บิวตี้เป้า3พันล. ‘สุวิน’โต้ข่าวลือ

02 พ.ย. 2560 | 10:29 น.
“หมอสุวิน บิวตี้” มั่นใจผลประกอบการปีนี้ ยอดขาย 3,100 ล้านบาท โตตามเป้าไม่น้อยกว่า 20% โต้ข่าวลือลงทุนส่วนตัวในจีน ปั้นยอดขายให้บิวตี้

น.พ.สุวิน ไกรภูเบศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิวตี้ คอมมูนิตี้ฯ (BEAUTY) เปิดเผยว่า ผลประกอบการครึ่งหลังปี 2560 มั่นใจทั้งยอดขายและกำไรเติบโตกว่าครึ่งปีแรก เนื่อง จากเข้าสู่ไฮซีซัน มีการเปิดสาขาเพิ่ม มีโปรโมชันและสินค้าออกใหม่ คาดหวังว่ายอดขายเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 3,100 ล้านบาท หรือโตไม่น้อยกว่า 20% ขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องสำอางเติบโตปีละ 9.7%

[caption id="attachment_123608" align="aligncenter" width="503"] น.พ.สุวิน ไกรภูเบศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิวตี้คอมมูนิตี้ จำกัด (มหาชน) น.พ.สุวิน ไกรภูเบศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิวตี้คอมมูนิตี้ จำกัด (มหาชน)[/caption]

ปัจจุบันบิวตี้ มีสาขาในประเทศทั้งหมด 337 สาขา และต่างประเทศผ่านตัวแทนจำหน่ายสินค้าเช่นเดียวกับบิวตี้ บุฟเฟ่ต์ ในเวียดนาม 16 สาขา ฟิลิปปินส์ 3 สาขา, การขายผ่านช็อปมัลติแบรนด์ ในฮ่องกง 93 สาขา , อินโดนีเซีย 19 สาขา และไต้หวัน 19 สาขา

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวถึงข่าวการลงทุนส่วนตัวของน.พ.สุวิน ในประเทศจีน เพื่อสั่งซื้อสร้างโวลุ่มเทียมให้กับบิวตี้ ซึ่งแพร่กระจายตามโซเชียล มีเดีย ว่า เป็นข่าวลือที่แย่มากๆ ยืนยันว่า ทั้งบริษัท บิวตี้ฯ และส่วนตัวของน.พ.สุวิน ไม่มีการลงทุนในต่างประเทศ ทั้งส่วนตัวหรือในนามบริษัท แต่ขยายการลงทุนโดยผ่านตัวแทนจัดจำหน่าย (Distributor) หรือผู้ขายส่ง (wholesaler) ซึ่งผู้ขายส่งหรือตัวแทนขาย เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด บิวตี้จะเป็นผู้ขายสินค้ามีกำไรทันที

“ราคาหุ้น BEAUTY ไม่มีผลกระทบกับข่าวลือ คิดว่านักลงทุนมีวิจารณญาณพอ ไม่ขอชี้แจง แค่บอกว่าทุกวันนี้สินค้าบางตัวขายดี ฮิตมากในต่างประเทศต้องสั่งมัดจำ 100% ซึ่งจะบันทึกรายได้เมื่อส่งสินค้าแล้ว ส่วนราคาหุ้นที่ขึ้นมาผมไม่ขอออกความเห็น หน้าที่ผมบริหารงานให้มีผลประกอบการดี เชื่อว่ายอดขาย กำไรบิวตี้ ที่ผ่านมา เฉลี่ย 5 ปี โตไม่น้อยกว่า 30% เป็นของจริงหรือไม่ เป็นวิจารณญาณของผู้ลงทุนเอง ส่วนราคาหุ้นเป็นความคาดหวังของนักลงทุน ที่ผ่านมาราคาหุ้นเติบโตทุกปี” น.พ.สุวิน กล่าว

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1 น.พ.สุวิน ไกรภูเบศ CEO BEAUTY ยืนยันว่าไม่มีการตั้งบริษัทที่จีนเพื่อซื้อสินค้าตัวเองหรือส่งสินค้าไปเก็บ ไว้เพื่อสร้างดีมานด์เทียมอย่างที่พูด ลูกค้าในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น whole saler หรือ Distributor เป็นการซื้อขาด บางครั้งสินค้าขายดีมากต้องวางมัดจำ 100% ด้วยซํ้า

เพราะฉะนั้นไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปจัดตั้งบริษัทจัดซื้อตามข่าวลือที่ส่งมา อีกทั้งเรื่องของรายได้ และกำไรที่โตก้าวกระโดดมาจาก same store sale growth สาขาเดิมและการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายในทุกรูปแบบ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,309
วันที่ 29 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว