บุคลากร หัวใจสำคัญพัฒนาไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0

19 ต.ค. 2560 | 23:01 น.
MP26-3306-B จากผลวิจัยเชิงลึก “กับดักปัญหาขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย 4.0”ของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ที่ร่วมกับสำนักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 
(ส.อ.ท.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) พบว่า กลุ่มอุตสาหกรรมระดับกลาง-เล็ก กำลังเผชิญวิกฤติขาดแคลนช่างเทคนิคทักษะขั้นสูง ส่งผลให้ 75% ของผู้ประกอบการไทยยังใช้เทคโนโลยีตํ่ากว่าระดับ 2.5 ซึ่งนั่นหมายความว่า อุตสาหกรรมไทย 
ยังไปไม่ถึงอุตสาหกรรม 4.0 ตามเป้าที่รัฐบาลต้องการ และการที่จะเดินหน้าไปให้ถึงเป้าหมายนั้น การพัฒนาด้านทรัพยากรบุคคลถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้อง
คำนึงถึง

สาเหตุของการขาดแคลน “ดร.ประชาคม จันทรชิต” รองเลขาธิการ สอศ. กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตรสร้างบุคลากรสายวิชาชีพให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 สอศ. ได้จัดทำยุทธศาสตร์ 20 ปี เพื่อยกระดับอาชีวศึกษาของไทยสู่การเป็นอาชีวะระดับสากล ภายใต้หลักการสำคัญ อาทิ 
การผลิตและพัฒนาคนที่มีคุณภาพและเพียงพอต่อความต้องการพัฒนาประเทศ ส่งเสริมความร่วมมือภาครัฐและเอกชนในการจัดการอาชีวศึกษา ส่งเสริมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิตอล รวมถึงผลิตและพัฒนาครูอาชีวศึกษาให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง ซึ่งถือว่าสอดคล้องกับสิ่งที่โครงการ Chevron Enjoy Science ซึ่งให้ความสำคัญกับการส่งเสริม

“อาทิตย์ กริชพิพรรธ” ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอน ประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า โครงการ Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต ที่มีเป้าหมายในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดแรงงานยุคใหม่ ผ่านการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ หรือ สะเต็ม และอาชีวศึกษาในแต่ละภูมิภาค โดยก่อนหน้านี้ได้ร่วมมือกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดตั้ง “ศูนย์การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพด้านยานยนต์” ซึ่งขณะนี้จัดตั้งไปแล้ว 4 แห่ง จากเป้าหมาย 6 แห่ง
ทั่วประเทศ ซึ่งศูนย์นี้จะเป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคในเครือข่าย ภายใต้รูปแบบ “รัฐร่วมเอกชน” เพื่อผลิตและพัฒนาช่างเทคนิคด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ป้อนอุตสาหกรรมในพื้นที่

ขณะนี้ สอศ. ดำเนินการใน 2 เรื่อง คือ การจัดการอาชีวศึกษา การจัดสอนใน 3 ระดับ คือ ระดับฝีมือ ปวช. ระดับเทคนิค หรือปวส. และระดับเทคโนโลยี มีทั้งหมด 1.03 ล้านคน และเรื่องที่ 2 คือ การอบรมวิชาชีพ 
แต่ละปีมีการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น ปีละ 1 ล้านคน โดยจากงบประมาณ
ปีละ 2.6 หมื่นล้านในปีนี้ แต่งบที่ใช้ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลจริงๆ ใช้ไม่
ถึง 20%

สอศ. มีการจัดการศึกษาในระบบทวิภาคี คือ การร่วมกับภาคเอกชน หรือภาคผู้ใช้แรงงาน กับสถาบันการศึกษา ปี 2559 สถานประกอบการที่จัดทวิภาคีกับ สอศ. 2.1 หมื่นแห่ง ปี 2560 - 3.2 หมื่นแห่ง และคาดว่าปี 2561 จะเพิ่มเป็น 4.8 หมื่นแห่ง ผู้เรียนในทวิภาคี ปี 2559 มี 1.13 แสนคน ปี 2560 มี 1.25 แสนคน ปีหน้าคาดการณ์ว่าจะมี 1.88 แสนคน

นอกจากนี้ ไจก้า (JICA) ยังได้เข้ามาพบผู้บริหารระดับสูงของภาคอุตสาหกรรม เสนอเงินกู้ให้ไทย ดอกเบี้ย 0.3% ต่อปี งบ 2,800 ล้านบาท ไทยสมทบอีก 700 ล้านบาท เพื่อพัฒนาสมรรถนะช่างเทคนิคตามหลักสูตรโคเซ็น และเมื่อนำเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรีเรียบร้อย จะตั้งสถาบันโคเซ็น จัดหลักสูตร ให้เด็กที่จบปวส. ได้เข้าทำงานที่เขตพิเศษภาคอุตสาหกรรม หรือ EDC พร้อมกันนี้ สอศ.ยังร่วมมือกับสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษา อีก 10 แห่ง พัฒนาห้องเรียน และให้ทุนทั้งครูและผู้เรียน ทั้งเรียนในประเทศไทย ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และยังส่งไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น หลังจากนั้น จะกลับมาทำงานที่สถานประกอบการของญี่ปุ่น และแผนงานต่อไป คือ การให้ทุนอย่างเดียว

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3 วิกฤติในการขาดแคลนกำลังคนในสายวิชาชีพ หากไม่เร่งดำเนินการพัฒนาฝีมือแรงงานตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ในอีก 10 ปีข้างหน้า จะวิกฤติหนัก สอศ.
ต้องทำแผนพัฒนาการศึกษา 20 ปี นำเอางานช่าง นำเขตพัฒนาเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐมาเป็นตัวตั้ง

การจัดการที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานอุตสาหกรรม
จริงๆ คือ ต้องมีการพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน มีการพัฒนาการเรียนการสอนร่วมกัน มีการวัดผลประเมินผลร่วมกัน สร้าง Career Path ที่ชัดเจนให้กับแรงงาน 
และสร้างความมั่นคงทางรายได้ที่เหมาะสม ถ้าทำได้ทั้งหมด จะทำให้การพัฒนาการศึกษาตอบโจทย์ได้จริงๆ โครงการสร้างพลังประชารัฐ มีการยกระดับวิชาชีพ 
ทำร่วมกัน 4 เรื่อง คือ การสร้างภาพลักษณ์ร่วมกัน สร้างความรู้สึกเชิงบวก
ให้กับผู้ปกครอง และผู้เรียน ให้หันมาเรียนสายวิชาชีพมากขึ้น 2. มีการ
ลงนามร่วมกันกับสถานสอนอาชีวะ พัฒนาการเรียนการสอนร่วมกัน 
จัดการเรียนการสอนตามที่สถานประกอบการต้องการ 3. ดูว่าภาคผู้ใช้ต้องการแรงงานเท่าไร อย่างไร ทักษะแบบไหน 4. เรื่องของการเชื่อมโยงระหว่างคุณวุฒิการศึกษา และคุณวุฒิวิชาชีพ นั่นคือเรื่องค่าตอบแทน ควรจ่ายตามสมรรถะของแรงงาน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,306 วันที่ 19 - 21 ตุลาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว