเจ้าหน้าที่กรมชลประทานจะสามารถปิดกั้นแนวคันดินดังกล่าวได้แล้ วแต่ยังมีมวลน้ำจำนวนมากไหลเข้าท่วมพื้นที่หลังแนวคันดินดังกล่าว ซึ่งการปรับลดการระบายน้ำดังกล่าวนอกจากเป็นการลดปริมาณน้ำที่ไหลมาตามแม่น้ำพองแล้ว ยังคงเป็นการแก้ไขสถานการณ์น้ำในภาพรวม โดยเฉพาะพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมในกลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนกลาง ให้มีการเร่งระบายน้ำจากแม่น้ำพอง และแม่น้ำชี ให้ไหลผ่าน จ.ขอนแก่น,กาฬสินธุ์,มหาสารคาม,ร้อยเอ็ด,ยโสธร และลงแม่น้ำโขง ที่ จ.อุบลราชธานี ให้ได้โดยเร็ว

ด้านประตูระบายน้ำ D8 ห้วยพระคือ ต.พระลับ อ.เมือง เจ้าหน้าที่ยังคงเร่งสูบน้ำออกจากเขตพื้นที่ชุมชนเมืองชั้นใน เพื่อลงสู่แม่น้ำชีอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง โดยทำการสูบน้ำจากมวลน้ำที่ไหลทะลักเข้ามาจากการพังทลายของแนวคันดินกับมวลน้ำในเขตชุมชนเมือง ที่จะต้องสูบน้ำออกให้ได้อย่างน้อยที่สุดวันละ 7 ล้าน ลบ.ม.  เพื่อให้พื้นที่เขตเมืองกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ซึ่งจากแผนการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการน้ำดังกล่าว นายทองเปลว กองจันทร์  รองอธิบดีกรมชลประทาน ยืนยันว่าสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ชุมชนเมืองชั้นในหลังพนังกั้นน้ำของคลองส่งน้ำ 3L จะลดระดับลงและกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 14 วัน

ขณะที่ ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น นายคณุสสัน  ศุภวัตรวรคุณ เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ประชุมร่วมระหว่างนักวิชาการและชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบและประสบปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนบนและตอนกลาง เพื่อประเมินสภาพการณ์ภัยพิบัติภูมินิเวศน์ลุ่มหนองหาร,น้ำอูน,น้ำพานและลุ่มแม่น้ำชี เพื่อรับฟังความคิดเห็นและการเสนอแนวทางการแก้ไขสถานการณ์น้ำท่วมและภัยพิบัติต่างๆที่เกิดขึ้นในลุ่มแม่น้ำหลักที่สำคัญของภาคอีสานในมุมของชาวบ้าน โดยมีนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาในภาคอีสาน รวมทั้งผู้แทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบขากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.เลย,กาฬสินธุ์,มหาสารคาม,ขอนแก่น,ร้อยเอ็ด,ยโสธร,อุบลราชธานีและสกลนคร เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นรวมกว่า 50 คน

นายคณุสสัน  ศุภวัตรวรคุณ เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา กล่าวว่า ภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่ประสบปัญหาภัยแล้งและสถานการณ์น้ำท่วมทุกปี ที่ผ่านมารัฐบาลได้กำหนดแผนงานในการแก้ไขปัญหาแต่ยังคงไม่เกิดความยั่งยืน แต่จะเน้นหนักไปในมุมของงานวิชาการ ดังนั้นการประเมินสถานการณ์ล่าสุดวันนี้เป็นการนำนักวิชาการและชาวบ้านที่ได้รับผลผกระทบมาพูดคุยกันมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแผนการแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นครอบคลุมทุกจังกวัดของภาคอีสาน โยเฉพาะสถานการณ์น้ำท่วมที่กำลังจะเกิดขึ้นผู้แทนชาวบ้านจากหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบได้มาเสนอแผนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม การป้องกันและเฝ้าระวังในมุมของชาวบ้าน โดยมีนักวิชาการมาวิเคราะห์ภาพรวมของเหตุการณ์ โดยแผนแม่บทที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้จากมุมมองของชาวบ้านที่ถือเป็นแผนงานที่ทุกคนล้วนหวังว่ารัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะรับฟังและนำข้อจากแผนดังกล่าวในวิถีของชาวบ้านนำไปเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานในการแก้ไขสถานการณ์น้ำท่วมที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ จนนำไปสู่ความยั่งยืนของการแก้ไขปัญหาได้ในที่สุด ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว