เอกชนออกหุ้นกู้7แสนล. เรตติ้งไม่ดีกระทบต้นทุนสูง-วางหลักประกันเพิ่ม

20 ต.ค. 2560 | 09:33 น.
ปัญหาบี/อียังคงรบกวนตลาดตราสารหนี้ หุ้นกู้เรตติ้งไม่ดี ต้นทุนบาน ต้องวางหลักประกันเพิ่ม คาดไตรมาส 4 ต่างชาติขายออก เฟดขึ้นดอกเบี้ย 1 ครั้ง บล.บัวหลวงฯ เผยหุ้นไทยนิวไฮ 23 ปี หนุนเทรด Call DW สูงสุดในรอบ 13 เดือน

นายธาดา พฤฒิธาดา กรรมการผู้จัดการ สมาคมตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า การออกหุ้นกู้ระยะยาวของเอกชนในปีนี้คาดไม่ตํ่ากว่า 7 แสนล้านบาท ไม่ลบสถิติสูงสุด 8.1-8.2 แสนล้านบาท แม้ว่าจะมีบริษัทใหญ่หลายแห่งเสนอขายก็ตาม เช่น ธนาคารกรุงไทย มูลค่า 2 หมื่นล้านบาท หลังจากภาพรวม 9 เดือนเอกชนระดมแล้ว 6 แสนล้านบาท

[caption id="attachment_221087" align="aligncenter" width="503"] ธาดา พฤฒิธาดา กรรมการผู้จัดการ สมาคมตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ธาดา พฤฒิธาดา กรรมการผู้จัดการ สมาคมตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA)[/caption]

กรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า ปัญหาการผิดนัดตั๋วบี/อี ไม่มีต่อตราสารหนี้ระยะยาว ซึ่งในช่วง 9 เดือนออกมูลค่า 6.04 แสนล้านบาทเพิ่มขึ้น 11% จำนวนผู้ออกเพิ่มขึ้น 14 ราย รุ่นที่ออกก็เพิ่มขึ้น 57 รุ่น แต่หากคิดเฉพาะภาคธุรกิจแท้จริงไม่รวมสถาบันการเงิน ออกมูลค่า 4.29 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% แต่จำนวนรุ่นลดลง บริษัทที่มีเรตติ้งในกลุ่มที่ลงทุนได้ เพิ่มขึ้น 17% ส่วนตํ่ากว่าเกรดที่ลงทุนได้ลดลงถึง 41% กลุ่มเรตติ้งต่างๆออกลดลง ยกเว้นกลุ่ม AA และ BBB กระจุกอยู่ที่ระดับ A ถึงA+ถึง 2.19 แสนล้านบาท และกลุ่มBBB-ถึง BBB+ เพิ่มขึ้น เป็น 1.19 แสนล้านบาท

“กลุ่มBBB-ถึง BBB+ ออกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนตํ่ากว่าเรตติ้ง BBB- ที่ลงทุนได้ และไม่มีเรตติ้งลดลงมาก อาจจะเป็นไปได้ว่า บริษัทที่ได้เรตติ้งไม่สูงนัก อาจจะยกเลิกไม่ออกหุ้นกู้มาขาย และมีการเปลี่ยนจากระยะสั้นเป็นระยะยาวมากขึ้น เพื่อไม่ให้มีความเสี่ยงเรื่องการต่ออายุ” นายธาดากล่าว

นอกจากนั้นการผิดนัดตั๋วบี/อียังมีผลต่อต้นทุนของหุ้นกู้ที่มีเรตติ้งไม่ดี จ่ายเครดิตสเปรดเพิ่มขึ้น เพื่อชดเชยกับความเสี่ยง เช่น หุ้นกู้ที่มีเรตติ้ง BB+ อายุ 3 ปี ต้นทุนเพิ่มขึ้น จาก 3% เศษ เป็นมากกว่า 4% หุ้นกู้ไม่มีเรตติ้ง อายุ 1-2 ปีมีทิศทางเพิ่มขึ้น ในไตรมาส 4/2559 จ่ายสูงกว่าดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล 1-4% สำหรับในปีนี้ ไตรมาส 3 จ่ายเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 3-6% ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการวางหลักประกันเพิ่ม ส่วนหุ้นกู้ที่มีเรตติ้งดี กลับมีต้นทุนลดลง จากเดิมบวก 1% เหลือ 0.70-0.75%

ส่วนตราสารหนี้ระยะสั้น ออกเพิ่มขึ้น 14% มากกว่าครึ่งเป็น บี/อี ระดม 1 ล้านล้านบาท และอายุเฉลี่ยลดลง หากไม่รวมกลุ่มสถาบันการเงินระดมทุนมากขึ้น 28% จำนวนผู้ออกลดลง 27 รายและจำนวนรุ่นลดลง 475 รุ่น ส่วนกลุ่มเรตติ้งตํ่ากว่า BBB+ ออกลดลง 26% เรตติ้งสูงกว่า A- ขึ้นไป ออกเพิ่มขึ้น 23% กลุ่มธุรกิจเกือบทั้งหมด ออกลดลง ยกเว้นกลุ่มขนส่งที่เพิ่มขึ้นเท่าตัว เป็น 5 หมื่นล้านบาท กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ออกมากที่สุด มูลค่า 8 หมื่นล้านบาท

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3 ด้านนักลงทุนต่างประเทศ ในช่วง 9 เดือนปีนี้ ไหลเข้าสุทธิ 2.14 แสนล้านบาท กว่า 85% หรือ มูลค่า 1.82 แสนล้านบาท เข้าซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว ณ สิ้นไตรมาส 3 ต่างชาติถือครอง 8.14 แสนล้านบาท เท่ากับ 7.1% ของมูลค่ารวมตลาดตราสารหนี้ไทย มียอดคงค้างรวม 11.37 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.13% จากสิ้นปี 2559 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 11.02 ล้านล้านบาท ส่วนไตรมาส 4 มีโอกาสที่ต่างชาติขายออก คาดสหรัฐอเมริกาขึ้นดอกเบี้ย 1 ครั้ง

นายบรรณรงค์ พิชญากร กรรมการผู้จัดการ กิจการค้าหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ออก DW ที่มีการซื้อขายสูงสุดในระบบ กล่าวว่า ดัชนีหุ้นไทยที่ปรับตัวสูงสุดในรอบ 23 ปี ส่งผลให้การซื้อขายใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (DW) ในเดือนกันยายนที่ผ่านมาเป็นไปอย่างคึกคัก สัดส่วนของปริมาณการซื้อขาย Call DW ต่อ การซื้อขาย DW ทั้งหมดอยู่ที่ 79.3% สูงสุดในรอบ 13 เดือน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,306 วันที่ 19 - 21 ตุลาคม พ.ศ. 2560
e-book