ศาสตร์พระราชาตำราของพ่อ (6) วิชาตำนานพันธุ์

28 ต.ค. 2560 | 00:40 น.
MP22-3308-7A วิชา 9 หน้า ศาสตร์พระราชาตำราของพ่อ ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ดึง 9 บุคคลผู้มีอิทธิพลทางความคิดในแต่ละแวดวง มาร่วมสืบสานปณิธานพ่อ ผ่านการ นำเสนอใน 9 วิชา ที่ทรงใช้พัฒนาชีวิตคนไทยให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน

MP22-3308-4A Take A trip ฉบับนี้ ขอนำเสนอ “วิชาตำนานพันธุ์” ซึ่งถ่ายทอดการร่วมสืบสานปณิธานพ่อ โดย “วิศุทธิ์ พรนิมิตร” นักวาดภาพประกอบ เจ้าของลายเส้น น้องมะม่วง, ควันใต้หมวก, hesheit ที่จะนำคุณไปเยือน “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร” เพื่อเรียนรู้ “จุดเริ่มต้นของ 3 ดำ แห่งแดนภูพาน” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งห้องเรียนที่ทรงพระราชทานไว้ให้ชาวบ้าน เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต และเป็นพื้นที่ต้นแบบสำคัญในการจัดการทรัพยากรป่าและนํ้า และการพัฒนาด้านเกษตร กรรมของภาคอีสาน

ครั้งหนึ่งระหว่างการเสด็จฯออกเยี่ยมราษฎรในภาคอีสาน นักข่าวต่างประเทศได้กราบทูลถามในหลวงรัชกาลที่ 9 ถึงเหตุผลที่ทรงพัฒนาชนบทเพราะต้องการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ใช่หรือไม่ พระองค์รับสั่งกลับทันทีว่า “สิ่งที่ทรงต่อสู้ด้วยไม่ใช่คอมมิวนิสต์ แต่เป็นความอดอยากหิวโหยของประชาชนต่างหาก”

MP22-3308-5A ด้วยต้องการบรรเทาความทุกข์ของประชาชน ในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงโปรดเกล้าฯให้สร้าง “พระตำหนัก ภูพานราชนิเวศน์” เพื่อเป็นศูนย์กลางในการทำงานของพระองค์ในภาคอีสาน จะได้แก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที พร้อมยังโปรดเกล้าฯให้ตั้ง “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ” เพื่อเป็นสถานที่ทดลองแนวพระราช ดำริต่างๆ เช่น การสร้างอ่างเก็บนํ้าไว้ใช้ในฤดูแล้ง การหาข้าวพันธุ์ดีที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ

MP22-3308-3A ทั้งอีกโครงการหนึ่ง ซึ่งถือเป็นไฮไลต์ของที่นี่ คือ “การเลี้ยงสัตว์” โดยพระองค์ทรงพระราชทานแนวทางง่ายๆ ว่า “ต้องแข็งแรง ทนทานต่อสภาพแวดล้อม เลี้ยงง่ายไม่ต้องลงทุนสูง ไม่เช่นนั้นหากมีอะไรผิดพลาด เกษตรกรจะกลายเป็นหนี้” จนเป็นที่มาของตำนาน 3 ดำแห่งภูพาน ที่ประกอบด้วย “ไก่ดำภูพาน”, “สุกรภูพาน” และ “โคเนื้อภูพาน”

MP22-3308-1A โดย “โคเนื้อภูพาน” ปรับ ปรุงสายพันธุ์มาจาก “โคทาจิมะ” ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลก โดย “สมาคมผู้เลี้ยงโค เมืองโอซากา” น้อมเกล้าฯถวายพันธุ์โคคู่หนึ่งแด่ “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ” จากนั้นได้พระ ราชทานต่อให้กรมปศุสัตว์ทดลองผสมเทียม จนสามารถผลิตนํ้าเชื้อได้ถึง 1,500 หลอด แล้วนำมาฉีดให้โคที่นี่ กลายเป็นโคเนื้อขนสีดำ ซึ่งทนทานและมีไขมันแทรกในกล้ามเนื้อสูง ปัจจุบันเกษตรกรอีสานนิยมเลี้ยงกันแพร่หลาย เพราะต้นทุนไม่แพง ลูกก็ขายต่อได้ในราคาสูง และเนื้อมีรสชาติอร่อย

MP22-3308-5A ส่วน “สุกรภูพาน” เดิมในหลวงโปรดเกล้าฯให้ชาวบ้านเลี้ยง “สุกรพันธุ์เหมยซาน” ซึ่งได้พันธุ์มาจากประเทศจีน ภายหลังกรมปศุสัตว์ได้ศึกษาทดลองเพิ่มเติม โดยนำสายพันธุ์อื่นๆ ผสมด้วย เช่น พันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ดูร็อกเจอร์ซี่ และพันธุ์แลนด์เรซ จนได้เป็นสุกรขนสีดำที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ลูกดก และให้ปริมาณเนื้อแดงมากเมื่อนำไปขุน

MP22-3308-6A ขณะที่ “ไก่ดำภูพาน” มีต้นกำเนิดจากไก่สายพันธุ์จีน ด้วยความที่เลี้ยงง่าย ต้นทุนตํ่า และยังให้ราคาที่ดีกว่าไก่พันธุ์พื้นเมือง กรมปศุสัตว์จึงเริ่มค้นคว้าวิจัยเรื่อยมาจนได้พันธุ์ไก่ที่ดำสนิท คือ ขนดำ หนังดำ แข้งดำ เนื้อเทาดำ และกระดูกเทาดำ ทนต่อโรคและอากาศร้อนได้ดี ที่สำคัญสารสีดำที่อยู่ในตัวไก่ แท้จริงคือ “สารเมลานิน” ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านโรคมะเร็งและชะลอวัย จึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภค

MP22-3308-2A มาที่นี่เที่ยวได้รอบโครงการ ไม่ว่าจะเป็น “เรียนรู้ศาสตร์การจัดการป่าและพันธ์ุไม้” เรียนรู้แนวคิดการจัดการป่าเพื่อการอนุรักษ์ โดยให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ “การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง” รวมไปถึงชนิดพันธุ์ไม้ในพื้นที่เทือกเขาภูพานกว่า 300 ชนิด ทั้งยังมี “เส้นทางศึกษาธรรมชาติ” ระยะประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นเส้นทางเรียนรู้ระบบนิเวศธรรมชาติภายในพื้นที่ศูนย์ “การนั่งรถ
รางชมพื้นที่แปลงเกษตรสาธิตและปศุสัตว์ 3 ดำ แห่ง ภูพาน” เรียนรู้ระบบเกษตรบนแนวคิดวิถีพอเพียงตามรอยพ่อ และชมทัศนียภาพ “อ่างเก็บนํ้าตาดไฮใหญ่” ซึ่งศูนย์แห่งนี้เปิดให้เข้าชมวันจันทร์-ศุกร์

จากแนวทางการพัฒนา ของศูนย์ดังกล่าว ทำให้ความเป็นอยู่ของชาวอีสานดีขึ้น เลี้ยงดูครอบครัวจนพ้นสภาพความหิวโหยอดอยาก ดังที่พระราชปณิธานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงตั้งพระทัยไว้ทุกประการ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,308 วันที่ 26 - 28 ตุลาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว