จ่อดึงอี-คอมเมิร์ซ คำนวณ‘เงินเฟ้อ’

22 ต.ค. 2560 | 13:43 น.
แบงก์ชาติถกคลัง-พาณิชย์ดึงอี-คอมเมิร์ซ-บริการเข้าตะกร้าคำนวณเงินเฟ้อ เพื่อสะท้อนกำลังซื้อที่แท้จริง

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) กล่าวว่า 3 ปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อตํ่ากว่ากรอบเป้าหมาย 1-4% พบว่ามีสาเหตุสำคัญ 3 ด้าน คือ 1. Supply Side มาจากราคาสินค้าเกษตรปรับลดลงเมื่อเทียบกับฐานที่สูงในปีก่อน ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรมีสัดส่วนประมาณ 30% ของตะกร้าเงินเฟ้อ

[caption id="attachment_222266" align="aligncenter" width="359"] วิรไท สันติประภพ วิรไท สันติประภพ[/caption]

2.การฟื้นตัวของเศรษฐกิจแบบค่อยเป็นค่อยไปทำให้กำลังซื้อยังไม่แข็งแรงมาก และ 3.การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอี-คอมเมิร์ซ หรือการเปิดเสรีบางเซ็กเตอร์ธปท.อยู่ระหว่างการหารือกับกระทรวงการคลัง และกระทรวงพาณิชย์ ถึงกรอบเงินเฟ้อหลุดเป้า คาดว่าเงินเฟ้อจะสามารถขยับเข้าสู่กรอบเป้าหมายได้ภายในต้นปีหรือกลางปี 2561 จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับกรอบเงินเฟ้อ ซึ่งสอดคล้องกับทั่วโลกที่ใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ และไม่ได้ใช้กรอบเป้าหมาย

อย่างไรก็ตามมีการศึกษาว่าจะปรับสัดส่วนตะกร้าเงินเฟ้อโดยอาจจะนำอี-คอมเมิร์ซและภาคบริการที่เป็นService Economyมากขึ้น เพื่อให้กรอบเงินเฟ้อเป็นพลวัตมากขึ้น โดย ที่การดำเนินนโยบายการเงินยังคงมองในรอบด้านให้มากขึ้น

“เศรษฐกิจภาพรวมกระจายตัวดีขึ้น ฟื้นตัวยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งการมองครั้งนี้สะท้อนถึงความมั่นใจของการฟื้นตัวแบบ Broad Base โดยที่ความกังวลในระยะสั้น คงมีไม่มาก แต่มองถึงความท้าทายใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี ที่จะมีผลต่อตลาดแรงงาน หรือฟินเทคที่เข้ามา แม้ว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและช่วยให้คนฐานรากเข้าถึงแหล่งเงินทุนง่ายขึ้น แต่ก็จะนำมาสู่ความเสี่ยงใหม่ๆ ต่อระบบการเงิน”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,307 วันที่ 22 - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-34