สายสีม่วงใต้(เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) เชื่อมนนทบุรี-กรุงเทพฯ-สมุทรปราการ

21 ต.ค. 2560 | 07:00 น.
รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ขณะนี้บริษัทที่ปรึกษาโครงการอยู่ระหว่างการเร่งสรุปรายละเอียดนำเสนอการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พิจารณาเพื่อนำเสนอคณะกรรมการรฟม. กระทรวงคมนาคมเร่งผลักดันต่อไป โดยได้รับมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้รฟม. ดำเนินการโดยมีแผนงานดังนี้คือธันวาคม 2560-มกราคม 2561 เปิดประกวดราคาก่อสร้างแบบนานาชาติ และเริ่มออกพ.ร.ฎ. เวนคืน ส่วนมกราคม 2561 สำรวจอสังหาริมทรัพย์จัดกรรมสิทธิ์ ส่งมอบพื้นที่ ในเดือนสิงหาคม 2561 จัดจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างงานโยธา แต่จะลงนามได้เมื่อผ่านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว ส่วนเดือนกันยายน 2561 เริ่มก่อสร้าง โดยในปี 2567 คาดว่าจะแล้วเสร็จและพร้อมเปิดให้บริการ

TP12-3306-A โดยมีจำนวน 17 สถานี และมีอาคารจอดแล้วจร 2 แห่งแต่เนื่องจากแนวเส้นทางผ่านเข้าในเขตพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ จึงต้องออกแบบให้มีแนวเส้นทางวิ่งใต้ดินและทางวิ่งยกระดับ แบ่งเป็นใต้ดิน 10 สถานีนับตั้งแต่สถานีรัฐสภาไปจนถึงสถานีสำเหร่ และยกระดับอีก 7 สถานีนับตั้งแต่สถานีจอมทองไปจนถึงสถานีครุใน รถไฟฟ้าจะใช้ระบบไฟฟ้าขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับสายสีม่วงที่ให้บริการในปัจจุบัน มีความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เบื้องต้นนั้นมีกรอบงบประมาณก่อสร้าง 1.01 แสนล้านบาท แบ่งเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 15,945 ล้านบาท ค่างานก่อสร้างโยธา 77,385 ล้านบาท ค่าสิ่งก่อสร้างทดแทนหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการ 1,335 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานก่อสร้าง 2,865 ล้านบาท และค่า Provisional Sum ของงานโยธา 3,582 ล้านบาท

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3 สำหรับรถไฟฟ้าโครงการช่วงนี้มีระยะทางรวม 23.6 กิโลเมตร จัดเป็นส่วนต่อขยายจากรถไฟฟ้าสายสีม่วงเตาปูน-บางใหญ่ ที่เปิดให้ใช้กันไปแล้วจึงสามารถเชื่อมจังหวัดนนทบุรี, กรุงเทพฯ และสมุทรปราการเข้าด้วยกัน คาดการณ์จำนวนผู้โดยสารไว้กว่า 4.7 แสนคนต่อวัน ทั้งนี้เมื่อเปิดให้บริการรฟม.คาดหวังว่าจะสามารถป้อนผู้โดยสารเพิ่มให้กับช่วงบางใหญ่-บางซื่อในปัจจุบันนี้ได้อีกหลายเท่าตัวนั่นเอง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,306 วันที่ 19 - 21 ตุลาคม พ.ศ. 2560
e-book