เตือน 25 จังหวัดรับมือฝนตกชุกหนาแน่น-น้ำท่วมฉับพลัน

29 ต.ค. 2560 | 04:39 น.
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตือน 25 จังหวัด รับมือฝนตกชุกหนาแน่น น้ำท่วมฉับพลัน

[caption id="attachment_224821" align="aligncenter" width="503"] นายกอบชัย บุญอรณะ นายกอบชัย บุญอรณะ[/caption]

-29 ต.ค.60-นายกอบชัย บุญอรณะ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ทางกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์สาธารณภัยในวันที่ 31 ตุลาคม-1 พฤศจิกายน 2560 กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ว่าจะมีฝนตกชุกหนาแน่นบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ซึ่งมีพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยประมาณรวม 25 จังหวัด ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดราชบุรี กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุรษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

ส่วนสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา เนื่องจากมีปริมาณฝนสะสม อาจะทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมีพื้นที่ที่อยู่ในภาวะเสี่ยง ดังนี้ ได้แก่ อ.อินทร์บุรี อ.พรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี อ.เมือง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง อ.บางปะอิน อ.บางบาล อ.ผักไห่ อ.บางไทร อ.เสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ.สามโคก อ.เมือง จ.ปทุมธานี อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี และกรุงเทพฯบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง

นายกอบชัย กล่าวว่า ปัจจุบันน้ำยังคงมีน้ำท่วม 17 จังหวัด จังหวัดสุโขทัย พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี หนองบัวลำภู ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานี รวม 59 อำเภอ 398 ตำบล 2,245 หมู่บ้าน 110,405 ครัวเรือน 290,938 คน อพยพ 20 ครัวเรือน (จ.มหาสารคาม)

S__9322500 S__9322501 สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ(ข้อมูลกรมชลประทาน ณ วันที่ 28 ต.ค. 60) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 59,470 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 84 (ปริมาตรน้ำใช้การได้ 35,943 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 76) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เทียบกับปี 2559 (48,511 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 69) มากกว่าปี 2559 จำนวน 10,959 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 265.93 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบายจำนวน 126.43 ล้าน ลบ.ม. (น้ำไหลลงอ่างฯมากกว่าน้ำระบาย 139.50ล้าน ลบ.ม.) สามารถรับน้ำได้อีก 11,881 ล้าน ลบ.ม. S__9322502 ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-34