ปลัดมท.เผยมีพื้นที่น้ำท่วม 19 จังหวัด ส่วนภาคใต้ยังมีฝนตกหนักหลายพื้นที่

27 ต.ค. 2560 | 08:38 น.
ปลัดกระทรวงมหาดไทยเผยยังมีน้ำท่วม 19 จังหวัด ขณะที่พื้นที่ภาคใต้อาจมมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ช่วง 3 วันข้างหน้า

-27 ต.ค.60-นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงสถานการณ์อุทกภัย ณ วันที่ 27 ตุลาคม 2560 เวลา 7.00 น. จากอิทธิพลของพายุดีเปรสชัน การระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาและเขื่อนอุบลรัตน์ตั้งแต่วันที่ 10-27 ตุลาคม 2560 ในพื้นที่ 23 จังหวัดยังมีน้ำท่วม 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ตาก สุโขทัย พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี หนองบัวลำภู ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานี รวม 67 อำเภอ 425 ตำบล 2,519 หมู่บ้าน 113,497 ครัวเรือน 296,380 ครัวเรือน

" กองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ประสานงานร่วมกับกรมชลประทานซึ่งจะเพิ่มการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2560 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไปในปริมาณไม่เกิน 2,700 ลบ.ม./วินาที และจะคงการระบายน้ำในอัตรา 2,700 ลบ.ม./วินาทีต่อเนื่องไปอีก 1 สัปดาห์ (24-30 ต.ค. 2560)ซึ่งปริมาณน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาประกอบกับอิทธิพลน้ำทะเลหนุนสูงระหว่างวันที่ 23-27 ตุลาคม 2560 จะส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรีอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และจังหวัดนนทบุรี มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน ประมาณ 20-25 ซม."

อ๊ายยยขายของ-7-1 นายกอบชัย บุญอรณะ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. กล่าวรายงานคาดการณ์สาธารณภัยในระยะต่อไป 3 วันข้างหน้า โดยกลุ่มฝนส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณภาคใต้และอาจมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ได้แก่ บริเวณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุงสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ซึ่งปริมาณสะสม อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำท่วมขังในช่วงสั้นได้ ส่วนบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก จะมีลมแรง และอุณหภูมิลดลง 1-3 องศาเซลเซียส รวมทั้งคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย คลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร

สภาพน้ำท่า ภาคเหนือ แม่น้ำยมตอนล่าง บริเวณจังหวัดพิษณุโลก มีระดับน้ำทรงตัวและยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลุ่มน้ำชียังมีภาวะน้ำท่วมขังในบริเวณที่ลุ่มต่ำและพื้นที่เกษตรกรรมในหลายพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่รับน้ำต่อจากลำน้ำพองท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ ปัจจุบันระดับลดลงเล็กน้อยในหลายพื้นที่ ส่วนภาคกลาง ยังคงมีภาวะน้ำท่วมขังในบริเวณที่ลุ่มน้ำต่ำในหลายพื้นที่ สถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยามีระดับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยบางพื้นที่อันเนื่องจากการระบายน้ำของกรมชลประทานที่ประมาณ 2,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้พื้นที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาบริเวณจังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง และอยุธยา อนึ่งปริมาณน้ำที่อยู่ในทุ่ง จะระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน โดยไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ริมลำน้ำ ส่วนภาคตะวันออกและภาคใต้ น้ำท่ายังอยู่ในเกณฑ์ปกติ

สำหรับสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (ข้อมูลกรมชลประทาน ณ วันที่ 26 ต.ค. 60) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 59,229 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 84 (ปริมาตรน้ำใช้การได้ 35,703 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 76) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เทียบกับปี 2559 (48,249 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 68) มากกว่าปี 2559 จำนวน 10,981 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 291.75 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบายจำนวน143.36 ล้าน ลบ.ม. (น้ําไหลลงอ่างฯมากกว่าน้ำระบาย 148.39 ล้าน ลบ.ม.) สามารถรับน้ำได้อีก 12,136 ล้าน ลบ.ม.

อย่างไรก็ตามปริมาตรน้ำในเขื่อนส่วนใหญ่อยู่เกณฑ์ดีมาก (21 แห่ง) สำหรับเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ยังคงปิดการระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง ส่วนเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนยังคงระบายน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนตามความเหมาะสม และเขื่อนน้ำป่าสักชลสิทธิ์ ระบายน้ำวันละ 30 ล้าน.ลบ.ม. ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว